dc.contributor.author | ทักษิณา สวนานนท์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | |
dc.date.accessioned | 2008-01-25T08:49:12Z | |
dc.date.available | 2008-01-25T08:49:12Z | |
dc.date.issued | 2530 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5602 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องการศึกษาความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรคอมพิวเตอร์ในระดับอุดมศึกษากับตลาดวิชาชีพนั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบดูว่าบัณฑิตหรือผลผลิตของหลักสูตรคอมพิวเตอร์ต่างๆ นั้นทำงานได้ผลสอดคล้องกับความต้องการของหัวหน้างานหรือไม่เพียงใด ขอบเขตของการวิจัย คือ การศึกษาหลักสูตรทั้งหมด 5 หลักสูตรประกอบด้วย 1. หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3. หลักสูตรการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ของภาควิชาสถิติ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. หลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 5. หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ หลักสูตรทั้ง 5 หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยและมีผลผลิตหรือบัณฑิตออกไปอยู่ในตลาดวิชาชีพแล้ว วิธีการเก็บข้อมูล ใช้แบบสอบถาม 4 ชุด และแบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์อีก 1 ชุด โดยศึกษาเปรียบเทียบกับหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนิสิตนักศึกษา (ปีที่ 4) ซึ่งจะจบหลักสูตรภายในเวลาไม่เกิน 30 วัน นับจากวันตอบแบบสอบถาม 174 คน บัณฑิตที่กำลังทำงานอยู่แล้ว 190 คน หัวหน้างาน 93 คน ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์มีทั้งหมด 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามทั้ง 4 ฉบับ และแบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์อีก 1 ฉบับนั้นใช้วิธีคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน คือ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กับหาค่าไคสแควร์ ซึ่งใช้ทดสอบความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างหลักสูตรกับความต้องการของตลาดวิชาชีพ ส่วนการทดสอบค่าสหสัมพันธ์ของทุกหลักสูตรระหว่างกลุ่มผู้ผลิต นิสิตนักศึกษา และกลุ่มผู้ใช้ นั้นใช้สูตรการคำนวณของแมน-วิทนี ผลของการศึกษา 1. วิชาการด้านคอมพิวเตอร์เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแต่ละรุ่น มีประสบการณ์ในระหว่างการเรียนแตกต่างกันมาก 2. ตลาดวิชาชีพในปัจจุบันต้องการนักวิเคราะห์ระบบมากที่สุดและนักทำโปรแกรมเป็นอันดับรองลงมา อาชีพวิศวกรคอมพิวเตอร์ยังไม่เป็นที่สนใจของตลาดเท่าที่ควร 3. เมื่อเปรียบเทียบหลักสูตรทั้ง 5 หลักสูตรกับความต้องการของตลาดวิชาชีพแล้ว ปรากฏผลว่า 3.1 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการในตลาดวิชาชีพ แต่ผลผลิตของหลักสูตรนี้ มีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบด้วย เพราะการสอนมิได้เน้นตามชื่อของหลักสูตร นับได้ว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไป ประสบผลสำเร็จในการงานพอสมควร คือ เป็นได้ทั้งวิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบและนักวิเคราะห์ระบบ 3.2 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ไม่สอดคล้องกับตลาดวิชาชีพเช่นเดียวกับหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้มุ่งผลิตให้บัณฑิตเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทั้งอาจารย์และนิสิตจึงมีความประสงค์ตรงกัน ที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 3.3 หลักสูตรการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ของภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มีบัณฑิตทำงานอยู่ในหน่วยงานต่างๆ มากที่สุด วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเขียนไว้กว้างมาก จนแม้แต่อาจารย์ก็ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีจุดมุ่งหมายจะผลิตบัณฑิตในทางใด อย่างไรก็ตาม มีบัณฑิตสาขานี้จำนวนมากทำงานอยู่ตามธนาคารต่างๆ เพราะมีความสามารถในการทำโปรแกรมได้หลายภาษา ทั้งๆ ที่มิได้มีพื้นฐานทางด้านการเงิน การธนาคาร หรือแม้แต่ธุรกิจเท่าใดนัก 4. หลักสูตรวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ของภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดวิชาชีพมาก การเรียนการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือมุ่งเน้นบัณฑิตให้เป็นนักวิเคราะห์ระบบและนักทำโปรแกรม 5. หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจเน้นการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์และวิชาทางธุรกิจ นักศึกษาและบัณฑิตต้องการเป็นนักวิเคราะห์ระบบ และทำโปรแกรม จึงนับว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดวิชาชีพมาก ความเห็นของอาจารย์ก็สอดคล้องกับความต้องการของตลาดวิชาชีพเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการมุ่งผลิตนักวิเคราะห์ระบบ แต่ไม่เน้นในเรื่องการทำโปรแกรม วิชาพื้นฐานทางธุรกิจ มีมากพอที่จะทำให้บัณฑิตที่จบหลักสูตรนี้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | This study attempts to find out whether there is a relevancy of college-level computer curricula to the market needs. The scope of the study is limited to five curricula namely, 1. Computer Engineering curriculum offered by Faculty of Engineering, Chulalongkorn University; 