dc.contributor.advisor |
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
|
dc.contributor.author |
พิรุฬห์ ปิยมหพงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:36:26Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:36:26Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55404 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การรับประโยชน์และหน่วยสร้างแสดงการรับประโยชน์ได้รับความสนใจและศึกษาในทางภาษาศาสตร์อย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่มีการศึกษาประเด็นดังกล่าวในภาษาไทยโดยละเอียด งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ “เพื่อ” และ “ให้” ในภาษาไทย รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ที่แตกต่างกันดังกล่าว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการศึกษาพบว่า ตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ “เพื่อ” และ “ให้” มีคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์ที่แตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้ (1) การละนามวลีแสดงผู้รับประโยชน์ (2) การย้ายนามวลีแสดงผู้รับประโยชน์ไว้หน้าประโยค (3) การปรากฏร่วมกับคำบุพบทอื่น และ (4) การปรากฏร่วมกับตัวบ่งชี้ปฏิเสธ ตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ทั้งสองมีคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ที่แตกต่างกันในประเด็นดังต่อไปนี้ (1) การปรากฏร่วมกับผู้รับประโยชน์ที่จำแนกตามคุณสมบัติทางความหมายของหน่วยร่วมดังกล่าว (2) การปรากฏร่วมกับผู้รับประโยชน์ประเภทต่าง ๆ และ (3) ประเภทของคำกริยาที่ปรากฏกับแต่ละตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ ผู้วิจัยพบว่า ความหมายดั้งเดิมของตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์แต่ละตัวมีผลต่อคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ “เพื่อ” มีความหมายดั้งเดิม คือ การบ่งชี้สาเหตุของการกระทำ ส่วนตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ “ให้” มีความหมายดั้งเดิม คือ การแสดงการเปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อความหมายดั้งเดิมแตกต่างกัน รูปแบบการขยายความหมายรวมทั้งการขยายหน้าที่ทางไวยากรณ์จึงแตกต่างกันส่งผลให้คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์และวากยสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ทั้งสองแตกต่างกันตามลำดับ |
|
dc.description.abstractalternative |
Benefaction and benefactive construction have received much attention in linguistic study. However, there is little research thoroughly conducted by examining benefactive construction in Thai. This current research therefore has three specific purposes: to investigate and compare syntactic as well as semantic properties of two benefactive markers, namely ‘phuea’ and ‘hai’ in Thai and to analyze a factor contributing to those differences. The researcher collected data from Thai National Corpus (TNC) under the Patronage of Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindhorn. The study revealed that although similar in marking beneficiary, ‘phuea’ and ‘hai’ were both syntactically and semantically different. The two markers were syntactically different in four following facets: (1) beneficiary omission, (2) beneficiary preposing, (3) co-occurrence with other prepositions and (4) co-occurrence with negative marker. Semantically, the benefactive markers were different in three main aspects: (1) co-occurrence with beneficiary considered from inherent semantic properties, (2) co-occurrence with subtypes of beneficiary and (3) verbal types co-occurring with each benefactive marker. Dissimilarity in original meaning of each marker contributes to differences in syntactic and semantic properties, that is to say CAUSE is an original meaning of benefactive marker ‘phuea’ whereas TRANSFERRING POSSESSION is an original meaning of benefactive marker ‘hai’. Due to this, the patterns of semantic and functional extension of the two forms are dissimilar. This renders the differences in semantic and syntactic properties of both markers. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.716 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของตัวบ่งชี้ผู้รับประโยชน์ "เพื่อ" และ "ให้" ในภาษาไทย |
|
dc.title.alternative |
SYNTACTIC AND SEMANTIC PROPERTIES OF BENEFACTIVE MARKERS phuea AND hai IN THAI |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Kingkarn.T@Chula.ac.th,thepkanjana@gmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.716 |
|