DSpace Repository

นัยยะในการสอบสวนที่เกิดจากการใช้สิทธิของผู้ต้องหาในการต่อสู้คดีอาญา : ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุมนทิพย์ จิตสว่าง
dc.contributor.author ปกฉัตร ชัยสุกวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-02-22T01:42:50Z
dc.date.available 2018-02-22T01:42:50Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57201
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง "นัยยะในการสอบสวนที่เกิดจากการใช้สิทธิของผู้ต้องหาในการต่อสู้คดีอาญา: ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล" โดยระเบียบวิธีวิจัย ใช้แบบสอบถามเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 250 นาย ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามได้ใช้สถิติวิจัยในการหาค่าไคสแควร์เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ส่วนการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานสอบสวน จำนวน 10 นาย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิผู้ต้องหาเป็นอย่างดี ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยเกี่ยวกับ นัยยะในการสอบสวนที่เกิดจากการใช้สิทธิของผู้ต้องหา: ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล สามารถสรุปได้ว่า การใช้สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว ทำให้เกิดนัยยะในการสอบสวน ในขณะที่การใช้สิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การใดๆ การใช้สิทธิที่จะร้องขอให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้เมื่อผู้ต้องหาร้องขอ การสิทธิที่จะให้ทนายความหรือบุคคลที่ไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวน การใช้สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อญาติตามสมควร และการใช้สิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย ไม่ก่อให้เกิดนัยยะในการสอบสวนแต่อย่างใด en_US
dc.description.abstractalternative This research is aimed at studying the implications of criminal investigation regarding the accused's legal rights. In term of methodology, questionnaires and in-depth interview are used. The questionnaires are distributed to 250 police investigators in Bangkok Metropolitan Police bureau. In order to test the hypothesis, the Chi-square was applied in the data analysis given by the questionnaires whereas the descriptive analysis was applied for the in-depth interview of 10 subjects who extended knowledge in Miranda's Right. The finding of the research shows that the right to consult with a lawyer affects the implications of criminal investigation, in contrast the others have no affect at all. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.421
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วิธีพิจารณาความอาญา en_US
dc.subject การสืบสวนคดีอาญา en_US
dc.subject คดีและการสู้คดี en_US
dc.subject สิทธิผู้ต้องหา en_US
dc.subject Criminal investigation en_US
dc.subject Actions and defenses en_US
dc.subject Criminal procedure en_US
dc.title นัยยะในการสอบสวนที่เกิดจากการใช้สิทธิของผู้ต้องหาในการต่อสู้คดีอาญา : ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล en_US
dc.title.alternative Implications of criminal investigation regarding the accused's legal rights : a study on police investigators in Bangkok Metropolitan Police Bureau en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sumonthip.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.421


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record