Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างกันระหว่างบุคลิกภาพของสุนัขที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบันกับบุคลิกภาพของสุนัขในอุดมคติเพื่อทำนายสุขภาวะของผู้เลี้ยง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่เลี้ยงสุนัข อายุ 16-58 ปี ทั้งเพศหญิงและเพศชาย จำนวน 209 คน โดยมีเงื่อนไขคือผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องเลี้ยงสุนัขอย่างน้อยระยะเวลา 6 เดือน และปัจจุบันยังคงเลี้ยงอยู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ Extravertion(⍺ = .720) และ Neuroticism (⍺ = .643),) มาตรวัดบุคลิกภาพของสุนัขด้าน realistic Fearfulness (⍺ = .742) กับ ideal Fearfulness (⍺ = .813), ด้าน realistic Aggression towards People (⍺ = .740) กับ ideal Aggression towards People (⍺ = .705), ด้าน realistic Activity-Excitability (⍺ = .661) กับ ideal Activity-Excitability (⍺ = .565), ด้าน realistic Responsive to Training (⍺ = .620) กับ ideal Responsive to Training (⍺ = .608), ด้าน realistic Aggression towards Animal (⍺ = .663) กับ ideal Aggression towards Animal (⍺ = .652) และมาตรวัดสุขภาวะ (⍺ = .730) ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างกันระหว่างบุคลิกภาพของสุนัขที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบันกับบุคลิกภาพของสุนัขในอุดมคติสามารถทำนายสุขภาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .074, p < .01) โดยค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (standardized regression coefficient) ของความแตกต่างด้านการตอบสนองต่อการฝึกเท่ากับ -0.10 (β = -.261, p < .01) ผลการวิจัยแสดงว่าความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพของสุนัขที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบันกับบุคลิกภาพของสุนัขในอุดมคติสามารถร่วมกันทำนายสุขภาวะของผู้เลี้ยงได้ โดยมีด้านความแตกต่างด้านการตอบสนองต่อการฝึกที่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญ
Description:
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2015