DSpace Repository

การประเมินสุขภาวะของสัตว์เลื้อยคลานในระบบนิเวศทะเล : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author จิรารัช กิตนะ
dc.contributor.author นพดล กิตนะ
dc.contributor.author ผุสตี ปริยานนท์
dc.contributor.author วิเชฏฐ์ คนซื่อ
dc.contributor.author ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
dc.contributor.author ธงชัย ฐิติภูรี
dc.contributor.author รชตะ มณีอินทร์
dc.contributor.author ศราวุธ โกมุทธพงษ์
dc.contributor.author วินัย กล่อมอินทร์, พล.ร.ต.
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-11-28T08:51:29Z
dc.date.available 2017-11-28T08:51:29Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56497
dc.description.abstract เกาะหูยง (เกาะหนึ่ง) ของหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่วางไข่ที่สำคัญของเต่าทะเลในฝั่งทะเลอันดามัน โดยพบเต่าตนุใช้พื้นที่หาดทรายของเกาะสำหรับวางไข่เป็นจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นในฝั่งทะเลอันดามัน จนได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการของโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งทะเลอันดามันของกองทัพเรือ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จากการสำรวจภาคสนามในช่วงปี พ.ศ. 2553-2554 ที่เกาะหูยง คณะผู้วิจัยได้พบการขึ้นวางไข่ของเต่าตนุจำนวน 28 รัง โดยมีจำนวนไข่ต่อหลุม (clutch size) เฉลี่ย 105±23 ฟอง เมื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมในช่วง 8 สัปดาห์ ในช่วงฤดูการวางไข่ พบว่าอุณหภูมิอากาศบริเวณหาดทรายที่พบการทำรังวางไข่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 23.6 ถึง 35.4 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีในหลุมทรายที่เต่าทำรังจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่วงแคบ โดยมีความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดเพียง 1.4 ถึง 2.2 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อเจาะเลือดเต่าเพศเมียจากตำแหน่ง external jugular vein (dorsal cervical sinus) ปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร นำมาตรวจสอบค่าทางโลหิตวิทยา ได้แก่ ชนิดและจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว และจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เพื่อตรวจสอบสุขภาวะโดยรวมของเต่าในธรรมชาติ พบว่าเต่าตนุที่ขึ้นวางไข่มีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงเฉลี่ย 406,667±51,377 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร และเซลล์เม็ดเลือดขาวเฉลี่ย 19,847±9,328 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปรกติ (reference interval) ที่รายงานในเต่าตนุที่พบในธรรมชาติและในที่เลี้ยง และมีการกระจายของค่าร้อยละของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดย่อยเป็นแบบปรกติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสุขภาพและความสมบูรณ์ของเต่าตนุที่ขึ้นวางไข่ที่เกาะหูยง ข้อมูลด้านนิเวศสรีรวิทยาเหล่านี้สามารถนำมาใช้บ่งบอกการดำรงชีวิตของสัตว์ในธรรมชาติ และเมื่อเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์ต่อการติดตามตรวจสอบสุขภาวะในระยะยาว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเกาะหูยงให้เป็นสถานที่ศึกาและอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลอย่างยั่งยืนต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Huyong Island of the Similan Islands in Phang-Nga province is an important nesting site for sea turtle in the Andaman Sea. Compared to other islands in the Andaman Sea, the highest number of green sea turtle (Chelonia mydas) eggs was found on this island. As a result, this island has been selected to be used as an implemented area for the Andaman Sea Turtle Conservation project of the Royal Thai Navy since 1995. In this research, a record of 2010-2011 field surveys showed that 28 green sea turtle nests with the average clutch size of 105±23 eggs were found on this island. Temperature loggers were used to monitor changes in air and nest temperature at the nesting beach during nesting season. Although air temperature was found to fluctuate from 23.6°C to 35.4°C, temperature in the nest was relatively stable with the difference in highest to lowest temperature of only 1.4 to 2.2°C. In order to monitor health status of the nesting female turtles, blood sample (0.5 mL) was taken from external jugular vein (dorsal cervical sinus) of the turtle and subjected to hematological evaluation. Blood parameters examined included blood cell count and blood cell morphology. It was found that an average erythrocyte (red blood cell) count of these nesting female turtle was 406,667±51,377 cell/mm³ and an average leucocyte (white blood cell) count was 19,847±9,328 cell/mm³. These values are within a reported reference interval of natural and captive populations of green sea turtle. Examination of differential leucocyte count showed the normal distribution of these values. These indicated a normal health status of nesting turtles at Huyong Island. Ecophysiological data of this kind is an important indicative for sea turtle well being in nature, and when gather systematically and continuously, could provide a means for long term health status monitoring program and contribute to an effort to establish Huyong Island as a sea turtle research and conservation base in the future. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สัตว์เลื้อยคลานทะเล -- สุขภาพ -- การประเมิน en_US
dc.subject นิเวศวิทยาทะเล en_US
dc.subject Marine reptiles -- Health -- Evaluation en_US
dc.subject Marine ecology en_US
dc.title การประเมินสุขภาวะของสัตว์เลื้อยคลานในระบบนิเวศทะเล : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Evaluation of health status of reptiles in marine ecosystem en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record