DSpace Repository

ภาษีบุคคลที่เหมาะสมของไทยภายใต้พลวัตของระบบเศรษฐกิจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิพิฐ วงศ์ปัญญา
dc.contributor.author วสิษฐ นรการเทียนสิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:37:02Z
dc.date.available 2017-10-30T04:37:02Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55443
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาษีที่เหมาะสมภายใต้พลวัตของระบบเศรษฐกิจประเทศไทย โดยที่บทบาทสำคัญของภาครัฐบาลคือการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยให้ตามทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทั้งภาคเศรษฐกิจจริงและภาคการเงินของไทยจำต้องพึ่งพาการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีเพื่อรองรับและส่งเสริมการพัฒนาของประเทศ การใช้จ่ายของภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักจำต้องมีการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากนโยบายภาษีที่ดี นำไปสู่ความจำเป็นที่จะต้องศึกษานโยบายภาษีที่เหมาะสมที่สุดเพื่อรองรับการใช้จ่ายของภาครัฐภายใต้บริบทและระบบเศรษฐกิจของไทย ในการศึกษานี้ใช้แบบจำลองดุลยภาพโดยทั่วไปแบบพลวัตภายใต้ความไม่แน่นอน เพื่อจำลองระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย และใช้กรอบแนวคิดเรื่องภาษีที่เหมาะสมตามแบบของแรมซี่ โดยเน้นศึกษาองค์ประกอบที่เหมาะสมของอัตราภาษีเฉลี่ย 3 ชนิดหลักอันได้แก่ ภาษีรายได้จากค่าจ้างแรงงาน ภาษีรายได้จากค่าเช่าทุน และภาษีจากการบริโภคของครัวเรือน ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ต่อการบริโภคและการลงทุนจากภาครัฐ และการเปลี่ยนแปลงด้านอุปทาน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อภาครัฐเพิ่มขนาดการลงทุนและเพิ่มการสะสมปัจจัยทุนของภาครัฐ ระบบเศรษฐกิจตอบสนองโดยการชะลอตัวลงเล็กน้อยจนกระทั้งเมื่อปัจจัยทุนของภาครัฐพร้อมที่จะถูกใช้งาน ภาคการผลิตจึงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตได้ ส่งผลให้การผลิตการบริโภคเติบโตขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรที่ถูกภาครัฐใช้ไปในการลงทุน จะไปชะลอการลงทุนของภาคเอกชนในระยะสั้นเท่านั้น ในระยะกลางถึงยาวการลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวดี ฐานภาษีรายได้และฐานภาษีการบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ภาครัฐสามารถพึ่งพาภาษีจากฐานรายได้เป็นหลักโดยกระทบต่อการตัดสินใจทำงานและออมของภาคครัวเรือนน้อยกว่า ในขณะเดียวกันภาครัฐสามารถลดภาระภาษีส่วนเกินต่อสังคมได้โดยการลดภาษีจากการบริโภค ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาที่ภาครัฐสูญเสียไปในการสร้างหรือจัดสรรให้มีปัจจัยทุนของรัฐ ยิ่งนานจะยิ่งส่งผลลบต่อระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่ผลิตภาพของปัจจัยทุนดังกล่าวมีความสำคัญทางบวกที่ชัดเจนต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
dc.description.abstractalternative Due to the importance of Infrastructure system upgrading in Thailand, this study aims to find out what is the optimal way to funding the cost, given no new type of tax instrument is available and public debt is restricted. We use dynamic stochastic general equilibrium model with Ramsey tax planner to maximize the Social Welfare with three main linear tax instruments, in average, Labor income tax, rental tax on capital and consumption tax. Following the Ramsey framework, we base the optimal criterion solely on efficiency, we investigate the response of economic system and policy rate to supply and demand shocks, plus demand on government investment. The result reveals that when government spends and accumulate capitals and when these capitals are ready to be used, supply side will be able to access and benefit from them in the production process. This results in the advance of production and consumption. Capitals invested by the government will decelerate private investment but only for short run. In the long run private investment will recover and progress. Ramsey Planer show that we better off relying on income tax since we want to avoid distortion to our economy, the excess burden from using tax can be reduced via loosing consumption tax. The result also indicates that, the longer the government construction process is, the more cost we have to carry. Productivity of the infrastructure project has a significant positive relationship to the development of economics.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.108
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ภาษีบุคคลที่เหมาะสมของไทยภายใต้พลวัตของระบบเศรษฐกิจ
dc.title.alternative Thailand Optimal Personal Tax in Dynamic Economy
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Nipit.W@chula.ac.th,Nipit.W@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.108


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record