dc.contributor.advisor |
ใกล้รุ่ง อามระดิษ |
|
dc.contributor.author |
ดิเรก หงษ์ทอง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:20:10Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:20:10Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54834 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาเพลงของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยในอีสานตอนใต้ในฐานะวรรณคดีท้องถิ่นประเภทลายลักษณ์ที่สำคัญประเภทหนึ่งของไทย โดยใช้เพลงกันตรึมจำนวน 250 ชุดที่ผลิตตั้งแต่ทศวรรษ 2520 จนถึงพ.ศ. 2554 เป็นข้อมูลในการศึกษา มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ประการประกอบด้วยการศึกษาพัฒนาการด้านรูปแบบการประพันธ์ เนื้อหาและการใช้ภาษาในเพลงกันตรึม การวิเคราะห์ศึกษาอัตลักษณ์ของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยในอีสานตอนใต้ที่ปรากฏในเพลงของชนกลุ่มนี้ และการศึกษาการผสมผสานทางวัฒนธรรมในเพลงดังกล่าวโดยพิจารณาประกอบกับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ในการศึกษาพัฒนาการของเพลงกันตรึม พนว่าเนื้อเพลงกันตรึมโบราณส่วนใหญ่นิยมแต่งด้วยรูปแบบคำประพันธ์เขมรโบราณ มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยรุ่นเก่า และใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยเป็นภาษาหลักในการแต่ง ส่วนเพลงกันตรึมประยุกต์แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใหม่ของเขมรร่วมกับคำประพันธ์ไทย เนื้อหากล่าวถึงวิถีชีวิตของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยรุ่นใหม่ที่มีปฏิสัมพันธ์กับชนหลายกลุ่มทั้งในประเทศและในโลก และใช้ภาษาหลากหลายผสมกันในการแต่ง เช่น ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาไทย และภาษาลาวอีสาน เมื่อศึกษาการผสมผสานทางวัฒนธรรมในเพลงกันตรึมพบว่า เพลงกันตรึมโบราณแสดงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมร่วมในกลุ่มชาติพันธุ์เขมรกับวัฒนธรรมของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทย ส่งผลให้ยังคงแสดงความเป็นเขมรอย่างเข้มข้น โดยมีปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการผสมผสานดังกล่าวคือความสำนึกอย่างแรงกล้าในความเป็นชาติพันธุ์เขมร ส่วนเพลงกันตรึมประยุกต์แสดงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเขมรกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่นๆ ทำให้เพลงมีความเป็นไทยมากขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการผสมผสานทางวัฒนธรรมคือ อิทธิพลทางการเมืองการปกครองของรัฐไทย อิทธิพลทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในภาคอีสาน และกระแสโลกาภิวัตน์ อัตลักษณ์ของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยที่พบในเพลงมีทั้งอัตลักษณ์ร่วมของคนทุกรุ่น (เช่น ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยทุกรุ่นเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด แต่ก็เป็นคอสุราด้วย) อัตลักษณ์ที่มีพลวัตของคนต่างรุ่น (เช่น ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยรุ่นเก่าเป็นคนเขมร ส่วนผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยรุ่นใหม่เป็นคนไทย) และอัตลักษณ์ใหม่ของคนรุ่นใหม่ (เช่น ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยรุ่นใหม่เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมเขมรโบราณในบริบทสังคมไทย) |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to study songs of Northern Khmer speakers in the Southern part of Northeastern Thailand as one of the important genres of written local literature of the country. The data used consists of 250 albums of Kantreum song produced between the late 1970s and 2011. Three purposes of this study include: to explore the development of Kantreum song in terms of its versification, content, and language used in the lyrics, to analyze the identities of Northern Khmer speakers in the Southern part of Northeastern Thailand as seen in the songs, and to explore the cultural hybridization in Kantreum song together with social and cultural factors. Concerning the development of Kantreum lyrics, it is found that classical Kantreum song employs traditional Khmer versification with contents dealing with life of the old generation of Khmer speakers and composed in Northern Khmer. Modern Kantreum song, on the other hand, uses both modern Khmer versification and Thai versification with contents concerning life of the young Khmer speakers and their interaction with other ethnic groups both inside and outside Thailand. Languages used in the songs are mainly mixed between Northern Khmer, Thai and Isan. In terms of cultural hybridization, classical Kantreum song which maintains a high level of Khmerness is a result of the hybridization between the shared culture of Khmer ethnics and the Northern Khmer culture with the strong awareness of being Khmer as the main factor of this process. As for modern Kantreum song, the hybridization between Khmer culture and other cultures, Thai in particular, makes the song be more Thai than Khmer. The main factors responsible for this process consist of political influence from the Thai state, cultural influence from other Isan ethnic groups and globalization. Identities of Northern Khmer speakers as seen in Kantreum song include shared identities of every generation (e.g. Northern Khmer speakers of all generations are fervent Buddhist and also heavy drinkers), dynamic identities of different generations (e.g. Old generation is Khmer while young generation is Thai), and new identities of the young generation (e.g. Young generation of Khmer speaker is the inheritor of ancient Khmer culture and civilization in the Thai context). |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.708 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
เพลงเขมร |
|
dc.subject |
เพลงพื้นเมือง |
|
dc.subject |
พหุนิยม (สังคมศาสตร์)) |
|
dc.subject |
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.subject |
Folk songs |
|
dc.subject |
Cultural pluralism |
|
dc.title |
อัตลักษณ์และการผสมผสานทางวัฒนธรรมในเพลงของผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยในอีสานตอนใต้ |
|
dc.title.alternative |
IDENTITY AND CULTURAL HYBRIDIZATION IN SONGS OF NORTHERN KHMER SPEAKERS IN THE SOUTHERN PART OF NORTHEASTERN THAILAND |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Klairung.A@Chula.ac.th,aklairung@hotmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.708 |
|