DSpace Repository

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่สะท้อนด้านมืดจากดอกกุหลาบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor นราพงษ์ จรัสศรี
dc.contributor.author ภัทราพร เจริญรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:29:25Z
dc.date.available 2017-10-30T04:29:25Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55182
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ และเพื่อค้นหาแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบสหสาขาวิชา จากแนวคิดการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม พฤติกรรมมนุษย์ สัญวิทยา และศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา และสื่อสารสนเทศ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสังเกตการณ์ การเข้าร่วมสัมมนา และการใช้เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อศึกษารูปแบบในการสร้างสรรค์งาน ดำเนินการทดลองสร้างสรรค์ผลงาน แก้ไขปรับปรุง นำเสนอผลงานสู่สาธารณชน สรุปผล และนำเสนอเป็นผลงานวิจัยตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการสร้างสรรค์การแสดงสามารถจำแนกตามองค์ประกอบของงานการแสดงได้ 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ด้วยการอิงเรื่องราวจากวรรณกรรม 2) นักแสดง มีความสามารถที่หลากหลาย 3) ลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) เสียง ใช้เสียงดนตรีสดจากเครื่องดนตรีไทยและสากล 5) อุปกรณ์การแสดง สร้างสรรค์ตามแนวคิดสัจนิยมและเชิงสัญลักษณ์ 6) พื้นที่ในการแสดง ใช้พื้นที่บริเวณขั้นบันไดและเสาอาคาร เพื่อเป็นการสลายรูปแบบการจัดแสดงดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นที่ในโรงละครเท่านั้น 7) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีของสีและทิศทางของแสง 8) เครื่องแต่งกาย ใช้แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ และแนวคิดเหนือจริง ในการสื่อความคิดให้เป็นรูปธรรม สำหรับแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน มี 7 ประเด็น คือ 1) การใช้เค้าโครงเรื่องจากวรรณกรรม 2) การสะท้อนภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 3) การใช้สัญลักษณ์ในงานนาฏยศิลป์ 4) ความเรียบง่ายในงานนาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ 6) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 7) การคำนึงถึงทฤษฎีทางทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังค้นพบเรื่องการสร้างเอกภาพจากการนำวรรณกรรม 4 เรื่อง คือ พระแม่กาลี เทพวีนัส นางจิญจมานวิกา พระเพื่อนพระแพง ซึ่งเป็นงานจากวัฒนธรรมอินเดีย อารยธรรมกรีก พุทธชาดก และวรรณคดีไทย โดยให้นักแสดงแสดงในสถานที่เดียวกันตลอดทั้งเรื่อง นอกจากนี้ยังออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและดนตรีประกอบการแสดง ให้มีเอกภาพเดียวกันตลอดทั้งเรื่อง
dc.description.abstractalternative The purposes of this research are to propose dancing project and to explore the concepts of dancing creativity. Interdisciplinary fields of studies: literature creation, human behavior, semiology, and fine arts, have been applied through various sources of information – literature reviews, information technology context, interview with the experts and specialists, observation of the performances, seminar attendances, and standard criteria of artists. Those assorted kinds of content have been analyzed in order to find out the patterns and to conduct series of creative experiments. After several experiments had been tried out and developed, this dancing project has been publicly presented and has been concluded as a research study. According to performance creativity, this can be generated into 8 elements: 1) Script writing which has been adapted from original literatures. 2) Skillful performers who were able to deliver the intended content. 3) Choreograph which has been exhibited in the form of post-modern dance. 4) Sound which was played by live musical band. 5) Stage prop which has been created upon the realism and symbolism concepts. 6) Stage area which has been altered from the actual space consisting of leveled steps of stairs and poles of the buildings. 7) Light design which has been arranged underlying with the theories of colors and light direction. 8) Costume design which has been integrated with the concepts of symbolism and surrealism. After carrying out this performance, there have been seven profitable points which are worthwhile to be learned. 1) Firstly, the structure of the plots has been creatively generated from the traditional literatures without distortion. 2) Next, this dance has illustrated the current social situation. 3) As well as this, the symbolism concepts portrayed in the dance have encouraged the audiences to imply the hidden message through the performers’ movement. 4) Additionally, simplicity in dance has been explored. 5) Notably, this project has aroused the interests in traditional literatures among the young adult audiences. 6) In terms of creativity, this dancing project has exposed the characters in the traditional tales in comparable to the daily lives in the society. 7) Last but not least, three areas of study: visual arts, music and dance theories, have been utilized to perform the show deliberately. Moreover, the ideas of unity have been constructed upon different elements: stage-space application, costumes, music and four characters derived from traditional literatures: Kali (the Hindus Goddess from India), Venus (The Roman Goddess from Greece), Cinca Manavika (a young lady who plotted the sexual scandal towards the Lord of Buddha from Buddhist Jataka Tales) and Phra Phuean Phra Phang (the twin sisters from Lilit Phra Lor, Thailand).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1100
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่สะท้อนด้านมืดจากดอกกุหลาบ
dc.title.alternative THE CREATION OF A CONTEMPORARY DANCE ON THE REFLECTION OF THE HIDDEN DARK SIDE OF THE ROSE
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Naraphong.C@Chula.ac.th,Naraphong.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1100


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record