DSpace Repository

การศึกษาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ตามแนวศึกษานิเวศวิทยาเชิงสังคม

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัฒนาวดี ชูโต
dc.contributor.author สมพล วันต๊ะเมล์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-02-18T13:22:27Z
dc.date.available 2018-02-18T13:22:27Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57100
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ตลอดจนเพื่อทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยจากทุกภาคส่วนของสังคมตามแนวศึกษานิเวศวิทยาเชิงสังคมทั้ง 5 ระดับได้แก่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัวและเพื่อน ระดับสถาบันการศึกษา ระดับชุมชน และระดับสังคม การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอายุ 18 – 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อยกับตัวแทนจากภาคส่วนทั้ง 5 ระดับของสังคม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 77.5 ไม่บริโภคร้อยละ 22.5 และในกลุ่มที่บริโภคพบว่า เป็นการบริโภคปีละ1-2 ครั้งหรือบริโภคเฉพาะเทศกาล มีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 34) อายุแรกดื่มเฉลี่ยเท่ากับ 16.12 ปี เหตุผลของการบริโภคครั้งแรกคืออยากทดลอง มีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 63.6) เหตุผลของการเลิกบริโภคคือ การพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดีจึงตัดสินใจเลิกเอง มีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 51.6) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่บริโภคบ่อยที่สุดคือเบียร์ (ร้อยละ 38.5) โอกาสที่บริโภคมากที่สุดคือในงานเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนฝูง (ร้อยละ 85.4) สถานที่ที่บริโภคมากที่สุดคือสถานบันเทิง (ร้อยละ 70.4) สถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำคือ ร้านค้าสะดวกซื้อ มีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 37.8) ค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อเดือนเฉลี่ยเท่ากับ 738.71 บาท ความสะดวกด้านเวลาในการหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณมหาวิทยาลัยเฉลี่ยเท่ากับ 14.54 นาที และบริเวณชุมชนที่พักอาศัยเฉลี่ยเท่ากับ 12.01 นาที ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือปัญหาด้านสุขภาพ (ร้อยละ 44.7) และเมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระอื่นๆให้คงที่แล้ว พบว่าตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีทั้งสิ้น 6 ตัวแปรเป็นลำดับได้แก่ เจตคติที่มีต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเพื่อนสนิท ระยะเวลาในการหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณมหาวิทยาลัย การพักอาศัย เพศ และอายุ โดยร่วมกันอธิบายการแปรผันของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 19.6 (R2=0.196) และเมื่อนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพมาพิจารณาร่วมด้วยแล้ว สามารถสรุปได้ว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมิได้เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยระดับต่างๆร่วมกัน ดังนั้นมาตรการเชิงพหุระดับน่าจะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน en_US
dc.description.abstractalternative This research investigates patterns of alcohol consumption, factors affecting alcohol consumption among university students, and opinions as well as suggestions for preventing alcohol consumption among university students from 5-level sectors through a social ecological approach, including the individual level, the interpersonal level, the institutional level, the community level, and the societal level. The research methodology was divided into two parts. Part I is a quantitative research by using a survey research. A multistage sampling technique was used to select 1,200 university students, aged 18 – 24 years old, in Bangkok. Data were collected by self-administered questionnaires. Percentage, mean, standard deviation, and regression analysis at the 0.05 level of statistical significance were used to analyze the data. Part II is a qualitative research by using in-depth interviews and focus group discussion with 5-level sectors. The results show that 77.5 percent of the samples are current drinkers, while 22.5 percent of the samples are abstainers. Among current drinkers, they drank 1-2 times a year or some festivals with the highest proportion (34%). The average age at first drink was 16.12 years old. The highest proportion of reasons for initiation was “I want to try” (63.6%). The highest proportion of reasons for stopping alcohol use was “I myself found that alcohol wasn’t good so I decided to quit” (51.6%). The most frequently consumed alcohol was beer (38.5%). The highest proportion of occasions to drink alcohol was “in party with friends” (85.4%). The highest proportion of places to drink alcohol was “in pub/bar/discotheque/nightclub” (70.4%). The highest proportion of places to buy alcohol was “convenience stores” (37.8%). The average expense of alcohol was THB 738.71 per month. The convenience of time spent on seeking to buy alcohol around university on average was 14.54 minutes. The convenience of time spent on seeking to buy alcohol around community on average was 12.01 minutes. The highest proportion of alcohol-related problems was “health problem” (44.7%). After multiple regression analysis was performed, it showed that there were only 6 variables affecting alcohol consumption significantly: attitude toward alcohol use, peer drinking, time spent on seeking to buy alcohol around university, living arrangement, gender, and age, respectively. They can co-predict alcohol consumption among university students at 19.6 % (R2=0.196). Based on both a qualitative study and a quantitative study, it can be concluded that alcohol consumption was not only affected by the individual-level factor but it was also affected by multi-level environmental factors. As a result, multi-level preventions are necessary and should be urgently considered to prevent alcohol use among Thai university students for a sustained success. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1044
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บริโภคศึกษา en_US
dc.subject นักศึกษา en_US
dc.subject การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ en_US
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค en_US
dc.subject นิเวศวิทยาสังคม en_US
dc.subject Consumer education en_US
dc.subject Students en_US
dc.subject Drinking of alcoholic beverages en_US
dc.subject Consumer behavior en_US
dc.subject Social ecology en_US
dc.title การศึกษาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ตามแนวศึกษานิเวศวิทยาเชิงสังคม en_US
dc.title.alternative Study of alcohol consumption among university students through a social ecological approach en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor pattanawadee.x@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1044


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record