DSpace Repository

การประมาณค่าอิทธิพลโดยตรงและอิทธอิพลทางพันธุ์กรรมของแม่สำหรับลักษณะผลผลิตในโคนมลูกผสม

Show simple item record

dc.contributor.advisor จันทร์จรัส เรียวเดชะ
dc.contributor.advisor วิสุทธิ์ หิมารัตน์
dc.contributor.author ชาตรี คติวรเวช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-02-04T06:30:22Z
dc.date.available 2008-02-04T06:30:22Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743472851
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5766
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract ศึกษาอิทธิพลทางพันธุกรรมของแม่และอิทธิพลของไซโตพลาสซึ่มจากบันทึกข้อมูลลักษณะปริมาณ เปอร์เซ็นต์ไขน้ำนม และ เปอร์เซ็นต์โปรตีนในน้ำนมในระยะการให้นมครั้งแรกของโคนมลูกผสม 3 พันธุ์ คือ พันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน พันธุ์บราวน์สวิส และ พันธุ์เจอร์ซี่ จำนวน 18 กลุ่มพันธุ์ ซึ่งบันทึกข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2529 ถึง ปี พ.ศ. 2543 รวมข้อมูลแม่โคนมที่ให้ผลผลิตจำนวน 596 ตัว มีกลุ่มของอิทธิพลทางไซโตพลาสซึ่มที่ย้อนพันธุ์ประวัติทางสายแม่กลับไปยังบรรพบุรุษเริ่มต้นเพศเมียจำนวน 131 กลุ่ม ทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่มของโมเดลเดียวกันในทุกลักษณะที่ศึกษาพบว่าค่าประมาณขององค์ประกอบความแปรปรวนและค่าพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ที่ได้จากการกำหนดค่าความแปรปรวนร่วมระหว่างอิทธิพลโดยตรงเนื่องจากตัวสัตว์และอิทธิพลทางพันธุกรรมของแม่มีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์ (โมเดล [2] และ [20] ; [4F] ; [4R] และ [40R]) และการกำหนดให้อิทธิพลของไซโตพลาสซึ่มเป็นปัจจัยคงที่จะมีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อกำหนดให้เป็นปัจจัยสุ่ม (โมเดล [3F] และ [3R] ; [4F] และ [4R] ; [40F] และ [40R]) การเปรียบเทียบระหว่างโมเดลเมื่อไม่ได้คำนึงถึงอิทธิพลทางพันธุกรรมของแม่ในลักษณะประมาณน้ำนมจะทำให้ค่าประมาณองค์ประกอบของความแปรปรวนและค่าพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ที่ได้มีค่าสูงขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างของค่าประมาณดังกล่าวในลักษณะเปอร์เซ็นต์ไขมันและโปรตีนในน้ำนม ค่าประมาณองค์ประกอบของความแปรปรวนและค่าพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ที่ได้ในลักษณะปริมาณน้ำนมและเปอร์เซ็นต์ไขมันนมมีค่าสูงขึ้นเมื่อไม่มีอิทธิพลของไซไตพลาสซึ่ม แต่ไม่มีความแตกต่างกันในลักษณะเปอร์เซ็นต์โปรตีน ข้อสรุปจากการศึกษาครั้งนี้คือ อิทธิพลทางพันธุกรรมของแม่มีความสำคัญต่อการประมาณค่าองค์ประกอบของความแปรปรวนและค่าพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ในลักษณะปริมาณน้ำนมเท่านั้น ส่วนอิทธิพลของไซโตพลาสซึ่มจะมีความสำคัญต่อลักษณะปริมาณน้ำนมและเปอร์เซ็นต์ไขมันนม ทั้งนี้การใช้โมเดลที่แตกต่างกันจะมีผลต่อการจัดลำดับค่าการผสมพันธุ์ในแม่พันธุ์มากกว่าในพ่อพันธุ์โคนม en
dc.description.abstractalternative Maternal genetic effects and cytoplasmic effects were studied from milk yield, fat and protein percentage records that were collected during 1986-2000 from a farm in Ratchaburi province. The first lactation records from eighteen crossbred groups comprised of Holstein Friesian, Brown Swiss and Jersey. Five hundred and ninety six cows were traced back to the founder females. There were one hundred and thirty one cytoplasmic lineages included in this study. Comparisons within submodels under each model, covariances between direct and maternal genetic effects did not differ from zero when declared the covariance were not equal to zero (Model [2] and [20] ; [4F] and [40F] ; [4R] and [40R]). Defining cytoplasmic effects as fixed were more appropriate than defining as random effect (Model [3F] and [3R] ; [4F] and [4R] ; [40F] and [40R]). Comparisons between models, when maternal genetic effects were ignored for milk yield, estimates of variance components and genetic parameters were inflated, but not in fat and protein percentages. When cytoplasmic effects were ignored, estimates of variance components and genetic parameters were overestimated, for milk yield and fat percentages but there was no difference in protein percentage. The results suggested that maternal genetic effects were important and should be included in the model for milk yield while cytoplasmic effects were important and should be included in the model for milk yield and fat percentage. The models affected the ranking of estimated breeding values in cows more than those in sires. en
dc.format.extent 933011 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject โคนม en
dc.subject พันธุศาสตร์ en
dc.subject การถ่ายทอดทางพันธุกรรม en
dc.title การประมาณค่าอิทธิพลโดยตรงและอิทธอิพลทางพันธุ์กรรมของแม่สำหรับลักษณะผลผลิตในโคนมลูกผสม en
dc.title.alternative Estimation of direct and maternal genetic effects for production traits in crossbred dairy cattle en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor rchancha@chula.ac.th, Chancharat.R@Chula.ac.th
dc.email.advisor wisooth@hotmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record