DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันระหว่างกัน ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิตคู่ ของคู่รักชาวไทยชายและหญิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบุญ จารุเกษมทวี
dc.contributor.author วัชรพงษ์ ฟูประทีปศิริ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:38:53Z
dc.date.available 2017-10-30T04:38:53Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55537
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความผูกพันระหว่างกัน มาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิตคู่ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์แบบคู่รักชาวไทยเพศชายและเพศหญิง จำนวนทั้ง 260 คน (เพศชาย 130 คน และเพศหญิง 130 คน) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 26.06 (SD = 5.09) ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) มาตรวัดมาตรฐานความสัมพันธ์ และ (2) มาตรวัดความพึงพอใจในคู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความผูกพันระหว่างกัน มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตคู่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = .51 และ r = .32 ตามลำดับ) 2) มาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัว มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตคู่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = .32 และ r = .24 ตามลำดับ) 3) มาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความผูกพันระหว่างกัน และมาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อครอบครัวสามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในชีวิตคู่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในชีวิตคู่ได้ร้อยละ 26 และ 10 (R2 = .26, p < .001 และ R2 = .10, p < .01 ตามลำดับ) โดยตัวแปรมาตรฐานความสัมพันธ์ด้านความผูกพันระหว่างกันเท่านั้นที่สามารถทำนายความพึงพอใจในชีวิตคู่ได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง (β = .46, p < .001 และ β = .32, p < .01 ตามลำดับ) โดยสามารถทำนายความพึงพอใจในชีวิตคู่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 ตามลำดับ
dc.description.abstractalternative The present study aimed to examine the relationship between couple bond, family responsibility and couple satisfaction in Thai male and female couples. Participants were 260 couples (130 males and 130 females). Their mean age was 26.06 (SD = 5.09) years old. The instruments were (1) Couple Relationship Standard Scale and (2) Couple Satisfaction Index. Pearson’s product-moment correlation and multiple regression were used to analyses the data. Findings revealed: 1) Couple bond was significantly and positively correlated with couple satisfaction in Thai male and female couples (r = .51, p < .01 and r = .32, p < .01 respectively) 2) Family Responsibility was significantly and positively correlated with couple satisfaction in Thai male and female couples (r = .32, p < .01 and r = .24, p < .01 respectively) 3) Couple bond and family responsibility significantly predicted couple satisfaction in Thai male and female couples and account for 26 and 10 percent of the total of variance of couple satisfaction respectively (R2 = .26, p < .001 and R2 = .10, p < .01 respectively). Only couple bond was the significant predictors for both Thai male and female couples (β = .46, p < .001 and β = .32, p < .01 respectively)
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.296
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันระหว่างกัน ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิตคู่ ของคู่รักชาวไทยชายและหญิง
dc.title.alternative RELATIONSHIPS AMONG COUPLE BOND, FAMILY RESPONSIBILITY, AND COUPLE SATISFACTION IN THAI MALE AND FEMALE COUPLES
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Somboon.J@Chula.ac.th,somboon.kla@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.296


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record