DSpace Repository

การประเมินความสามารถการทำนายผลการทดลองเพื่อกำหนดขอบเขตความเสียหายของเชื้อเพลิงแบบรุนแรงด้วยโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD3.4

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบูรณ์ รัศมี
dc.contributor.advisor กัมปนาท ซิลวา
dc.contributor.author นพวรรณ รัตนเดโช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-10-30T04:40:17Z
dc.date.available 2017-10-30T04:40:17Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55579
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract ในอดีตมีเหตุการณ์อุบัติเหตุอย่างรุนแรงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายเหตุการณ์ เช่น อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์โรงที่สอง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุอย่างรุนแรงจะเกิดผลกระทบและความเสียหายตามมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่เคยเกิดแล้วในอดีตจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมและศึกษาถึงเหตุการณ์และสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง โดยที่งานวิจัยนี้ได้ทำการจำลองการทดลองการเกิดอุบัติเหตุของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายของเชื้อเพลิงอย่างรุนแรงแบบกำหนดขอบเขต (Severe Fuel Damage Scoping Test, SFD-ST) ทำขึ้นที่ Power Burst Facility (PBF) ใน Idaho National Engineering Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้โปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 ผลการทดลองของการทดลอง SFD-STถูกทำนาย โดยใช้โปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 และเปรียบเทียบผลการคำนวณที่ได้กับผลการทดลองและผลการคำนวณจากโปรแกรม SCDAP/RELAP5/MOD3.2 และ SCDAP/RELAP5/MOD3.3 ที่ได้จากงานวิจัยในอดีต โดยตัวแปรที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้แก่ ระดับน้ำในแกนปฏิกรณ์ อุณหภูมิของปลอกเชื้อเพลิง ปริมาณและการเกิดไฮโดรเจน การกระจายอุณหภูมิและระดับการเกิดความเสียหายของเชื้อเพลิงและปลอกเชื้อเพลิง จากผลการเปรียบเทียบโดยทั่วไปจากผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการทดลองและผลการคำนวณพบว่าโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD 3.4 สามารถทำนายผลการทดลองได้ดีกว่าโปรแกรม SCDAP/RELAP5/MOD3.2 และ SCDAP/RELAP5/MOD3.3 อย่างไรก็ตามผลการคำนวณที่ได้ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนจากผลการทดลองอยู่บ้างในบางตัวแปรและเงื่อนไข ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากความคลาดเคลื่อนของค่าที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตเงื่อนไขเริ่มต้น
dc.description.abstractalternative In the past, there were several severe accidents of nuclear power plants such as Tree-Mile Island power plant, Chernobyl power plant, and Fukushima Daiichi power plant. Each accident had caused severe accident with the large scale effect and damage. To prevent the severe accidents, it is necessary to prepare and study the events and causes of these severe accidents. The simulation on the Severe Fuel Damage Scoping Test (SFD-ST) at Power Burst Facility (PBF) in the Idaho National Engineering Laboratory, USA, using RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 code was performed in this study. The calculated results by RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 were compared to the experimental and the calculated results from SCDAP/RELAP5/MOD3.2 and SCDAP/RELAP5/MOD3.3 obtained from the previous studies. The compared results were the water level in the bundle, the cladding temperatures, the hydrogen production rate, the quantity, the temperature distribution and the damage level of the cladding and the fuel rod. From the comparison, it was generally found that RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 gave the better prediction compared with those from SCDAP/RELAP5/MOD3.2 and SCDAP/RELAP5/MOD3.3. There were some discrepancies between those from the calculated and experimental results, which were possibly due to some error of the input initial boundary conditions.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1006
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การประเมินความสามารถการทำนายผลการทดลองเพื่อกำหนดขอบเขตความเสียหายของเชื้อเพลิงแบบรุนแรงด้วยโปรแกรม RELAP/SCDAPSIM MOD3.4
dc.title.alternative Assessment of RELAP/SCDAPSIM MOD3.4 Prediction Capability with Severe Fuel Damage Scoping Test
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมนิวเคลียร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Somboon.Ra@chula.ac.th,somboon.ra@chula.ac.th
dc.email.advisor kampanarts@tint.or.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1006


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record