DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบกับระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพจน์ ตามสายลม
dc.contributor.advisor กิตติ ต.รุ่งเรือง
dc.contributor.author ขจร กังสดาลพิภพ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-01-11T11:51:43Z
dc.date.available 2008-01-11T11:51:43Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741728247
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5417
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract การศึกษาเชิงระบาดวิทยาครั้งนี้เพื่อทดสอบสมมติฐาน ความสัมพันธ์ของความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบที่มีต่อค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐาน ในพนักงานผู้สูงอายุของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำนวน 2,278 คน (ช่วงอายุ 49-72 ปี) ที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยการตายในประชากรไทย ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และตรวจสภาวะปริทันต์ โดยการสุ่มตรวจ 2 ส่วนของช่องปาก ประเมินสภาวะของโรคปริทันต์อักเสบจากร้อยละของคราบจุลินทรีย์ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ และจัดกลุ่มความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบตามการกระจายและความรุนแรงของความลึกร่องลึกปริทันต์ สำหรับค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐาน (>126 มก./ดล.) จัดแบ่งกลุ่มตามหลักเกณฑ์ของสหพันธ์โรคเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหารและข้อมูลทางการแพทย์อื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 81.7 ของกลุ่มตัวอย่างเป็นโรคปริทันต์อักเสบ และจัดอยู่ในระดับรุนแรงร้อยละ 26.0 ในกลุ่มโรคปริทันต์อักเสบพบว่า มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่ามาตรฐานร้อยละ 18.5 ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เป็นโรคปริทันต์อักเสบพบว่า มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่ามาตรฐานร้อยละ 11.0 จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า โรคปริทันต์อักเสบมีความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีค่าอัตราเสี่ยงเท่ากับ 1.84 (95%CI=1.29-2.61) โดยเฉพาะในกลุ่มโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงพบว่ามีแนวโน้มของร้อยละของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น(p<0.05) และเมื่อควบคุมอิทธิพลจากตัวแปรศึกษาอื่น ๆ พบว่ากลุ่มที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบมีความเสี่ยงต่อการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.68, 95%CI=1.07-2.63) จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่า โรคปริทันต์อักเสบมีความสัมพันธ์กับค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะโรคปริทันต์อักเสบระดับรุนแรง และโรคปริทันต์อักเสบมีแนวโน้มของการเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อค่าระดับน้ำตาลสูงกว่ามาตรฐานหรือโรคเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้ควรมีการศึกษาไปข้างหน้าในระยะยาวต่อไป en
dc.description.abstractalternative This epidemiological study tested the hypothesis that severity of periodontitis was associated with high blood sugar level. The medical and dental surveys were conducted at the Electricity Generating Authority of Thailand in elderly workers (age 49 -72 years) who submitted in the project of Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All subjects' data were collected by using medical interviews, medical examinations, laboratory assays, and periodontal examinations. Partial recording protocols were performed in 2 random quadrants for evaluating the periodontal status by percentage of dental plaque, probing depth and attachment level of the teeth. The periodontal status was classified by basis of extent and severity of probing depth and high blood sugar level was defined according to the criteria of ADA (>126 mg/dl). The prevalence of periodontitis was 81.7% of all subjects. Within this group, 26.0% had severe periodontitis. Subjects in periodontitis group had significally higher blood sugar levels than those in non periodontitis group, 18.5% and 11.0% respectively.(p<0.001) Chi square test showed positive association between periodontitis and high blood sugar level (p<0.001), with the odd ratios 1.84 (95%CI=1.29-2.61). As the severity of periodontitis was concerned, there was a tendency for higher blood sugar levels in severe periodontitis group.(p<0.05) After controlling for other variables, subjects who had periodontitis were more likely to develop high blood sugar level. (OR=1.68, 95%CI=1.07-2.63) In conclusion, blood sugar level might be associated with periodontitis, particularly in severe periodontitis. Periodontitis may be one of risk indicators for developing high blood sugar level or type II diabetes mellitus in the elderly population. This association should be confirmed by longitudinal studies. en
dc.format.extent 4467559 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.586
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject โรคปริทันต์อักเสบ en
dc.subject น้ำตาลในเลือด en
dc.subject ผู้สูงอายุ en
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบกับระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย en
dc.title.alternative The association between severity of periodontitis and blood sugar level in elderly workers of Electricity Generating Authority of Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ปริทันตศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.586


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record