DSpace Repository

หลักการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ขำคม พรประสิทธิ์
dc.contributor.author นริศรา พันธุ์ธาดาพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:29:16Z
dc.date.available 2017-10-30T04:29:16Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55179
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract งานวิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการศึกษาเรื่องหลักการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ผู้วิจัยตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 2 ประการ คือเพื่อศึกษาหลักการทั่วไปสำหรับการแปรทำนองของจะเข้และซออู้ และที่สำคัญเพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะในการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ผลการวิจัยพบดังนี้ จาการศึกษาประการแรกหลักการทั่วไปในการแปรทำนองจะเข้ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนปรากฏ 13 หลักการ มีลักษณะสำคัญคือ การเพิ่มพยางค์เสียงต่างๆ เข้าไปในทำนองเพลง ส่วนการแปรทำนองของซออู้ ปรากฏ 8 หลักการ มีลักษณะสำคัญคือ ลักษณะทำนองฝากลูกตกไปห้องถัดไป ประการที่สอง ลักษณะเฉพาะการแปรทำนองจะเข้ปรากฏ 4 หลักการ พบมีลักษณะที่โดดเด่นคือ การดีดสายลวดสลับกับสายเอกในลักษณะที่เป็นการย้ำเสียงเดียวกัน ส่วนการแปรทำนองของซออู้ปรากฏ 4 หลักการ มีลักษณะที่โดดเด่นคือ การสีสะบัดสลับกับการสีลักคันชัก ซึ่งหลักการทั่วไปและหลักการเฉพาะที่สำคัญสำหรับการแปรทำนองจะเข้และซออู้อย่างเด่นชัดพบอยู่ในบทเพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนในครั้งนี้ ปรากฏการแปรทำนองจะเข้และซออู้โดยยึดทำนองหลักในการแปรทำนองของทั้งสองเครื่องโดยขึ้นอยู่กับความสะดวกและความโดดเด่นในการบรรเลงของทั้งสองเครื่อง สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการแปรทำนองจะเข้และซออู้ในเพลงประเภทสองไม้เป็นหลักการที่สามาถนำมาใช้ในการแปรทำนองของเครื่องทั้ง 2 ชิ้นในบทเพลงอื่น ๆ ในประเภทเดียวกันได้เป็นอย่างดี
dc.description.abstractalternative The study of Principles of Melodic Variation for Jakhay and Saw-u in Thayoi Khmer Samchan by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen had two objectives, which were to study general principles of melodic variation for Jakhay and Saw-u and to study specific principles of melodic variation for Jakhay and Saw-u in Thayoi Khmer Samchan by Associate Prefessor Pakorn Rodchangphuen. The results of the study were as follows: The general principles of melodic variation for Jakhay by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen had 13 principles. The notable characteristic was the increasing of syllable sounds in the songs’ melody. Moreover, the melodic variation for Saw-u had 8 principles. The notable characteristic was the melody that its rhythm fell into the next block. The specific principles of melodic variation for Jakhay had 4 principles. The notable characteristic was the switched playing of wire string and main string to repeat the same sound. Furthermore, the melodic variation of Saw-u had 4 principles. The notable characteristic was the switched playing between the fiddle bow. The study of both general and specific principles of melodic variation for Jakhay and Saw-u in Thayoi Khmer Samchan by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen indicated that melodic variation for Jakhay and Saw-u depending on the convenience and the outstanding ability in playing these two instruments. It reflected the method of melodic variation for Jakhay and Saw-u in phleng song mai. In addition, these principles can be used effectively to variate melody of Jakhay and Saw-u in other songs.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.353
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title หลักการแปรทำนองจะเข้และซออู้ เพลงทยอยเขมร สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
dc.title.alternative PRINCIPLES OF MELODIC VARIATION FOR JAKHAY AND SAW-U IN THAYOI KHMER SAMCHAN BY ASSOCIATE PROFESSOR PAKORN RODCHANGPHUEN
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Kumkom.P@Chula.ac.th,pkumkom@yahoo.com,pkumkom@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.353


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record