DSpace Repository

ผลของสารออกฤทธิ์สำคัญในน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตำแยแมว ที่มีผลต่อพฤติกรรมในแมวบ้านและความเครียดเฉียบพลัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุตรา จามีกร
dc.contributor.advisor สุชาดา สุขหร่อง
dc.contributor.advisor รสริน ตันสวัสดิ์
dc.contributor.author กมลพรรณ บำรุงไทย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:34:01Z
dc.date.available 2017-10-30T04:34:01Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55266
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาองค์ประกอบทางเคมีของสารระเหยจากตำแยแมว ผลของตำแยแมวต่อพฤติกรรม และความเครียดเฉียบพลันของแมวบ้าน การวิจัยประกอบด้วย การทดลองส่วนที่ 1 หาองค์ประกอบทางเคมีจากรากตำแยแมวด้วย Headspace GCMS (HS-GCMS) การทดลองส่วนที่ 2 ศึกษาผลของตำแยแมวต่อพฤติกรรม ใช้แมวพันธุ์ผสมคละเพศ 8 ตัว ได้สิ่งทดสอบคือตำแยแมวแบบสดทั้งต้น นาน 1 ชั่วโมง ทำการสังเกต บันทึกพฤติกรรมและเวลาที่สัตว์ตอบสนองต่อต้นพืช การทดลองส่วนที่ 3 ผลของตำแยแมวต่อความเครียดเฉียบพลัน ดำเนินแผนงานวิจัยแบบเปลี่ยนสลับ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับสิ่งทดสอบ กลุ่มที่ 2 ได้รับสิ่งทดสอบคือตำแยแมวแบบสดทั้งต้น เหนี่ยวนำความเครียดด้วยเทคนิคควบคุมสัตว์ทางกายภาพ และบันทึกค่าทางพยาธิวิทยา การตรวจด้วย HS-GCMS พบสารออกฤทธิ์สำคัญ 2 ชนิด คือ isodihydronepetalactone และ isoiridomyrmecin พบแมวแสดงการตอบสนองต่อพืช 3 แบบ คือ ดม เคี้ยว และถูคางและแก้ม ค่าเฉลี่ยของเวลาการดม เคี้ยว ถูคางและแก้ม เท่ากับ 2.13 นาที 5.47 นาที และ 0.55 นาที ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยเวลาเคี้ยวนานที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.002) เมื่อเปรียบเทียบกับการดม และถูคางและแก้ม เวลาทั้งหมดที่สัตว์ตอบสนองต่อพืช 8.4 – 26.11 นาที กลุ่มที่ 1 และ 2 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ระดับกลูโคส คอร์ติซอล และปริมาณเม็ดเลือดขาวรวม นิวโทรฟิล ลิมโฟไซท์ โมโนไซท์ และอีโอซิโนฟิล จึงไม่พบผลต่อความเครียดเฉียบพลันของตำแยแมวต่อแมวบ้านจากการศึกษาครั้งนี้
dc.description.abstractalternative This study was aimed to investigate volatile compounds in Acalypha indica (AC), effect of AC on domestic cats’ behavior and acute stress. Experiment was divided into 3 parts: 1) identification of volatile compound in AC’s roots using Headspace GCMS (HS-GCMS), 2) effect of AC on cats’ behavior. In the study, eight mixed breed male and female cats were used. Each one was presented with a fresh whole plant for 1 hour. All the cats’ behaviors were recorded, 3) effect of AC on acute stress. Crossover design was used in this experiment. Cats from the 2nd part were divided into 2 groups: 1) control group and 2) treatment group which each cat received one fresh whole plant. Acute stress was induced by physical restraint and physiological parameters were recorded.The compound identified by HS-GCMS included of 2 active ingredients: isodihydronepetalactone and isoiridomyrmecin. All cats showed 3 reactions: sniffing, chewing, chin and cheek rubbing, which mean time spent was 2.13, 5.47 and 0.55 minutes respectively. Mean time spent for chewing was the longest and significantly different (P<0.002) from sniffing, chin and cheek rubbing. Total reaction time ranged from 8.4–26.11 minutes. No significant difference was found between control and treatment group in body temperature, heart rate, respiratory rate, blood glucose, cortisol, total leukocyte, neutrophil, lymphocyte, monocyte and eosinophil. In this study, the effect of AC on domestic cats’ acute stress could not be observed.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1282
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลของสารออกฤทธิ์สำคัญในน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตำแยแมว ที่มีผลต่อพฤติกรรมในแมวบ้านและความเครียดเฉียบพลัน
dc.title.alternative The effects of active ingredients in essential oil extracted from Acalypha indica on domestic cat behavior and acute stress.
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาหารสัตว์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Uttra.J@Chula.ac.th,ck_sof@yahoo.com
dc.email.advisor Suchada.Su@Chula.ac.th
dc.email.advisor Rossarin.T@chula.ac.th,Rossarin.T@pharm.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1282


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record