dc.contributor.advisor |
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล |
|
dc.contributor.author |
ชวลิต ตรียะประเสริฐ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:36:37Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:36:37Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55417 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
งานชิ้นนี้ศึกษาวิเคราะห์ สถานภาพความเป็นพลเมืองของคาทอลิกในสังคมไทยอดีตและปัจจุบัน รวมถึงกระบวนการสร้าง ปัจจัยเอื้อ และอุปสรรคต่อความเป็นพลเมืองของคาทอลิก ผลการวิจัยพบว่าความเป็นพลเมืองของชาวคาทอลิกเกิดจากการปะทะกันของวาทกรรมความเป็นพลเมืองไทยของศาสนาพุทธที่เป็นกระแสหลักกับความเป็นพลเมืองไทยของศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสรอง โดยในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การเป็นผู้นำความรู้สมัยใหม่ และความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันกษัตริย์ของศาสนาคริสต์เป็นปัจจัยช่วยให้ศาสนาคริสต์สามารถดำรงอยู่ในสังคมไทยได้อย่างไม่เกิดความขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ชาวคาทอลิกได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นพลเมืองในสังคมไทย ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สถาบันกษัตริย์มีอำนาจลดลงรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมบังคับให้ชาวไทยทุกคนนับถือศาสนาพุทธ ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในสงครามอินโดจีน ทำให้ศาสนาคริสต์ถูกมองว่าเป็นศาสนาของพวกฝรั่งเศสที่จะเข้ามายึดประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเบียดเบียนศาสนาคริสต์อย่างรุนแรง และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างความเป็นพลเมืองของชาวคาทอลิก แต่ภายหลังในช่วงรัชกาลที่ 9 เกิดการสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ศาสนาคริสต์ได้ปรับตัวโดยการสร้างจินตกรรมความเป็นพลเมืองไทยของชาวคาทอลิกขึ้นมาอีกชุดหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับจินตกรรมความเป็นพลเมืองของรัฐไทย ผ่านการตั้งโรงพยาบาลและโรงเรียนคาทอลิกการเข้ามามีบทบาทพัฒนาสังคมและช่วยเหลือคนด้อยโอกาส การปรับตัวผสมผสานศาสนาคริสต์ให้เข้ากับสังคมไทย และความสัมพันธ์ที่ดีของศาสนาคริสต์กับสถาบันกษัตริย์ไทย |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis analyses the status of Catholics citizenshipness in Thai society from past to present including the constructing process, conditions and obstructing Catholic citizenshipness. The research found, Catholic citizenshipness has been a result of the battle and interaction between the mainstream discourse of Thai-Buddhist citizenship and the marginal Thai-Christian citizenship. During the reign of King Rama IV until the Siamese revolution of 1932 (2475 BC.), acting as modern knowledge provider as well as profound relations with the royal institute, helped Christianity to exist in Thai society without conflict. Nevertheless, this did not enable the Catholics to be recognized as part of Thai society. Subsequently, after the 1932 Siamese revolution, Thai monarchy began to lose power. In addition, Field Marshal P. Phibulsongkhram's government pursued his nationalism policy forcing all Thai to become Buddhists. Furthermore, during the conflict between Thailand and France in Indochina War; Christianity was regarded as French’s religion as challenging to seize Thailand.This resulted in severe persecution of Christians and served as a main obstacle in constructing citizenshipness of Catholics. However, during the reign of King Rama IX and the Second Vatican Council Reformation, Christianity has adapted itself by creating another set of imagined community of Thai-Catholic citizenshipsness. This process has been through establishing Catholic hospitals and schools, taking on the role of social development and helping the underprivileged, familiarizing Christianity to Thai Society, and lastly re-constructing good relationships Thai monarchy. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.135 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
ความเป็นพลเมืองของคาทอลิกในสังคมไทย |
|
dc.title.alternative |
CITIZENSHIPNESS OF CATHOLICS IN THAI SOCIETY |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การเมืองและการจัดการปกครอง |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Kanokrat.L@Chula.ac.th,yin_19@hotmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.135 |
|