DSpace Repository

การสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทระ คมขำ
dc.contributor.author ปกป้อง ขำประเสริฐ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:37:30Z
dc.date.available 2017-10-30T04:37:30Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55469
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งเน้นศึกษาและรวบรวมประวัติรวมถึงผลงานทางด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐ โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลที่มีผู้เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสืบทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีไทยของท่านทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าครูสมภพ ขำประเสริฐ ได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีไทยจาก ครูพุ่ม โตสง่า ครูโองการ กลีบชื่น ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) รวมถึงได้ศึกษาเพลงหน้าพาทย์เพิ่มเติมจากครูหลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตรวิไล) และครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ องค์ความรู้ด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐที่ปรากฏในงานวิจัยเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ด้านการประพันธ์เพลง ด้านผลงานที่เป็นงานวิชาการ และด้านงานช่าง ในด้านการประพันธ์เพลงสามารถแบ่งตามบทบาทของเพลง ได้แก่เพลงเพื่อบรรเลงรับใช้สังคมและเพลงที่ใช้สำหรับการประลองวงจำนวนทั้งสิ้น 66 เพลง ประเภทแนวทางการบรรเลงที่ท่านถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนตรงกันคือการแบ่งมือในการบรรเลงเครื่องตีอย่างเคร่งครัด ประเภทงานเอกสารทางวิชาการ 4 เรื่อง และกรรมวิธีการสร้างไม้ตีสำหรับเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ ผู้สืบทอดองค์ความรู้จากครูสมภพแบ่งออกได้เป็นสายการสืบทอดดังนี้ สายลูกศิษย์ครูหลวงประดิษฐไพเราะรุ่นเล็ก สายทายาท สายวัดหัวลำโพง สายวัดรวกสุทธาราม สายสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม ปัจจุบันบุคคลที่สืบทอดองค์ความรู้ของครูสมภพยังถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลและสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ ครูสมพงษ์ ภู่สร ครูวิบูลย์ธรรม เพียรพงษ์ ครูเรือง มิ่งสมร ครูโกวิทย์ แก้วสุวรรณ ครูมิตต ทรัพย์ผุด ครูพิชิต กิสวาส
dc.description.abstractalternative This qualitative research is a study and a compilation of Khru Somphop Khamprasert’s biography and his Thai classical music performances. This study was conducted through documentary research and interviews with the aim to analyze the transmission methods from which Khru Somphop had acquired his Thai classical music knowledge and skills in the past, present and future. The study results showed that Khru Somphop Khamprasert was taught Thai classical music by Khru Phum Tosa-nga, Khru Ongkarn Kleebchuen and Khru Luang Pradit Phairoh (Sorn Silpabanleng) and had learned Phleng Na Phat from Khru Luang Bamrungchitcharoen (Thoop Satrwilai) and Khru Phum Bapuyawat. Thai classical music knowledge of Khru Somphop Khamprasert presented in this study can be categorized into three aspects including music composition, academic performance and carpentry. In respect to music composition aspect, it can be sub-divided based on the role of music played such as music for social service and music for band battling which consisted of 66 songs in total. The performance method which had been taught to every student, on the other hand, is strict hand positioning in percussion instruments performance whereas academic documentations comprised of four subjects and the last aspect comprised of carpentry method for Pi Phat percussion instruments. The successors of Khru Somphop’s knowledge on Thai classical music can be divided into the following: Khru Luang Pradit Pairoh Students (junior) Group, Hereditary Group, Wat Hua Lam Pong Group, Wat Ruaksuttharam Group and Nakhon Pathom Undergraduate Students Group. Today, the successors of Khru Somphop namely Khru Sompong Phusorn, Khru Wiboontham Pianpong, Khru Rueng Mingsamorn, Khru Kovit Kaewsuwan, Khru Mitt Sapphud and Khru Pichit Kitsawas continue to further pass on their Thai classical music knowledge to various groups and institutions.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.354
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐ
dc.title.alternative THE THAI MUSIC TRANSMISSION OF KRU SOMPHOP KHAMPRASERT
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Pattara.K@chula.ac.th,Peenai2004@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.354


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record