DSpace Repository

มาตรการทางอาญากรณีการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Show simple item record

dc.contributor.advisor คณพล จันทน์หอม
dc.contributor.author สุธาทิพย์ แก้วศิวะวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:22:31Z
dc.date.available 2017-10-30T04:22:31Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54993
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางอาญากรณีการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการกระทำผิด มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการบังคับที่ควรนำมาใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ การสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการกระทำผิดลักษณะหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลส่วนที่แสดงอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของเหยื่อไปใช้แอบอ้างสวมรอยผ่านเว็บไซต์หรือโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และกระทำไปโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในความเป็นตัวตนและสิทธิส่วนบุคคลของผู้ถูกสวมรอยเป็นเหตุให้ผู้ถูกสวมรอยและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องได้รับความเสียหาย ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางอาญาเกี่ยวกับการกระทำผิดดังกล่าวอย่างชัดเจนและครอบคลุมเพียงพอ ส่งผลให้ผู้ถูกสวมรอยไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เมื่อศึกษากฎหมายของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี พบว่าสหรัฐอเมริกามีบทบัญญัติที่วางมาตรการทางอาญาเกี่ยวกับการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้เป็นการเฉพาะ ส่วนสหราชอาณาจักร ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี แม้จะไม่มีบทบัญญัติเฉพาะ แต่มีการกำหนดแนวทางในการนำบทบัญญัติอื่นที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นรายกรณีไป ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้มีมาตรการทางอาญาสำหรับจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยกำหนดมาตรการทางอาญากรณีการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ชัดเจนและเหมาะสม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีหลักเกณฑ์ในการดำเนินการทางกฎหมายแก่ผู้กระทำผิด และประชาชนได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง อันจะส่งผลให้การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
dc.description.abstractalternative The objective of this thesis is to study the criminal measures for online impersonation crime in order to find which criminal measures and sanctions are applicable to prevent and suppress such crime. The study showed that computer technology and internet networking system play a very important role in our daily life. Although such technology is useful for various activities, it also opens the door for the criminals to use this technology as a tool to commit crimes. Online impersonation is a crime that a person impersonates other person by using other person’s identifying information or personal data via any internet websites, applications, or other electronic means to pretend to be that person without obtaining the consent for the purpose of committing crimes. This behavior infringes the person’s right to identity and right to privacy and may cause victims and those who involved to suffer from damages. At present, Thailand is facing a problem of online impersonation, but there are none of criminal measures to prevent such crime and protect the victims effectively. On the contrary, the study showed that the United States has its own provisions imposing criminal measures for online impersonation, whereas, England, Japan, and South Korea do not have any specific laws but they have some guidelines to use the existing laws to prosecute cases involving online impersonation. Their legal measures has proven the effective solutions to solve such problems. This thesis purposes the implementation of explicit and proper criminal measures related to online impersonation in Thailand in order to take action against the offenders as well as to ensure that people will be truly protected. By doing so would result in the effectiveness of the prevention and suppression of the crime.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.455
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title มาตรการทางอาญากรณีการสวมรอยเป็นบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
dc.title.alternative Criminal Measures for Online Impersonation
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Kanaphon.C@Chula.ac.th,Kanaphon.C@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.455


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record