DSpace Repository

ผลของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ต่อการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุจำลองระยะแรกในห้องปฏิบัติการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์
dc.contributor.author อัญรัตน์ มหาสะโร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:21:15Z
dc.date.available 2017-10-30T04:21:15Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54932
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการคืนกลับแร่ธาตุสู่รอยผุจำลอง เมื่อทำการเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่มีและไม่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ โดยใช้ด้านประชิดของฟันกรามน้อยที่สร้างรอยผุจำลองลึกประมาณ 150 ไมโครเมตร จำนวน 75 ชิ้น สุ่มเข้า 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่รอยผุเคลือบด้วยวัสดุเรซินที่มีเอส-พีอาร์จี (บิวติซีลแลนต์) เคลือบด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ (ฟูจิเซเว่น) เคลือบด้วยวัสดุเรซินที่มีฟลูออไรด์ (เดลตันเอฟเอสพลัส) เคลือบด้วยวัสดุเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์ (เดลตัน) และกลุ่มควบคุมที่รอยผุไม่เคลือบวัสดุใดๆ นำทุกกลุ่มผ่านกระบวนการจำลองสภาวะร้อน-เย็น 500 รอบ และการจำลองสภาวะกรด-ด่าง เป็นเวลา 5 วัน วัดความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยทั้งก่อนและหลังการทดลองด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตตโทโมกราฟี พบว่ารอยผุที่เคลือบด้วยวัสดุทั้งสี่กลุ่มมีค่าความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยกลาสไอโอโนเมอร์มีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุสูงสุด รองลงมาคือ เรซินที่มีฟลูออไรด์ เรซินที่มีเอส-พีอาร์จี และเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์ ทั้งนี้พบว่ากลาสไอโอโนเมอร์และเรซินที่มีฟลูออไรด์มีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุที่มากกว่าและมีระดับการคืนกลับแร่ธาตุที่ลึกกว่ากลุ่มเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างสามวัสดุที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบคือ กลาสไอโอโนเมอร์ เรซินที่มีฟลูออไรด์ และเรซินที่มีเอส-พีอาร์จี ขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยลดลงตลอดความลึกของรอยผุจำลอง แสดงให้เห็นว่าการเคลือบหลุมร่องฟันสามารถยับยั้งการลุกลามและช่วยคืนกลับแร่ธาตุสู่รอยผุจำลองระยะแรกได้ โดยที่ฟลูออไรด์ในวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันมีส่วนช่วยให้เกิดการคืนกลับแร่ธาตุทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพได้มากกว่าชนิดที่ไม่มีฟลูออไรด์
dc.description.abstractalternative This study aimed to evaluate the remineralization effect of fluoride-releasing materials on artificial caries lesions. 75 enamel artificial caries specimens (150 µm depth) were randomly divided into 5 groups: a surface-prereaction type glass ionomer filler-containing sealant (S-PRG sealant; BeautiSealant), a glass-ionomer cement (GIC; FujiVII), a fluoride-containing sealant (F-sealant; DeltonFS+), a conventional sealant (Delton), and un-coated (Control). All groups underwent thermocycling 500 cycles and pH-cycling for 5 days. Pre- and post-experiment mineral density (MD) of lesions were evaluated by micro- computed tomography (micro-CT). After the experiment, MD of the 4 material groups increased while control group decreased significantly. Percent MD change of the 4 material groups increased significantly than the control group. The highest increase of MD the caries lesion was GIC, followed by F-sealant, S-PRG sealant and conventional sealant. The percent MD change of GIC and F-sealant significant higher and deeper than the conventional sealant. However, the 3 fluoride material groups showed no significant difference. Sealants inhibited demineralization and promoted remineralization of artificial initial caries. Fluoride sealant yielded higher quantity and quality of remineralization (increase in mineral density and depth of remineralization).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.371
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ต่อการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุจำลองระยะแรกในห้องปฏิบัติการ
dc.title.alternative REMINERALIZATION EFFECT ON ARTIFICIAL INITIAL CARIES OF FLUORIDE-RELEASING SEALANTS : IN VITRO
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทันตกรรมสำหรับเด็ก
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Thipawan.T@Chula.ac.th,thipawan.T@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.371


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record