DSpace Repository

เพลงยาวในฐานะบทวิพากษ์สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
dc.contributor.author วิลาสินี อินทวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:36:29Z
dc.date.available 2017-10-30T04:36:29Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55408
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องเพลงยาวในฐานะบทวิพากษ์สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและลักษณะเด่นของเพลงยาววิพากษ์สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาของเพลงยาววิพากษ์สังคม ได้แก่ เนื้อหาวิพากษ์บุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มบุคคลและปัญหาสังคม โดยเนื้อหาวิพากษ์บุคคลใดบุคคลหนึ่งและกลุ่มบุคคล มักจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นที่รู้จักและมีบทบาทในสังคมไทย พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุคคลที่วิพากษ์ย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และเนื้อหาวิพากษ์ปัญหาสังคมซึ่งพบว่ามี 7 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไทย ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ปัญหาเรื่องการเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง ปัญหาเรื่องระบบการศึกษาของไทย ปัญหาเรื่องการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล และปัญหาเรื่องนโยบายของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นสารที่กวีสื่อให้เห็นถึงความไม่พอใจในพฤติกรรมบุคคลและสภาพปัญหาสังคมต่างๆ ลักษณะเด่นของเพลงยาววิพากษ์สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วยลักษณะเด่นด้านเนื้อหาและด้านการใช้ภาษา ลักษณะเด่นด้านการใช้ภาษาที่พบคือการใช้ภาษาในชื่อเรื่อง และการใช้ภาษาในเนื้อหา การใช้ภาษาในชื่อเรื่อง ได้แก่ การตั้งชื่อเรื่องที่ระบุเป้าหมายในการวิพากษ์ การตั้งชื่อเรื่องตามจุดมุ่งหมายสำคัญของเรื่อง และการตั้งชื่อเรื่องเลียนแบบเพลงยาวในอดีต ลักษณะเด่นด้านการใช้ภาษาในเนื้อหาที่พบมี 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรกคือเรื่อง การใช้คำ มีการใช้คำที่มีลักษณะเป็นถ้อยคำแฝงนัย การใช้คำเรียกเฉพาะและการใช้ถ้อยคำก้าวร้าว ประเด็นถัดมาคือ การใช้ความเปรียบ ปรากฏลักษณะการใช้ความเปรียบที่มุ่งขยายพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและการใช้ความเปรียบที่ให้ภาพของความทุกข์ ประเด็นที่สามคือ การใช้เครื่องหมายเพื่อการเสริมความช่วยให้ผู้อ่านเห็นถึงประเด็นสำคัญที่กวีต้องการนำเสนอ ปรากฏการใช้เครื่องหมาย ได้แก่ เครื่องหมายอัฒภาค (;) เครื่องหมายจุดไข่ปลา (...) เครื่องหมายปรัศนี (?) และเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ”) ประเด็นท้ายสุด คือการใช้การอ้างถึง มีทั้งการอ้างถึงชื่อเรื่อง ตัวละคร สถานที่ เหตุการณ์ที่สอดคล้องหรือคล้ายกัน และการนำบางบทตอนหรือคำในบทตอนนั้นมาใช้อ้างถึง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเพลงยาววิพากษ์สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์กวีมุ่งสื่อสารสำคัญและสร้างอารมณ์สะเทือนใจเช่นเดียวกับการแต่งเพลงยาวประเภทอื่นๆ จากการศึกษาเนื้อหาและลักษณะเด่นดังที่กล่าวมาแล้วล้วนสะท้อนให้เห็นทัศนะของกวีที่มีต่อสังคม และต้องการชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยในปัจจุบันล้วนเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ ที่ทุกคนควรตระหนักและร่วมกันแก้ไข แม้ว่าบางปัญหายากที่จะแก้ไขได้ก็ตาม
dc.description.abstractalternative This thesis aims at studying contents and characteristics of Phleng Yao as social critique in the Rattanakosin period. It is found that the contents of Phleng Yao as social critique are to criticize individuals, social groups, and social problems. The individuals, targeted by the criticism, are prominent figures; their behaviors affect people’s living condition. The criticism against social problems falls into 7 categories: social injustice, human trafficking, environmental concerns, expanded urban society, inefficient educational system, dysfunctional government, and problematic policy of the neighboring countries of Thailand. All contents convey the poets’ discontents caused by both individual and social issues. The uniqueness of contents and literary language contributes to the characteristics of Phleng Yao as social critique in the Rattanakosin period. The characteristics of language use are found in titling and constructing contents. The significant titling consists of: titling with the targets of criticism, titling with certain objectives, and titling which is inspired by former works within the genre. The characteristics of language use entail: 1) word choice 2) figurative language, 3) the use of punctuation marks, and 4) allusion. Word choice contains verbal irony, particular addressing, and militant words. The use of figurative language emphasizes misbehaviors and illustrates ones’ adversity. The use of punctuation marks helps endorse the poets’ messages through semi-colons (;), ellipses (…), question marks (?), and quotation marks (“”). The allusion found in the works can be categorized into 5 groups: titles of other works, characters, places, identical incidents, and quotations. The findings reveal that, in Phleng Yao as social critique of the Rattanakosin period, the poets create both messages and emotion. The convention is shared with other sub-genres of Phleng Yao. Exploring the aforementioned contents and characteristics, the thesis reflects the poets’ views toward society. The works can raise the awareness of current social problems despite unpromising solutions.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.696
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title เพลงยาวในฐานะบทวิพากษ์สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์
dc.title.alternative PHLENG YAO AS SOCIAL CRITIQUE IN THE RATTANAKOSIN PERIOD
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Cholada.R@Chula.ac.th,Cholada.R@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.696


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record