DSpace Repository

สำนึกทางการเมืองและสังคมอินเดียในนวนิยายของนยันตารา ซาห์คัล

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์
dc.contributor.author จารุรัตน์ เทศลำใย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-02-06T04:37:58Z
dc.date.available 2018-02-06T04:37:58Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56945
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract วิเคราะห์วรรณกรรมของนยันตารา ซาห์คัล 3 เรื่อง ได้แก่ This Time of Morning, Rich Like Us และ Mistaken Identity เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสำนึกทางการเมืองและสังคมในซาห์คัล ที่มีส่วนในการประพันธ์นวนิยาย ช่วงทศวรรษ์ที่ 1930 เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอินเดียมากที่สุดช่วงหนึ่ง นักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างรณรงค์ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เหตุการณ์ระหว่างนั้นกลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับนักเขียนชาวอินเดียร่วมสมัย นวนิยายจึงกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและสังคม อีกทั้งกระตุ้นเตือนประชาชนให้ร่วมเรียกร้องเอกราชด้วยกัน และนยันตารา ซาห์คัลก็เป็นนักเขียนชาวอินเดียคนหนึ่งในช่วงนั้น นยันตารา ซาห์คับเกิดในครอบครัวชนชั้นสูงของนักการเมือง ได้รับการศึกษา ทำงานในแวดวงการเมืองก่อนที่จะมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ อีกทั้งเป็นคนสนิทของนักการเมืองอินเดียที่สำคัญๆ ร่วมสมัย สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยก่อให้เกิดสำนึกทางการเมืองและสังคมทางการเมือง และเป็นแรงผลักดันให้นางเขียนนวนิยายโดยใช้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นภูมิหลัง จากการวิเคราะห์นวนิยายทั้ง 3 เล่ม ทำให้ผู้วิจัยพบว่าสำนึกทางการเมืองและสังคม ทำให้ผู้ประพันธ์บันทึกและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ทางการเมืองและสังคมร่วมสมัยในรูปแบบนวนิยาย ด้วยมุมมองของที่ต่างออกไปจากนักเขียนอินเดียคนอื่นในช่วงเดียวกัน เนื่องจากการเป็นคนในครอบครัวนักการเมืองและการเป็นนักหนังสือพิมพ์ ทำให้เธอสามารถเข้าถึงสภาพการณ์ทางการเมืองอย่างที่นักเขียนคนอื่นไม่อาจทำได้ สำนึกทางการเมืองและสังคมยังกระตุ้นให้ผู้ประพันธ์สะท้อนภาพสังคมอินเดียในมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องศาสนา วรรณะ และเพศสภาวะ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์การเมืองและสังคมทั้ง 3 เล่มของนยันตารา ซาห์คัล ทำให้เห็นว่าสำนึกทางการเมืองและสังคมทำให้ผู้ประพันธ์สนใจการเมืองและสังคมอินเดีย ในแง่มุมที่หลากหลายและลึกซึ้ง นับตั้งแต่ช่วงก่อนเอกราชจนถึงหลังเอกราชอย่างละเอียดละออ จนทำให้ผู้อ่านเห็นสภาพ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการเมืองและสังคมช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี en_US
dc.description.abstractalternative To analyze Nayantara Sahgal's 3 novels as followed: This Time of Morning, Mistaken Identity, and Rich Like Us on how political and social consciousness have influence on her writing. The 1930's was one of the most turbulence periods in Indian history. Political activists were fighting to liberate the nation from English colonizers. Many of events during that period became abundant sources for comtemporary writers. Novels were used as tools to express ideas about politics and society, as well as to stimulate the public to join in the liberation movement. Nayantara Sahgal, too, was one of the poets during that time. Nayantara Sahgal was born in an upper class family, which many members of the family participated in politics. Prior to her career as a journalist, Sahgal's field of study and work was related to politics, which allowed her to gain acquaintance with many powerful politicians of that time. From the study of the 3 novels written by Shagal, political and social consciousness played an important role in inspiring the novelist to record and to criticize major incidents during that time in a form of novels with different point of view from her counterparts. In addition, her family and work background advantaged her to understand the political situation at that time in a way that no other poets did. Also the political and social consciousness motivated Sahgal to put across her ideas about religion, cast and sexual inequality from various viewpoints. Moreover, the study of Nayantara Sahgal's novels also portrayed that her interest in political and social consciousness enthuse her to learn about Indian political and social events in depth from a diverse point of view both before and after the country was liberated from England. Her analysis thus resulted in a very illustrative picture of Indian political and social situations and problems during the 1930-1970's. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.165
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ซาห์คัล, นยันตารา, ค.ศ. 1927- en_US
dc.subject นวนิยายอินเดีย -- ประวัติและวิจารณ์ en_US
dc.subject อินเดีย -- การเมืองและการปกครอง en_US
dc.subject อินเดีย -- ภาวะสังคม en_US
dc.subject Sahgal, Nayantara, 1927- en_US
dc.subject Indic fiction -- History and criticism en_US
dc.subject India -- Politics and government en_US
dc.subject India -- Social conditions en_US
dc.title สำนึกทางการเมืองและสังคมอินเดียในนวนิยายของนยันตารา ซาห์คัล en_US
dc.title.alternative Indian political and social consciousness in Nayantara Sahgal's novels en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline วรรณคดีเปรียบเทียบ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Anongnart.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.165


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record