dc.contributor.author |
ทิพวรรณ ตัณฑวนิช |
|
dc.contributor.author |
มาลินี จงเจริญใจ |
|
dc.contributor.author |
วีณา เคยพุดซา |
|
dc.contributor.author |
Tippawan Tantawanich |
|
dc.contributor.author |
Malinee Jongjareanjai |
|
dc.contributor.author |
Weena Koeypudsa |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2018-01-23T06:37:14Z |
|
dc.date.available |
2018-01-23T06:37:14Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56811 |
|
dc.description |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
en_US |
dc.description |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ |
en_US |
dc.description.abstract |
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบสมุนไพรไทยทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ข่า และใบฝรั่งโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Vibrio alginolyticus ที่ทำให้เกิดโรคปากบวมแดงในหอยหวาน (Minimal Inhibitory Concentration: MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (Minimal Bactericidal Concentration: MBC) พบว่าสารสกัดหยาบใบฝรั่งที่สกัดด้วยน้ำกลั่น โดยวิธีการต้มมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดแบคทีเรีย V.alginolyticus ได้สูงสุด (MIC = 2.73 mg/L และ MBC = 21.88 mg/L) รองลงมาคือ สารสกัดหยาบข่าที่สกัดด้วยเอธานอล 100% และสารสกัดหยาบข่าที่สกัดด้วยน้ำกลั่น (MIC = 2.73 – 10.94 mg/L และ MBC = 21.88 – 43.75 mg/L) ส่วนสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพในการกำจัดแบคทีเรียได้ต่ำสุด (MIC = 5.47 mg/L และ MBC = 87.50 mg/L) ขั้นตอนที่ 2 หาค่าความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรีย V. alginolyticus ที่ทำให้หอยหวานตายลง 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง (Median lethal Dose at 24 hr: LD₅₀ at 24 hr) ด้วยวิธีการฉีดเชื้อเข้ากล้ามเนื้อเท้าของหอยหวาน พบว่ามีค่า LD₅₀ at 24 hr เท่ากับ 1.426 x 10⁸ cfu/ml ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบหาความเป็นพิษของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรไทยทั้ง 3 ชนิดที่ทำให้หอยหวานตายครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์) ภายในเวลา 96 ชั่วโมง โดยวิธีการแช่ พบว่าหอยหวานที่เลี้ยงในสารสกัดหยาบสมุนไพรไทยทั้ง 3 ชนิดจะมีอาการกระวนกระวายและดิ้นไปดิ้นมาทันทีหลังจากแช่ในสารสกัด โดยพบว่าสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรมีความเป็นพิษระดับสูงที่สุด LD₅₀ at 96 hr = 385.25 มิลลิกรัม/ลิตร) รองลงมาคือ สารสกัดหยาบข่า LD₅₀ 96 hr = 809.39 มิลลิกรัม/ลิตร) และสารสกัดหยาบใบฝรั่งมีความเป็นพิษระดับต่ำที่สุด (LD₅₀ 96 hr = 3,017.11 มิลลิกรัม/ลิตร) และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบสมุนไพรไทยทั้ง 3 ชนิดในการรักษาโรควิบริโอซีสในหอยหวานด้วยวิธีการแช่ต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน พบว่าสารสกัดหยาบข่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อในหอยหวานได้ดีที่สุด โดยระดับความเข้มข้นของสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจร ข่าและใบฝรั่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาโรคสูงสุดคือ ระดับความเข้มข้น 18.75 และ 37.50 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ แต่อัตราการรอดชีวิตของหอยหวานที่แช่ในสารสกัดหยาบสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกับชุดควบคุมบวกที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียแต่ไม่ได้แช่สารสกัดสมุนไพร จากการศึกษานี้พบว่าสารสกัดหยาบใบฝรั่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย v. alginolyticus ได้สูงสุด จึงมีความเป็นไปได้ในการนำสารสกัดหยาบจากใบฝรั่งมาประยุกต์ใช้ในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Study on the efficiency of the crude extract from three Thai herbs (Andrographis; Andrographis paniculata, Galangal; Alpinia galangal, Guava leaves; Psidium guajava) against Spotted Babylon (Babylonia areolata Link 1807) pathogenic bacteria (Vibrio alginolyticus). The experiment was separated into four parts. The first part was to evaluate the Minimal Inhibitory Concentration (MIC) and Minimal Bactericidal Concentration (MBC). It found that guava extract by distilled water boiled had highest inhibit to V. Alginolyticus (MIC = 2.73 and MBC = 21.88 mg/L), follow by galangal extract by 100% ethanol and distilled water (MIC = 2.73 – 10.94 and MBC = 21.88 – 43.75 mg/L, respectively) On the other hand, andrographis extract by distilled water boiled had lowest inhibit to V. Alginolyticus (MIC = 5.47 and MBC = 87.50 mg/L). The second part was to determine the median lethal dose at 24 hr (50% kill dose at 24 hours) of Spotted Babylon. The LD₅₀ at 24 hr results of V. alginolyticus was 1.426 x10⁸ cfu/ml. The third part, the toxicity was determined by LC₅₀ 96 hr (50% kill concentration at 96 hours) by bath method. It was results that all Spotted Babylon in three crude extracts had been nervous and wriggle after bathed. The crude extract of andrographis showed the highest toxicity (LC₅₀ 96 hr = 385.25 mg/L), follow by galangal extract (LC₅₀ 96 hr = 809.39 mg/L) and guava leaves extract showed the lowest toxicity (LC₅₀ 96 hr = 3,017.11 mg/L). The fourth part was to evaluate the antimicrobial activity of crude extract by distilled water boiled from three Thai herbs. All Spotted Babylon bathed in six different concentrations of each crude extract and reared along 14 day. The results showed the effective concentrations of andrographis, galangal and guava leaves extracts were 18.75, 18.75 and 37.50 mg/L, respectively. However, Spotted Babylon bathed in three crude extracts were no significant difference (P>0.05) in survival rate in positive control group. These results indicate that the guava leaves extract had highly antimicrobial activity against V. alginolyticus, which is applicable as antibacterial agent used in aquaculture farm. |
en_US |
dc.description.budget |
กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. |
en_US |
dc.subject |
แบคทีเรียก่อโรค -- การควบคุม |
en_US |
dc.subject |
หอยหวาน -- โรค -- การควบคุม |
en_US |
dc.subject |
สารต้านแบคทีเรีย |
en_US |
dc.subject |
สมุนไพร -- ไทย -- การใช้รักษา |
en_US |
dc.subject |
Pathogenic bacteria -- Control |
en_US |
dc.subject |
Babylonia areolata Link 1807 -- Diseases -- Control |
en_US |
dc.subject |
Antibacterial agents |
en_US |
dc.subject |
Herbs -- Thailand -- Therapeutic use |
en_US |
dc.title |
ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรไทย ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Vibrio spp. ที่ก่อให้เกิดโรคในหอยหวาน (Babylonia areolata Link 1807) : รายงานวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Efficiency of the crude extract from Thai herbs against Spotted Babylon (Babylonia areolata Link 1807) pathogenic bacteria (Vibro spp.) |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |
dc.email.author |
tantawanich.t@chula.ac.th |
|