2. Computer Engineering curriculum offered by King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang 3. Electronic Data Processing Curriculum offered by Department of Statistics, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University 4. Computer Science Curriculum offered by Department of Mathamatics, Faculty of Science, Chiengmai University and 5. Business Computer curriculum offered by Assumption Business Administration College. All five curricula received approval from the Ministry of University Affairs and have produced graduates into the work force. Data were collected from four types of questionnaires sent out to 174 fourth year students who were graduating within 30 days from the day of the questionnaires were issued, 190 graduates who were currently in the work force, and 93 employers. Interviews were also conducted with 8 experts in the field. Major findings include : 1. As computer technology advances extremely fast, graduates in different years therefore were exposed to different learning experiences. 2. At present, system analysts are mostly needed in the computer professional market, followed by programmers. Not as many computer engineers are demanded as it should be. 3. In connection with the study of relevancy of five computer curricula to the market needs, the research found that : 3.1 There is not a complete relevancy of the Computer Engineering curriculum offered by the Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, to the market needs. However, graduates in this program are able to conduct system analysis since the actual teaching and learning do not correspond only to the name of the curriculum. Therefore, graduates from this curriculum were found to be quite successful in their career, that is, they could all be oneof these three, i.e. computer engineers, system engineers or system analysts. 3.2 The Computer Engineering curriculum offered by Faculty of Engineering, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang is not relevant to the market needs because the objective of this curriculum, not like that of Chulalongkorn University, is to produce computer engineers. Therefore, both faculty members and students expressed a wish to change the curriculum so that it would be more relevant to the market needs. 3.3 The Electronic Data Processing curriculum offered by Department of Statistics, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University, has so far produced more graduates than other programs. The objective of the curriculum is so broadly stated that even some faculty members have difficulties in pinpointing what the curriculum aims at producing. Nevertheless, many of the graduates from this program are currently working in the banking industry though most of them lack financial, banking or even business background. However, they more or less master in programming which also meets the demand of the market. 3.4 The computer science curriculum offered by the Department of Mathematics, Faculty of Science, Chiengmai University, is highly relevant to the market needs. The teaching and learning correspond to the stated objectives, that is, to produce system analysts and programmers. 3.5 The Computer Business curriculum offered by the Assumption Business Administration College whereby as many business administration subjects are required as computer courses, are also highly relevant to the market needs. The opinions that students and graduates have of the objectives of the curriculum correspond to the needs of the market for system analysts and programmers. Although faculty's opinions on the objectives of the curriculum to produce system analysts also correspond with the market needs, most faculty neglect the importance of producing programmers which the market also needs. However, the many business administration foundation courses required of all students in this program make graduates meet the demand of the market even more | en |
dc.description.sponsorship | ทุนส่งเสริมการวิจัยวิศวกรรมศาสตร์ | en |
dc.format.extent | 21033944 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) | en |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ -- หลักสูตร | en |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | en |
dc.title | การศึกษาความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรคอมพิวเตอร์ระดับอุดมศึกษา กับตลาดวิชาชีพ | en |
dc.title.alternative | A study of relevancy of college-level computer curricula to the market needs | en |
dc.title.alternative | ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรคอมพิวเตอร์ระดับอุดมศึกษากับตลาดวิชาชีพ | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล |