Abstract:
พื้นที่ศึกษาเชียงดาวตั้งอยู่ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย หินปูนในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นหินปูน โดยในพื้นที่เชียงดาวลักษณะของหินปูนที่โผล่ให้เห็นนั้น ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของภูเขา มวลหินขนาดใหญ่ และหลุมยุบ ซึ่งมีการสะสมตัวของปะการัง ฟอแรมินิเฟรา ฟิวซูลินิด และ ซากดึกดาบรรพ์อื่นๆ จากการศึกษาแผ่นหินบางสามารถจำแนกชนิดของหินปูนในพื้นที่ศึกษาได้เป็นหินปูนชนิดมัดสโตน แวกสโตน แพคสโตน เกรนสโตน รูปผลึก และโดโลไมต์ ซึ่งหินปูนในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นหินปูนชนิดเกรนสโตน ฟิวซูลินิดที่พบในพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่จะพบในหินปูนชนิด เกรนสโตน โดยฟิวซูลินิดที่พบในพื้นที่ศึกษาสามารถจาแนกชนิดพันธุ์ ได้เป็น Verbeekina, Cancellina, Misellina cf. termieri, Fusulinella pseudobocki, Pseudofusulina และ Staffella ซึ่งจากการศึกษาฟิวซูลินิดข้างต้นทำให้ทราบอายุของหินปูนโดยหินปูนที่พบฟิวซูลินิดชนิด Verbeekina สามารถบ่งชี้อายุ Murgabian-Midian ซึ่งอยู่ในช่วงยุคเพอร์เมียนตอนกลาง ฟิวซูลินิดชนิด Cancellina สามารถบ่งชี้อายุ Kubergandian ซึ่งอยู่ในช่วงยุคเพอร์เมียนตอนกลาง ฟิวซูลินิดชนิด Misellina cf. termieri สามารถบ่งชี้อายุ Bolorian ซึ่งอยู่ในช่วงยุคเพอร์เมียนตอนต้น และฟิวซูลินิดชนิด Fusulinella pseudobocki สามารถบ่งชี้อายุ Moscovian ซึ่งอยู่ในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอร์รัสตอนปลาย