DSpace Repository

การประเมินความเปราะบางของชุมชนชายฝั่งทะเลจากน้ำท่วมชายฝั่ง กรณีศึกษา ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณี ชีวินศิริวัฒน์
dc.contributor.advisor เอกกมล วรรณเมธี
dc.contributor.author ฮาพีฟี สะมะแอ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:39:06Z
dc.date.available 2017-10-30T04:39:06Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55545
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเปราะบางของชุมชนชายฝั่งทะเลในจังหวัดสมุทรปราการจากภัยน้ำท่วมชายฝั่ง โดยพิจารณาองค์ประกอบ 3 ส่วนที่ส่งผลต่อความเปราะบางของพื้นที่ศึกษา ได้แก่ 1) การเปิดรับต่อภัยพิบัติของพื้นที่ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล แผ่นดินทรุด การกัดเซาะชายฝั่ง และการเกิดคลื่นชายฝั่งทะเลจากพายุ 2) ความอ่อนไหวของพื้นที่ต่อภัยซึ่งพิจารณาจาก ลักษณะการใช้ประโยชน์ทีดิน ความหนาแน่นของประชากร และอัตราส่วนประชากรวัยพึ่งพิง และ 3) ความสามารถในการรับมือของชุมชนชายฝั่งทะเลต่อภัยพิบัติซึ่งพิจารณาจาก ระดับการศึกษาของประชากร รายได้ และความสามารถในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข งานวิจัยนี้ใช้วิธีการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process: AHP) ในการประเมินค่าความสำคัญของแต่ละปัจจัยในการประเมินความเปราะบางของพื้นที่ศึกษา และใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิเคราะห์ดัชนีความเปราะบางในสถานการณ์ พ.ศ. 2559 2569 และ 2589 ผลการศึกษาพบว่า ในกรณีที่ไม่เกิดคลื่นพายุซัดชายฝั่ง จะไม่มีพื้นที่เปราะบางจากน้ำท่วมชายฝั่งในพื้นที่ศึกษาใน พ.ศ. 2559 ในขณะที่สถานการณ์ของ พ.ศ. 2569 และ 2589 พบว่าตำบลที่มีความเปราะบางมากที่สุดคือ ตำบลปากน้ำ ตำบลคลองด่าน ตำบลบางปูใหม่ และหากในสภาวะที่เกิดคลื่นพายุ พบว่า ตำบลที่มีความเปราะบางมากที่สุดในพ.ศ. 2559 คือ ตำบลคลองด่าน ตำบลบางเพรียง และตำบลปากน้ำ ตามลำดับ ต่อมา พ.ศ. 2569 ตำบลที่มีความเปราะบางมากที่สุดคือ ตำบลคลองด่าน ตำบลปากน้ำ และตำบลบางปูใหม่ ตามลำดับ และใน พ.ศ. 2589 ตำบลที่มีความเปราะบางมากที่สุด คือ ตำบลปากน้ำ ตำบลคลองด่าน และตำบลบางปู ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าตำบลปากน้ำมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวมาก และมีความสามารถในกับรับมือต่อภัยพิบัติต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ
dc.description.abstractalternative This research aims to evaluate the vulnerability of coastal communities to coastal flood in Samut Prakan province by examining three main components that effect vulnerability in the study area: 1) spatial exposure including sea level rise, land subsidence, and coastal erosion, 2) sensitivity to hazards including land use, population density, and dependency ratio, 3) coping capacity including education level, income, and accessibility to health. In addition, this research implemented the Analytic Hierarchy Process (AHP) to obtain weights of the factors for the vulnerability evaluation. Geographic Information System (GIS) is also applied to analyze the related geographic data as well as to produce the resultant vulnerability indices of 2016, 2026 and 2046 scenarios. The results show that, in the normal scenario, there is no flood in 2016. While, in 2026 and 2046 scenarios, the most vulnerable sub-districts are Pak Nam, Klong Daan, and Bangpoo Mai respectively. However, in storm tide scenario, the most vulnerable sub-districts in 2016 are Klong Daan, Bang Priang and Pak Nam respectively. While, in 2026, the most vulnerable sub-districts are Klong Daan, Pak Nam, and Bangpoo Mai respectively. And then, in 2046, the most vulnerable sub-districts are Pak Nam, Klong Daan and Bangpoo Mai respectively. In addition, the results reveal that Pak Nam has become more vulnerable area because it has more sensitivity and less coping capacity than the others.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.729
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การประเมินความเปราะบางของชุมชนชายฝั่งทะเลจากน้ำท่วมชายฝั่ง กรณีศึกษา ชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรปราการ
dc.title.alternative VULNERABILITY ASSESSMENT OF COASTAL COMMUNITIES TO COASTAL FLOOD: A CASE STUDY OF COASTAL AREA IN SAMUT PRAKAN PROVINCE
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Pannee.Ch@Chula.ac.th,panneew@hotmail.com,Pannee.Ch@Chula.ac.th
dc.email.advisor ekkamol.v@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.729


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record