DSpace Repository

ผลของสารคืนแร่ธาตุต่อรอยผุชั้นเนื้อฟันในฟันกรามน้ำนม : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัชราภรณ์ ทัศจันทร์
dc.contributor.advisor ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล
dc.contributor.advisor พนิดา ธัญญศรีสังข์
dc.contributor.author มณีกาญจน์ คงสมจิตต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:21:13Z
dc.date.available 2017-10-30T04:21:13Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54930
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วัตถุประสงค์การวิจัยนี้คือประเมินความลึกรอยผุ ความหนาแน่นแร่ธาตุรอยผุชั้นเนื้อฟันและร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุระหว่างการใช้ซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ วาร์นิชฟลูออไรด์ แก้วไอโอโนเมอร์ ร่วมกับยาสีฟันฟลูออไรด์เปรียบเทียบกับการใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์เพียงอย่างเดียว โดยวัดความลึกรอยผุ ความหนาแน่นแร่ธาตุรอยผุชั้นเนื้อฟันด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์ กลุ่มวาร์นิชฟลูออไรด์ กลุ่มแก้วไอโอโนเมอร์ ทั้งสามกลุ่มใช้ร่วมกับยาสีฟันฟลูออไรด์ กลุ่มยาสีฟันฟลูออไรด์ และกลุ่มควบคุม (น้ำปราศจากอิออน) นำรอยผุชั้นเนื้อฟันผ่านกระบวนการจำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลงกรด-ด่างเป็นเวลา 5 วัน วัดความลึกรอยผุ ความหนาแน่นแร่ธาตุ วิเคราะห์หาร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร ผลการศึกษาหลังกลุ่มซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์มีความลึกรอยผุเฉลี่ยลดลงและมีความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (p=0.045 และ p=0.003 ตามลำดับ) กลุ่มที่แก้วไอโอโนเมอร์มีความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (p=0.013) ความลึกรอยผุเฉลี่ยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.160) กลุ่มวาร์นิชฟลูออไรด์ กลุ่มยาสีฟันฟลูออไรด์และกลุ่มควบคุมจะมีความลึกรอยผุเฉลี่ย (p=0.455, p=0.172 และ p=0.384 ตามลำดับ) และความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ย (p=0.424, p=0.722 และ p=0.929 ตามลำดับ) ไม่แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ รอยผุชั้นเนื้อฟันทั้ง 5 กลุ่มมีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุเฉลี่ยแตกต่างกัน (p<0.001) กลุ่มซิลเวอร์ไดอะมีนฟลูออไรด์มีร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยแตกต่างจากทุกกลุ่ม (p<0.001) และกลุ่มแก้วไอโอโนเมอร์มีร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยแตกต่างจากกลุ่มยาสีฟันฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนและกลุ่มควบคุม (p=0.018 และ p=0.015) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
dc.description.abstractalternative This study aimed to evaluate lesion depth (LD), mineral density (MD) and percent mineral density change (%MDchange) of dentin caries lesion in primary teeth after application of silver diamine fluoride (SDF), fluoride varnish (F varnish), glass ionomer cement (GIC) together with fluoride toothpaste versus fluoride toothpaste (F toothpaste) alone. The LD and MD of dentin caries lesion were measured by micro-computed tomography (microCT). Dentin caries lesions were randomly divided into SDF+F toothpaste, F varnish+F toothpaste, GIC+F toothpaste, F toothpaste and control group (deionzed water). The dentin caries lesions were subjected to bacterial pH cycling for 5 days. The LD, MD and %MDchange of the caries lesions were investigated by microCT. After the experiment, dentin caries lesions applied with SDF+F toothpaste showed significant decreased in mean LD and increased in mean MD (p=0.045, p=0.003, respectively). The mean MD of GIC+F toothpaste showed significant increase (p=0.013), while the mean LD decrease. The difference in LD and MD of F varnish+F toothpaste, F toothpaste and control group were not significant (LD:p=0.455, p=0.172 and p=0.384, respectively), (MD:p=0.424, p=0.722 and p=0.929, respectively). The %meanMDchange of SDF+F toothpaste was significantly higher than other groups (p<0.001). The %meanMDchange of GIC+F toothpaste was higher than F toothpaste and control group (p=0.018 and p=0.015) at significant level 0.05
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.372
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลของสารคืนแร่ธาตุต่อรอยผุชั้นเนื้อฟันในฟันกรามน้ำนม : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ
dc.title.alternative EFFECT OF REMINERALIZING AGENTS ON DENTIN CARIES LESION IN PRIMARY TEETH : IN VITRO STUDY
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทันตกรรมสำหรับเด็ก
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Wacharaporn.T@Chula.ac.th,twachara@chula.ac.th
dc.email.advisor ctrairat@gmail.com
dc.email.advisor Panida.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.372


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record