dc.contributor.advisor |
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
|
dc.contributor.author |
สรณ์ แอบเงิน |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:36:30Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:36:30Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55409 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ 1) ประเภทความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยหลักและหน่วยพึ่งพาในหน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทยที่มีตัวบ่งชี้ ของ 2) เครือข่ายทางความหมายของความสัมพันธ์ต่างๆ ที่พบ และ 3) เงื่อนไขการปรากฏของตัวบ่งชี้ ของ ในหน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทย โดยศึกษาด้วยทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชานและใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่าประเภทความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยหลักและหน่วยพึ่งพาในหน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทยที่มีตัวบ่งชี้ ของ สามารถแบ่งได้อย่างน้อย 7 แบบ ได้แก่ ก) กรรมสิทธิ์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ข) ส่วน-ร่างกาย ค) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ง) ส่วนย่อย-ส่วนใหญ่ จ) คุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ฉ) เหตุการณ์-ผู้ร่วมเหตุการณ์ ช) หัวข้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เครือข่ายทางความหมายระหว่างหน่วยหลักและหน่วยพึ่งพามีลักษณะสำคัญ คือ ก) กรรมสิทธิ์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นต้นแบบมากที่สุด ความสัมพันธ์ที่มีระยะใกล้กับกรรมสิทธิ์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าความสัมพันธ์อื่นๆ ได้แก่ ข) ส่วน-ร่างกาย และ ค) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสัมพันธ์ที่อยู่ชายขอบมากที่สุดคือ ช) หัวข้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความแปลกแยกและไม่แปลกแยก และประเภทความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ที่พบ ไม่ได้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลต่อการปรากฏของตัวบ่งชี้ ของ ในหน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทย แต่พบว่า คุณสมบัติของคำ (ชนิดของคำนามและความมีชีวิตของคำนาม) ความหนักของคำในหน่วยสร้าง และความเป็นสำนวน เป็นเงื่อนไขที่สำคัญกว่าต่อการปรากฏของตัวบ่งชี้ ของ ในหน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทย |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aims to investigate 1) the semantic relations between heads and dependents in nominal constructions with the possessive marker khɔ̌ɔŋ in Thai 2) the semantic network that reflects different degrees of prototypicality of the relations and 3) the conditions on alternations between the construction with khɔ̌ɔŋ [Xhead khɔ̌ɔŋ Ydependent] and the construction without khɔ̌ɔŋ [Xhead Ydependent] to express the relations. The study is based on the cognitive linguistic approach. The 2,700 data are collected from the Thai National Corpus. The study shows that the semantic relations expressed by the marker khɔ̌ɔŋ can be divided into at least 7 types: 1) OWNERSHIP 2) BODY PART RELATIONSHIPS 3) INTERPERSONAL RELATIONSHIPS 4) PART-WHOLE 5) ATTRIBUTES-ATTRIBUTE HOLDERS 6) PREDICATION-PARTICIPANT and 7) WHOLE-CONTENT. According to the semantic network, 1) OWNERSHIP is most center to the prototype as it exhibits a maximal degree of prototypicality. 2) BODY PART RELATIONSHIPS and 3) INTERPERSONAL RELATIONSHIPS are close to 1) OWNERSHIP. With a minimal degree of prototypicality, 7) WHOLE-CONTENT is a peripheral member subsumed under linguistic possession expressed by the marker khɔ̌ɔŋ. The conditions on alternations between the construction with khɔ̌ɔŋ and the construction without khɔ̌ɔŋ are lexical attribute of nouns in the constructions, heaviness of noun phrase in the constructions, and idiomaticness of the constructions. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.717 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
หน่วยสร้างนามวลีแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทย |
|
dc.title.alternative |
NOMINAL POSSESSIVE CONSTRUCTIONS IN THAI |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Kingkarn.T@Chula.ac.th,thepkanjana@gmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.717 |
|