dc.contributor.advisor |
อุทัย ตันละมัย |
|
dc.contributor.author |
ถิรายุ แย้มจรูญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2017-10-30T04:36:41Z |
|
dc.date.available |
2017-10-30T04:36:41Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55421 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบบทเรียนออนไลน์ โดยเปรียบเทียบประสิทธิผลการเรียนรู้และความพึงพอใจระหว่างผู้เรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อนิ่ง (Non-interactive) และผู้เรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive) เป็นเอกสารประกอบการเรียนออนไลน์ นอกจากนั้นงานวิจัยยังศึกษาลักษณะการเรียนรู้ (Learning Style) และความรู้ในโลกดิจิทัล (Digital Literacy) ว่าส่งผลต่อการกระตุ้นทางปัญญา (Cognitive Engagement) ของผู้เรียนหรือไม่ ในการวิจัยกึ่งทดลองนี้ ได้มีการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องมูลค่าของเงินตามเวลา เพื่อประกอบการเรียนออนไลน์ในรายวิชาบริหารการเงิน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบสื่อผสมปฏิสัมพันธ์และรูปแบบสื่อนิ่ง ข้อมูลเก็บจากนิสิตจำนวน 213 คน ที่มีสิทธิ์ในการเรียนหลักสูตร CBS Innovative Business Online ผู้เรียนประกอบด้วยนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชาพื้นฐานธุรกิจเป็นวิชาบังคับ จำนวน 82 คนและนิสิตจากคณะอื่น ๆ จำนวน 131 คน โดยหน่วยทดลอง 213 คนถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อนิ่งจำนวน 109 คน และกลุ่มผู้ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมปฏิสัมพันธ์จำนวน 104 คน ผลการวิจัยพบว่าผลการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนออนไลน์ที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมปฏิสัมพันธ์ไม่แตกต่างกับผู้เรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อนิ่ง ลักษณะการเรียนของผู้เรียนไม่มีความสัมพันธ์กับการกระตุ้นทางปัญญา แต่การกระตุ้นทางปัญญาขึ้นอยู่กับระดับความรู้เกี่ยวกับโลกดิจิทัล มีการเก็บข้อมูลเพิ่มโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการใช้แบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งพบว่าผู้ทั้งสองกลุ่มไม่เห็นความแตกต่างของสื่อปฏิสัมพันธ์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้เรียนทุกคนมีความตั้งใจเรียนสูง กลุ่มนิสิตชั้นปีที่ 1 ตั้งใจเพราะต้องการได้เกรดที่ดี ส่วนนิสิตอื่นต้องการความคุ้มค่าของการลงทุนอย่างสมัครใจ นอกจากนั้นเมื่อนำคะแนนหลังเรียนมาเปรียบเทียบ พบว่าคะแนนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้มีการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียน |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aims at studying the usage of eBook to support online learning by comparing the learning effectiveness and satisfaction of learners who use interactive eBooks versus those who use non-interactive eBooks as supplemental materials for online learning. In addition, the study examines whether Learning Style and Digital Literacy would affect the Cognitive Engagement of a learner. In this Quasi-Experimental research, the time value of money eBook was developed in order to supplement the online course called Financial Management. Two types of eBooks are interactive and non-interactive. Data was collected from 213 students who were eligible to study in the CBS Innovative Business Online course. These learners comprise 82 freshmen who take the course as a required class at the School of Business and 131 students from other faculties. The 213 experimental subjects are divided into two groups: 109 learners who use non-interactive eBook and 104 learners who use interactive eBook. The findings reveals that the testing scores and satisfactions are not different between the learners using interactive and non-interactive eBook. No significant relationship was found between Learning Styles and the Cognitive Engagement. However, the result shows that Cognitive Engagement depends on level of Digital Literacy. Additional data was collected with in-depth interviews and open-ended questionnaires. The data shows both learner groups are indifferent towards the interactivity of eBooks. All students have strong intention to learn; the freshmen want to have good grades and the others want to get maximum value from their voluntary investment. In addition, when comparing the post-test scores, the result shows that the scores of learners with supplemental eBook are significantly higher than without eBook. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.86 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ |
|
dc.subject |
แบบเรียนสำเร็จรูป |
|
dc.subject |
Electronic books |
|
dc.subject |
Programmed instruction |
|
dc.title |
การกระตุ้นปัญญาและประสิทธิผลการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์ |
|
dc.title.alternative |
COGNITIVE ENGAGEMENT AND LEARNING EFFECTIVENESS WITH INTERACTIVE E-BOOK |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Uthai.T@Chula.ac.th,uthai@cbs.chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.86 |
|