DSpace Repository

แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรพล วิรุฬห์รักษ์
dc.contributor.author ไพโรจน์ ทองคำสุก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2017-12-21T02:44:07Z
dc.date.available 2017-12-21T02:44:07Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.isbn 9746320254
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56606
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์จากกระบวนท่าเต้นและลีลาท่าทางของโขนลิง การวิจัยพบว่า แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง มีที่มาจากแนวคิดเชิงธรรมชาติวิทยาของลิงอันได้แก่ลิงแสม ซึ่งโบราณาจารย์ได้นำมาเป็นต้นแบบ ถือเป็นต้นกำเนิดที่มีการผสมผสานกับแนวคิดต่างๆ ดังนี้ แนวคิดเชิงศาสนาฮินดูกล่าวถึงลักษณะที่สง่างามของความเทพ แนวคิดเชิงทฤษฎีการเลียนแบบเรขศิลป์กระบวนท่าหลักของโขนลิงแสดงลักษณะเรขศิลป์ชัดเจนมาก แนวคิดเชิงทฤษฎีการเคลื่อนไหวกระบวนรำของโขนลิงวิเคราะห์ในเชิงนาฏยประดิษฐ์ได้อย่างชัดเจน แนวคิดเชิงทฤษฎีการสร้างสรรค์องค์ประกอบทางศิลปะในการแสดงโขนลิงสามารถสัมผัสได้ แนวคิดเชิงวิจิตรศิลป์ กระบวนท่าจับของโขนลิงกับโขนตัวอื่นปรากฏในภาพศิลปกรรม จิตรกรรมฝาผนัง และภาพหนังใหญ่ แนวคิดเชิงวรรณกรรมพระราชนิพนธ์บทรามเกียรติ์ของไทยเป็นเนื้อหาหลักของการแสดงโขน แนวคิดเชิงการรับราชการเป็นอุดมการณ์ของทหาร โขนลิงยึดหลักการรับใช้พระรามและพระลักษมณ์ และแนวคิดเชิงศิลปะการแสดงดั้งเดิมพบกระบวนรำของการละเล่นของหลวงในท่าพื้นฐานโขนลิง จากการบูรณาการแนวคิดข้างต้น โบราณาจารย์ได้พัฒนากระบวนการฝึกหัดที่เข้มงวดใช้เวลานานถึง 8 ปี การฝึกหัดนี้เริ่มต้นด้วยการเลือกเด็กชายวัยเยาว์ ผู้มีรูปร่าง และนิสัยเหมาะสม การฝึกหัดเริ่มจากการปรับร่างกาย การฝึกจังหวะ และท่าพื้นฐานซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการแสดงโขนลิงทั่วไป จากนั้นเป็นการฝึกหัดการรำเข้าเพลง การรำหน้าพาทย์ และการรำทำบท ซึ่งจะนำไปใช้สำหรับโขนตัวนาย เป็นการรำที่มีการออกแบบเฉพาะพาลี สุครีพ หนุมาน เป็นต้น ต่อไปจะเป็นการรำเป็นชุดเป็นตอน สำหรับรำกับพระ นาง และยักษ์ วิธีแสดงโขนลิงเป็นการสร้างรูปแบบ โดยนำมนุษย์ผู้ชายเป็นหลัก แล้วตกแต่งโครงสร้าง และการเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการเสริมให้ได้บุคลิกเด่นของลิงในจารีตการแสดงโขน การแสดงออกของโขนลิงเชิงนาฏยศิลป์ เป็นการรำทำบท ส่วนในเวลาพักไม่ได้ทำบทจะใช้ท่าเลียนแบบธรรมชาติของลิง นับว่าโบราณาจารย์ได้แสดงภูมิปัญญาให้ผู้ชมรับรู้ได้ทันทีว่าต้นตอความเป็นมาในการแสดงโขนลิงนั้นเป็นอย่างไร และใช้อย่างไรให้เหมาะสม en_US
dc.description.abstractalternative This dissertation is intended to study concepts and performance of the monkeys, the roles which are important in Khon masked play. Documentary research interviewing group discussions and analysis of monkeys' postures and movement are conducted. The research finds that there are nine integrated major concepts for designing the dance characteristics of the monkeys. First their basic movements derived from Ling Samae (macacairus). Second, their divine spirit and dignity came from Hindu monkey god. Third, their basic positions showed a strong geometrical patterns. Forth, monkey dance movements can be analysed in a similar way as that of charegraphic theories. Fifth, creative and artistic elements and compositions are conspicuous in monkey dance. Sixth, their group compositions are similar to those of the ancient shadow puppet designs and many traditional mural paintings. Seventh, Thai version of Ramayana is the main source of dance interpretation. Eight, military code of conducts served as the virtue of the monkeys who serve their lord, Rama and Lakshaman. Ninth, many dance movements of ancient court performances are seen in the monkeys basic dance patterns. From those integrated concepts, ancient dance artists had developed a training system which required about eight years of serious practice. It starts with recruiting a young boy with suitable body and habit. The training starts from body adjustment, basic steps and movements as the preparation for monkey dance in general. Then, he learns standard dance phrases, Na Pat or dance set pierces and dance vocabulary required by all monkey lords. Next is a set of dances designed for particular characters such as Hanuman, Pali and Sukreeb. Final Lessons are dance movements to be performed with his counterpart either monkey, male, female or demon roles. In principle, monkey dance in Khon masked play is designed by using Khon male dance as its core course and modified or added at certain points or parts to project monkey characteristics. Interestingly, dancers present two monkey dance styles. One is the monkey natural movements to create a sense of relaxation and laughter. And two is the khon monkey movements where dances are required. This shows the wisdom of ancient artists to give a hint to audience of where their design came from and how it should be presented property. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.956
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject Khon (Dance drama) en_US
dc.subject Music and dance -- Thailand en_US
dc.subject การรำ -- ไทย en_US
dc.subject โขน en_US
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.title แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง en_US
dc.title.alternative Facets and performing techniques of monkey characters in Khon en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Surapone.V@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.956


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record