dc.contributor.advisor |
สันติ ถิรพัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
ไวศิษฎ์ ภูรีวิโรจน์กุล, 2523- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2006-06-28T06:55:21Z |
|
dc.date.available |
2006-06-28T06:55:21Z |
|
dc.date.issued |
2545 |
|
dc.identifier.isbn |
9741716052 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/570 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ข้อมูลรายการซื้อขาย (Transaction Data) บนหลักทรัพย์ 96 หลักทรัพย์ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 เพื่อทดสอบว่า เกิดพฤติกรรมแห่ตามกันขึ้นหลังเกิดการซื้อขายปริมาณมากหรือไม่ และมีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อระดับของพฤติกรรมแห่ตามกัน รวมทั้งศึกษาถึงความเร็วในการปรับตัวของราคาหลังเกิดการซื้อขายปริมาณมาก ขนาดของผลกระทบต่อราคาแบบต่าง ๆ และพยายามหาสมมติฐานที่สามารถอธิบายผลกระทบต่อราคาดังกล่าวได้ดีที่สุด โดยผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 20 นาทีแรกหลังการซื้อขายปริมาณมากจะเกิดพฤติกรรมแห่ตามกันซึ่งมีระดับเฉลี่ยระหว่าง 9 ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ โดยระดับพฤติกรรมแห่ตามกันมีแนวโน้มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และระดับพฤติกรรมแห่ตามกันในทิศทางตรงข้ามกับการซื้อขายปริมาณมากจะมีค่าสูงกว่าระดับพฤติกรรมแห่ตามกันในทิศเดียวกับการซื้อขายปริมาณมาก โดยระดับพฤติกรรมแห่ตามกันจะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับมูลค่าของรายการซื้อขายปริมาณมาก (บาท) แต่กลับมีความสัมพันธ์ทางลบกับราคาหลักทรัพย์ และผลตอบแทนในช่วง 5 นาทีก่อนเกิดการซื้อขายปริมาณมาก นอกจากนี้พบว่า ในตลาดหลักทรัพย์ไทย มีแนวโน้มเกิดพฤติกรรมแห่ซื้อได้มากกว่าพฤติกรรมแห่ขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการขายหลักทรัพย์ปริมาณมาก การศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของราคาแสดงให้เห็นว่า ราคาหลักทรัพย์ใช้เวลาปรับตัวประมาณ 25 และ 20 นาทีหลังเกิดการซื้อและขายปริมาณมากตามลำดับ แต่กลุ่มตัวอย่างที่เกิดพฤติกรรมแห่ตามกันในระดับสูงจะใช้เวลาในการปรับตัวน้อยกว่า โดยการปรับตัวในช่วง 5 นาทีแรกจะเป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับการซื้อขายปริมาณมาก นอกจากนี้พบว่า เกิดผลกระทบต่อราคาแบบถาวรมีขนาดใหญ่กว่าผลกระทบแบบชั่วคราว และผลกระทบต่อราคาแบบถาวรมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับขนาดของการซื้อขายปริมาณมาก ในขณะที่ผลกระทบต่อราคาแบบชั่วคราวมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับขนาดของการซื้อขายปริมาณมากบนหลักทรัพย์ที่เป็นวอร์แรนท์เท่านั้น จึงสรุปได้ว่าสมมติฐานเกี่ยวกับข้อมูล (Information Hypothesis) เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบต่อราคาดังกล่าว ส่วนสมมติฐานเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity Hypothesis) สามารถอธิบายได้เฉพาะกรณีที่หลักทรัพย์เป็นวอร์แรนท์เท่านั้น |
en |
dc.description.abstractalternative |
This thesis examines whether a herding behavior occurs after a block trade using transaction data of 96 securities in the Stock Exchange of Thailand from January 1996 to December 1998. The study also investigates the price impact of block trade and how the security price adjusts itself to equilibrium. The result shows that in the first 20 minutes after an occurrence of block trade, there is herding behavior that has an average level approximately 9 to 11 percent and tends to decrease as the time passes. It is also documented that the level of herding in the opposite direction with the blocks is higher than that in the same direction. Moreover, buy herding following the blocks has more chance to exist than sell herding especially after the block sells. There is a statistically significant positive relationship between the level of herding and the value of blocks (in Baht). However, when the relationships with stock price and past 5-minutes return are examined, significant negative relationships occur. After an investigation of price adjustment, the evidence shows that security price consumes 25 and 20 minutes adjusting itself to equilibrium after block buys and block sells respectively which the first 5-minutes adjustment has the same direction with the blocks. However, the samples with high level of herding usually adjust itself in less time. In addition, the permanent price effect is larger than the temporary price effect. Furthermore, there is a significant positive relationship between permanent price effect and the block size but a significant positive relationship between temporary price effect and the block size only occurs on warrants. The results overall tend to support the information hypothesis rather than the liquidity hypothesis in explaining the effect of block trade. |
en |
dc.format.extent |
644955 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.447 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ตลาดหลักทรัพย์ |
en |
dc.subject |
การลงทุน |
en |
dc.title |
การซื้อขายปริมาณมากพฤติกรรมแห่ตามกันและความเร็วในการปรับตัวของราคาหลังการซื้อขายปริมาณมากในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
en |
dc.title.alternative |
Block trades, herding behavior and speed of price adjustment in the stock exchange of Thailand |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การเงิน |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Sunti.T@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2002.447 |
|