DSpace Repository

มโนทัศน์การลงโทษในหลุนอี่ว์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศริญญา อรุณขจรศักดิ์
dc.contributor.author พรชนก อารยะกุลชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:36:23Z
dc.date.available 2017-10-30T04:36:23Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55402
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract “การลงโทษในพื้นที่จริยธรรม” ของขงจื่อมีจุดมุ่งหมายในการทำให้เกิดการแก้ไขตนเองในผู้กระทำผิด ซึ่งจะนำไปสู่การปกป้องผู้คน เสถียรภาพทางสังคม และบรรทัดฐานทางจริยธรรม และสอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษแบบรักษาและแก้ไขนิสัย (Rehabilitation Theory) ขงจื่อเชื่อว่าการทำผู้กระทำผิดให้ “ตรง” ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ควรสร้างความตระหนักเรื่องการละเมิดบรรทัดฐานทางจริยธรรมและความรับผิดชอบแก่ผู้กระทำผิด การลงโทษมีบทบาทในการประณามการกระทำที่ผิดและกระตุ้นให้ผู้กระทำผิดสำนึกว่าตนได้ละเมิดบรรทัดฐานทางจริยธรรมอย่างไร ในแง่นี้ การลงโทษไม่ได้มุ่งทำให้ผู้ถูกลงโทษหยุดการกระทำผิดเพราะกลัวที่จะถูกลงโทษ โดยไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความเข้าใจเรื่องบรรทัดฐานทางจริยธรรม ซึ่งสะท้อนชัดเจนในการที่ขงจื่อมักกล่าวสอนบรรทัดฐานทางจริยธรรมที่ถูกต้องควบคู่กับการลงโทษด้วย เพื่อเป็นการยืนยันว่าบรรทัดฐานที่ถูกต้องคืออะไร ขงจื่อคาดหวังว่าเมื่อเกิดความตระหนักดังกล่าวผู้ถูกลงโทษจะหยุดการกระทำผิด และมุ่งขัดเกลาจริยธรรมของตนเอง ซึ่งก็จะนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมายในการปกป้องผู้คน เสถียรภาพทางสังคม และบรรทัดฐานทางจริยธรรมด้วย
dc.description.abstractalternative The purpose of punishment from Confucius’s perspective is self-correction of the wrongdoer, which he expects, will lead to protection of people, social stability and moral norms, and his conception of punishment belongs to the Rehabilitation Theory. Confucius believes that one of the most important things to be concerned about when trying to make upright the wrongdoer is that it should make the wrongdoer understand what moral norm his action has violated and how he should take responsibility for it. The roles of punishment are to condemn the wrongdoing committed and to turn the wrongdoer to look back and realize his wrongdoing. Punishment does not merely aim to produce fear to deter wrongdoing without any improvement in understanding of appropriate norms. This is reflected in the way Confucius often teaches the correct moral norm as he “punishes” his friend and disciples which is an affirmation of such norms to the wrongdoer. As the wrongdoer realizes his wrongdoing, Confucius hopes that he will not commit the same act again and moves on to cultivate himself, and that such realization will consequently lead to protection of society and moral norms.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.565
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title มโนทัศน์การลงโทษในหลุนอี่ว์
dc.title.alternative The Concept of Punishment in the Analects
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ปรัชญา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Sarinya.A@chula.ac.th,pook_sarinya@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.565


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record