DSpace Repository

การรับรู้ข้อมูลความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมจากกราฟที่ผิดเพี้ยนและความตั้งใจของนักลงทุน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุทัย ตันละมัย
dc.contributor.author จิตต์ศมะ คุรุศักดาพงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:39:10Z
dc.date.available 2017-10-30T04:39:10Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55547
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract ปัจจุบันนักลงทุนให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมเพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อความยั่งยืนขององค์กร แต่การรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะตัวแทนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบจินตทัศน์ เช่น กราฟแท่ง หรือกราฟรูปภาพ อันได้รับความนิยมในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ใช้รายงานและผู้ลงทุนเกิดความเสี่ยง กล่าวคือกราฟอาจถูกบิดเบือนในการแสดงผลประกอบการขององค์กรที่ดีกว่าความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของผู้บริโภคข้อมูลแต่ละคนแตกต่างตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในอดีต วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งเน้นผลลัพธ์ทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟและความตั้งใจของนักลงทุน ส่วนที่สองศึกษาผลกระทบจากประเภทกราฟที่มีต่อการรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟ และส่วนสุดท้ายศึกษาผลกระทบจากข้อมูลแนวโน้มที่มีต่อการรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่อ่านกราฟแท่งได้ถูกต้องมากจะรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟแท่งได้มากเช่นกัน ในทางตรงข้าม แม้จะมีความสามารถในการอ่านกราฟรูปภาพมาก กลับรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟรูปภาพน้อย นอกจากนี้ การรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟยังขึ้นอยู่กับแนวโน้มข้อมูล ทั้งนี้ หากสามารถรับรู้ความผิดเพี้ยนของกราฟได้มากจะส่งผลให้ความตั้งใจของนักลงทุนต่อองค์กรมาก ทั้งด้านความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการ ความตั้งใจเป็นพนักงาน และความตั้งใจลงทุน อย่างไรก็ตามความตั้งใจของผู้ลงทุนดังกล่าวกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากทัศนติด้านความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคม
dc.description.abstractalternative Nowadays, investors see the importance of corporate social responsibility because it is crucial to the sustainability of an organization. However, there is no standard format for a corporate social responsibility report; especially the visual representation of data such as bar graphs or pictograph, which have recently, became popular in recent years. This puts report users and investors at risk. Graphs can be distorted to show organizational performance better than in reality. Nevertheless, the risk ascertains by individual data consumers may vary depending on their knowledge and past experiences. The purpose of this thesis is threefold. First is to analyse the relationship between perception of distorted graphs and the investor’s intention. Second is to study the effect of different types of graphs on graph distortion perception. The last part is to study the effect of data trend on graph distortion perception. Results show that individuals who can read bar graphs more correctly can also better detect the distortion in those bar graphs. In contrast, even though the individuals who have high ability to read pictograph, they do poorly in seeing the distortion in pictograph. In addition, graph distortion perception depends on the trend of data. More importantly, graph distortion perception do affect investor’s intentions in terms of intention to buy products or services, intention on employment, and intention to invest in the company. However, attitudes toward corporate social responsibility of an individual have no bearing on all three types of investor’s intentions.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.83
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การรับรู้ข้อมูลความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมจากกราฟที่ผิดเพี้ยนและความตั้งใจของนักลงทุน
dc.title.alternative PERCEPTION OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY INFORMATION THROUGH DISTORTED GRAPH AND INVESTORS’ INTENTION
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Uthai.T@Chula.ac.th,uthai@cbs.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.83


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record