DSpace Repository

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย เรื่อง สตรีที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor นราพงษ์ จรัสศรี
dc.contributor.author ธนภรณ์ แสนอ้าย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:29:32Z
dc.date.available 2017-10-30T04:29:32Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55184
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและค้นหาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านนาฏยศิลป์ ดุรยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปการละคร และมานุษยวิทยา โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากสตรีที่ได้รับผลกระทบในสามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 30 คน ข้อมูลจากเอกสารตำรา สื่อสารสนเทศ การสัมภาษณ์ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การใช้เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน แบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลองสร้างสรรค์ผลงาน จัดแสดงผลงานต่อสาธารณชน และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยครั้งนี้ สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงได้ 8 องค์ประกอบของนาฏยศิลป์ ได้แก่ 1) บทการแสดง ใช้โครงเรื่องจริงของสตรีที่สูญเสียสามีเป็นหลัก สามารถแบ่งบทการแสดงออกเป็น 4 องก์ โดยการวิเคราะห์จากผลกระทบที่ได้รับเหตุการณ์ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อผู้เสียหาย 2) นักแสดง มีพื้นฐานทางด้านนาฏยศิลป์ที่แตกต่างกัน และเน้นนักแสดงที่อาศัยอยู่พื้นที่ภาคใต้ 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้เทคนิคการเต้นแบบผสมผสานทั้งนาฏยศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ การแสดงละคร และการเชิดหนังใหญ่ 4) เสียงและดนตรี เป็นการบรรเลงดนตรีสด ประกอบด้วย วงดนตรีพื้นบ้านโนรา ไวโอลิน เปียโน คาริเน็ต และเสียงบันทึกข่าวและเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริง 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้หนังตะลุงขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ความรุนแรง 6) เครื่องแต่งกาย ออกแบบให้มีนัยที่สื่อถึงดินแดนทางใต้ของประเทศไทย 7) สถานที่ในการแสดงและฉาก ใช้แนวคิดความเรียบง่ายในการออกแบบด้วย การใช้เก้าอี้ม้านั่งยาว 8) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีสี และทิศทางของแสงรวมถึงออกแบบให้สอดคล้องกับประเด็นที่นำเสนอ สำหรับแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย พบว่ามี 10 แนวคิด ได้แก่ 1) สตรีที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากความสูญเสีย 2) การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ในประเด็นทางสังคม 3) สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) สัญญะในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) ศิลปะการละครกับการสร้างสรรค์งานทางด้านนาฏยศิลป์ 6) ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 7) ความเรียบง่ายในงานนาฏยศิลป์ 8) องค์ประกอบทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ 9) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม 10) การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อเยาวชน งานวิจัยในครั้งนี้ เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เล่าเรื่องประเด็นของความรุนแรง และเป็นผลงานสร้างสรรค์จากบทสัมภาษณ์ ซึ่งใช้คำสัมภาษณ์เป็นตัวกำหนดการดำเนินเรื่องรวมถึงวิธีการแสดง โดยนำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ที่สร้างจากมุมมองของผู้วิจัยซึ่งเป็นคนภายนอก แสดงให้กับผู้ชมที่เป็นคนภายนอกพื้นที่ได้รับชม
dc.description.abstractalternative This thesis aims to investigate the creation of an original contemporary dance piece. The research methodology employed is a combination of quantitative and creative research that integrated Dance, Music, Visual art, Performing art, and Anthropology together. Data collection is based on a multi-disciplinary approach with data collected from interviews with 30 women who have been affected by conflict in the three Southernmost provinces of Thailand, related documents, texts, the popular media, collateral interviews, an evaluation of the components of traditional Thai dance, and completed questionnaires. The gleaned data has been analyzed, synthesized, and utilized to inform and conceive a creative project intended to be performed in public. The results of this research reveal that the components of the creation of the new piece of contemporary Thai dance can be classified into eight parts, as described below: 1) Performance script: The script is based on the true storyline of a woman losing her beloved husband. It is divided into four acts conceived from analysis of the situation and the impacts on the grieving wife. 2) Performers: They come from different backgrounds, but the majority of the performers are natives of the South of Thailand. 3) Choreography: Contemporary dance, Thai dance, Southern folk dance in Thailand, drama, and Nang Yai shadow puppet performance are all integrated. 4) Sound design and music: Live musical performance features a rendition of Nora Southern folk music with the accompaniment of violin, piano, and clarinet, interpolated with pre-recorded sound clips from the actual scenes where the violence occurred. 5) Stage properties: Large-scale Nang Yai shadow puppets are employed, symbolizing the themes of conflict and violence. 6) Costumes: Wardrobes are decorated with common motifs from the southern part of Thailand. 7) Performing space and Setting: The visual design follows the manner of simplicity by using of the benches. 8) Lighting: The lighting design’s colors and angles are designed to be congruent with the presented topics. Following the creation of this contemporary Thai dance, ten concepts/themes have revealed themselves, as follow: 1) Women are mentally affected by loss 2) The creation of a dance piece with a social topic 3) Symbols used in dance art 4) Semiotic signs used in dance art 5) Drama and creation of dance pieces 6) Expressionism in dance performance 7) Use of austerity in creation of a dance piece 8) Components of fine arts 9) Cultural diversity 10) Creation of a performance for youth. In conclusion, this research focuses on a creative project exploring the topic of violence in southern Thailand. The project is conceived based on interviews and utilizes content from these interviews to guide the storyline and the performance style. It is presented in the form of contemporary dance, and is based on the perspective of the researcher/creator, who is an outsider, for audiences comprised of outsiders to the topic.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1098
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย เรื่อง สตรีที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
dc.title.alternative THE CREATION OF CONTEMPORARY DANCE ON THE THEME OF ‘WOMEN WHO WERE MENTALLY AFFECTED BY THE INSURGENCY IN THE SOUTH OF THAILAND’
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Naraphong.C@Chula.ac.th,naraphong.c@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1098


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record