dc.contributor.advisor |
สันติ ถิรพัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
อังคณา ธุวะเจริญพานิช, 2522 |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2006-06-28T04:12:22Z |
|
dc.date.available |
2006-06-28T04:12:22Z |
|
dc.date.issued |
2545 |
|
dc.identifier.isbn |
9741716125 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/559 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงทฤษฎีการจับจังหวะตลาดกับโครงสร้างเงินทุน วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็นศึกษาการจับจังหวะตลาดกับโครงสร้างเงินทุนตามแบบจำลองของ Baker and Wurgler (2002) ซึ่งกล่าวว่าการจับจังหวะตลาดในการจัดหาเงินทุนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัท ดังนั้นโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจึงถูกกำหนดโดยผลสะสมของการจับจังหวะตลาดในอดีต และวิธีที่ 2 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนหุ้นกับการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดยบริษัทที่ใช้ในการศึกษาเป็นหลักทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2540 โดยมีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 142 บริษัท ผลการศึกษาตามแบบจำลองของ Baker and Wurgker สามารถสรุปได้ว่าการจับจังหวะตลาดในการจัดหาเงินทุนไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัท ซึ่งส่งผลให้ผลสะสมของการจับจังหวะตลาดในอดีตไม่สามารถที่จะกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทได้ ถึงแม้ว่าจะตัดผลกระทบของปัจจัยอื่นที่ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผลสะสมของการจับจังหวะตลาดในอดีตไม่สามารถอธิบายโครงสร้างเงินทุนของบริษัทออกไป แต่ผลสะสมของการจับจังหวะตลาดในอดีตก็ยังไม่สามารถอธิบายถึงโครงสร้างเงินทุนที่เปลี่ยนแปลงหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ อย่างไรก็ตามพบว่าประเทศไทยมีการใช้จังหวะตลาดในช่วงสั้นๆ ในการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุน เพราะการศึกษาในส่วนที่ 2 พบความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนหุ้นที่เพิ่มขึ้นกับการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งทำให้การทดสอบของ Baker and Wurgler (2002) ที่ใช้มูลค่าตลาดของหุ้น ณ วันสิ้นปีเป็นตัวทดสอบไม่สามารถนำมาใช้กับการจับจังหวะตลาดในประเทศไทย |
en |
dc.description.abstractalternative |
The study investigates the market timing theory and capital structure in two separate steps. The first step is to test the Baker and Wurgler (2002) model, which says equity market timing make a changes in capital structure. Therefore capital structure is the cumulative outcome of past attempts to time the equity market. The second step is to test the relation between stock returns and announcements equity issue by using data from 142 companies listed on the Stock Exchange of Thailand with an IPO date between 1992 and 1996. The empirical results confirm the Baker and Wurgler model, implying that Thai companies do not use equity market timing for financing. There is no relation between market timing and changes in capital structure. As a consequence, the current capital structure is not related to the cumulative outcomes of past attempts to time the equity market. Although this study deletes the effect of capital structure before an IPO, there is no relation between changes in the capital structure after an IPO and the cumulative outcomes of past attempts to time the equity market. However, there is market timing during short periods in Thailand. The study in the second step shows a relation between increasing stock return and announcements equity issues. For testing of Baker and Wurgler (2002), use of the year-end market capitalization as proxy cannot imply market timing in Thailand. |
en |
dc.format.extent |
515966 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.79 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การวิเคราะห์การลงทุน |
en |
dc.subject |
เงินทุน |
en |
dc.title |
การจับจังหวะตลาดและโครงสร้างเงินทุน : การศึกษาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
en |
dc.title.alternative |
Market timing and capital structure: evidence from the stock exchange of Thailand |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การเงิน |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Sunti.T@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2002.79 |
|