DSpace Repository

วาทกรรมความพิการในเรื่องเล่าสมัยใหม่ของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตรีศิลป์ บุญขจร
dc.contributor.author ถนอมนวล หิรัญเทพ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-02-16T04:22:49Z
dc.date.available 2018-02-16T04:22:49Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57066
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งสำรวจและวิเคราะห์วาทกรรมความพิการในเรื่องเล่าสมัยใหม่ของไทย ซึ่งประกอบด้วยนวนิยายที่เขียนโดยนักเขียนที่ไม่ใช่คนพิการ และเรื่องเล่าชีวิตที่เขียนโดยนักเขียนที่เป็นคนพิการ ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ถึง 2546 เพื่อให้เห็นกระบวนการสร้างความหมายของ "ความพิการ" ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละยุคสมัย และศึกษาวาทกรรมและปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความพิการ ซึ่งเป็นบริบทของการสร้างงานเขียนที่ศึกษา จากการศึกษาพบว่าความหมายของความพิการมีความเปลี่ยนแปลงไปตามปฏิสัมพันธ์ของวาทกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับความพิการในแต่ละยุคสมัย ในยุคจารีต ความพิการหมายถึงวิบากกรรมและวัตถุเพื่อการสงเคราะห์ จากวาทกรรมศาสนาพุทธ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกรรมเก่า การเวียนว่ายตายเกิด การทำบุญทำทาน และความเมตตากรุณา ในยุคเวทนานิยม-สังคมสงเคราะห์ ซึ่งแบ่งออกเป็นยุคการสร้างชาติไทยไปสู่อารยะ (2476-2500) ซึ่งมีวาทกรรมสำคัญ คือ วาทกรรมการแพทย์ วาทกรรมยูเจนิกส์ และวาทกรรมการสงเคราะห์ ซึ่งสร้างความหมายการเป็นความบกพร่องผิดปกติ และวัตถุเพื่อการสงเคราะห์ กับยุคการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (2500-2524) ซึ่งมีวาทกรรมสำคัญ คือ วาทกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งทำให้ความพิการหมายถึงภาระของสังคมที่ต้องการการฟื้นฟู วาทกรรมต่างๆ เหล่านี้และความหมายที่ถูกสร้างขึ้นทำงานเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี และในยุคการเติบโตของสิทธิมนุษยชนของคนพิการ (2524-ปัจจุบัน) มีวาทกรรมใหม่ที่สำคัญคือ วาทกรรมสิทธิมนุษยชนของคนพิการ โดยที่วาทกรรมศาสนาพุทธก็ยังคงปรากฏในยุคหลังยุคจารีตด้วย ภายใต้บริบทดังกล่าว เรื่องเล่าสมัยใหม่ของไทย เข้ามามีส่วนร่วมในปฏิสัมพันธ์ทางวาทกรรมข้างต้น ทั้งในแง่ของการผลิตซ้ำและเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของวาทกรรมต่างๆ นวนิยายไทยที่นำเสนอเรื่องความพิการแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ นวนิยายแนวเวทนานิยม-สังคมสงเคราะห์ (2476-ต้นทศวรรษที่ 2500) ซึ่งเน้นการกำจัดความพิการ นวนิยายยุคการฟื้นฟูสมรรถภาพ (ทศวรรษ 2520-2530) ซึ่งเน้นการฟื้นฟูคนพิการเข้าสู่ระบบทุนนิยม และนวนิยายยุคพหุวัฒนธรรม (ทศวรรษ 2540) ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงบางประการที่แสดงถึงการยอมรับความแตกต่างของคนพิการมากขึ้น ส่วนในเรื่องเล่าชีวิตที่ศึกษา ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี 2518 ถึง 2546 พบว่ามีการเขียนเรื่องอยู่ภายใต้กรอบใหญ่ของวาทกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยใช้โวหารการเอาชนะอุปสรรคและการทดแทนทางจิตวิญญาณแต่ก็มีการมองความพิการด้วยกระบวนทัศน์เชิงการสร้างทางสังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากนวนิยายที่ศึกษา โน้ต Typescript (photocopy) en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this dissertation is to survey and analyze disability discourses in modern Thai narratives, including both novels by non-disabled writers and life narratives by disabled writers published from 1933 to 2003, in order to explain the processes of the production of the meanings of "disability, "which have changed in accordance with social and cultural factors in each period. It thus also explores discourses and socio-cultural practices related to disability, which serve as the contexts of the works studied. The research shows that the meanings of disability have changed in relation to the interactions of discourses concerning disability in each period: in the traditional period, disability, according to the Buddhist discourses of bad kamma, reincarnation, charity and metta-karuna mainly connoted punishment for one's past bad kamma and an object of charity; in the charity period, which comprised the nationalist civilizing era (1933-1957) and the rehabilitation period (1957-1981), the medical, eugenics and charity discourses constructed disability as abnormality and object of charity in the first part of the period while the rehabilitation discourse constructed disability as social burden in need of rehabilitation in the second, both groups of discourses working in support of liberal capitalism; and in the rise of disability rights period (1981-the present), the emergent disability rights discourse has contributed to the construction of the meaning of disability, Through all these periods, the Buddhist discourses have persisted. In these contexts, modern Thai narratives have participated in the interactions of the disability discourses described above, either reiterating or changing them. The novels selected for this study can be divided into 3 groups: the novels of exclusion from the charity period (1933-the late 1950s), which feature the exclusion of disability; the novels of rehabilitation (the late 1970s to the late 1980s) emphasize the rehabilitation of disabled people for their return to the capitalist system; and hte novels of the multicultural period from the late 90s, which offer some changes toward a more inclusive approach in the representation of disability. In the life narratives studied, published from 1975 to 2003, the plots negotiate between the rehabilitation discourse framework, with the used of the narratives of overcoming and of spiritual compensation, and the social model of disability. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2075
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กวีนิพนธ์เล่าเรื่องไทย -- วิจารณ์ en_US
dc.subject วจนะวิเคราะห์, เรื่องเล่า -- วิจารณ์ en_US
dc.subject ความพิการ -- วิจารณ์ en_US
dc.subject คนพิการในวรรณกรรม -- วิจารณ์ en_US
dc.subject Discourse analysis, Narrative -- Reviews en_US
dc.subject Narrative poetry, Thai -- Reviews en_US
dc.subject Disabilities -- Reviews en_US
dc.subject People with disabilities in literature -- Reviews en_US
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.title วาทกรรมความพิการในเรื่องเล่าสมัยใหม่ของไทย en_US
dc.title.alternative Disability discourses in modern Thai narratives en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Trisilpa.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.2075


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record