DSpace Repository

การจำนองแบบย้อนกลับสำหรับผู้สูงอายุไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวาณี สุรเสียงสังข์
dc.contributor.author ภูรินท์ธรรศ ชัยสว่างเลิศ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:21:54Z
dc.date.available 2017-10-30T04:21:54Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54967
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์แผนจำนองแบบย้อนกลับซึ่งเป็นการนำที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในสัญญากับทางสถาบันการเงิน เพื่อรับเงินรายงวดมาใช้ ผลิตภัณฑ์นี้เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการมีอายุยืนในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงจากการมีอายุยืนจะทำให้ผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ใช้การศึกษาแผนจำนองแบบย้อนกลับจากการพยากรณ์ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย และอัตราดอกเบี้ย ในอนาคตซึ่งในการพยากรณ์ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยใช้การสร้างตัวแบบอารีมา โดยได้พิจารณาลักษณะที่อยู่อาศัย 3 ประเภท ได้แก่ บ้านเดี่ยวและที่ดิน ทาวน์เฮ้าส์และที่ดิน และอาคารชุด ส่วนการพยากรณ์อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตใช้ข้อมูลราคาพันธบัตรที่ไม่จ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ถึง มกราคม พ.ศ. 2559 ที่มีอายุคงเหลือ 1 ปี 2 ปี และเพิ่มขึ้นขั้นละ 1 ปีจนถึง 50 ปีด้วยตัวแบบวาซิเซก สำหรับอัตรามรณะที่ใช้ในการศึกษานี้ได้แปลงจากตารางมรณะของตารางบำนาญไทยปี 2552 ซึ่งประกาศใช้โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในปีพ.ศ. 2552 จากการวิจัยพบว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยมีค่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถพยากรณ์ด้วยตัวแบบอารีมา โดยดัชนีอาคารชุด ในทุกช่วงเวลามีมูลค่าสูงสุด ตามด้วยราคาทาว์นเฮ้าส์พร้อมที่ดินและราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรที่ไม่จ่ายดอกเบี้ยสามารถพยากรณ์ด้วยตัวแบบวาซิเซก อัตราดอกเบี้ยจากการพยากรณ์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึงพ.ศ. 2566 และลดลงมาถึงปีพ.ศ. 2572และหลังจากปีพ.ศ. 2572 อัตราดอกเบี้ยจะมีการเพิ่มขึ้นและลดลงสลับไปมาทุก ๆ 1 – 3 ปี ผลิตภัณฑ์แผนจำนองแบบย้อนกลับที่พิจารณาแยกตามที่อยู่อาศัย พบว่าจำนวนเงินรายงวดที่ผู้ทำสัญญาได้รับนั้นขึ้นอยู่กับ เพศ และอายุขณะทำสัญญา โดยผลจากงานวิจัยพบว่าจำนวนเงินรายงวดที่ได้รับในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ทุก ๆ ช่วงอายุ และทุกประเภทที่อยู่อาศัย เนื่องจากเพศหญิงมีอัตรามรณะที่ต่ำกว่าเพศชาย ราคาที่อยู่อาศัยที่ให้จำนวนเงินรายงวดมากที่สุดในทุก ๆ ช่วงอายุ คือ ที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด
dc.description.abstractalternative The research aims at creating a reverse mortgage which hold elders’ home and residence as security for the loan with financial institutes. And the borrowers are paid with retirement annuities in return. In essence, this financial package lowers the risk of enhanced longevity which unexpectedly increases the average cost of living in the elders. The reverse mortgage also emphasises on three main parts including Habitat Price Index (HPI), forward interest rate, and mortality rate. In addition, ARIMA model is employed for the prediction of the habitat price index that takes three types of residence into account. They comprise detached houses, townhouses, and condominiums. On the contrary, Vasicek model is used to base the calculation of the forward interest rate on zero – coupon bond price. In case of the mortality rate, it is derived from Thailand’s mortality tables and pension which were declared by OIC in 2009. According to the observations, the house price index fundamentally shows an increasing trend over the whole period of time. In relation to that, the index which corresponds to the condominiums exhibits the highest value and it is followed by those for the townhouses and the detached houses respectively. Moreover, the forward interest rate is estimated to rise from 2016 to 2023 but gradually decline from 2023 to 2029. Then, it wildly fluctuates every few years afterwards. For the retirement annuities, they strongly depend on gender and age at which the mortgage is taken out. With respect to the gender, male subjects obtain more returns than female counterparts over the whole range of ages and in every type of residence because of higher rate of mortality. Concerning the type of residence, the condominiums demonstrate the highest retirement annuities over the whole range of ages.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.158
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การจำนองแบบย้อนกลับสำหรับผู้สูงอายุไทย
dc.title.alternative A reverse mortgage for Thai elderly
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การประกันภัย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Suwanee.S@Chula.ac.th,suwanee@cbs.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.158


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record