DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับปลี่ยนความคิดการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด และสุขภาวะทางจิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบุญ จารุเกษมทวี
dc.contributor.author ฏาว แสงวัณณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:38:49Z
dc.date.available 2017-10-30T04:38:49Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55534
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิด การกำกับอารมณ์แบบเก็บกดและสุขภาวะทางจิตของพนักงานในองค์กร กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานในองค์กรที่มีอายุงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือนหรือผ่านการทดลองงานแล้ว ทั้งเพศชายและเพศหญิง ช่วงอายุตั้งแต่ 22 - 55 ปี ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 148 คน มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 31.22 ปี (SD = 5.8) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดสุขภาวะทางจิต (2) แบบวัดสติ (3) แบบวัดการกำกับอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการวิเคราะห์การถดถอยแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) สติมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางจิตของพนักงานในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับต่ำกว่า .001 (r = .554, p < 0.001) 2) การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิด มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางจิตของพนักงานในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับต่ำกว่า .001 (r = .499, p < 0.001) 3) การกำกับอารมณ์แบบเก็บกดไม่มีสหสัมพันธ์กับสุขภาวะทางจิตของพนักงานในองค์กร (r = .025, p = 0.381) 4) สติ การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิด และการกำกับอารมณ์แบบเก็บกดสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตของพนักงานในองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตได้ร้อยละ 40.5 (R² = .405, p < .001) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายสุขภาวะทางจิตได้มากที่สุด คือ สติ (β = .45, p < .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .001 รองลงมาได้แก่ การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิด (β = .32, p < .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .001 และการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด (β = -.24, p < .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01
dc.description.abstractalternative This present study aimed to examine the relationships among mindfulness, cognitive reappraisal emotion regulation, suppression emotion regulation and psychological well-being in employees. Participants were 148 employees with age range from 22 to 55 years old in Bangkok metropolis and the adjacent areas. Their mean age was 31.22 (SD = 5.8) years old. Instruments were (1) The Questionnaire for Eudaimonic Well-Being (QEWB) (2) The Freiburg Mindfulness Inventory (FMI) (3) The Emotion Regulation Questionnaire (ERQ). Pearson’s product-moment correlation and multiple linear regression were used to analyses the data. Findings reveal: 1) Mindfulness are significantly and positively correlated with psychological well-being in employees (r = .554, p < 0.001) 2) Cognitive reappraisal emotion regulation are significantly and positively correlated with psychological well-being in employees (r = .499, p < 0.001) 3) Suppression emotion regulation are not significantly correlated with psychological well-being in employees (r = .025, p = 0.381) Mindfulness, reappraisal - emotion regulation, and suppression - emotion regulation significantly predict psychological well-being in employees and account for 40.5 percent of the total of variance of psychological well-being (R² = .405, p < .001) The most significant predictors of the psychological well-being is mindfulness (β = .45, p < .001) followed by cognitive reappraisal emotion regulation (β = .32, p < .001), and suppression emotion regulation (β = -.24, p < .01) respectively
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.311
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การเก็บกด (จิตวิทยา)
dc.subject จิตวิทยาองค์การ
dc.subject Depression, Mental
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับปลี่ยนความคิดการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด และสุขภาวะทางจิต
dc.title.alternative RELATIONSHIPS AMONG MINDFULNESS, COGNITIVE REAPPRAISAL EMOTION REGULATION, SUPPRESSION EMOTION REGULATION AND PSYCHOLOGICAL WELL-BEING
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Somboon.J@Chula.ac.th,somboon.kla@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.311


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record