DSpace Repository

อุปสงค์ต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2520-2550

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิษเณศ เจษฎาฉัตร
dc.contributor.author ศศิมา แชประเสริฐ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-03-30T08:22:08Z
dc.date.available 2018-03-30T08:22:08Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57955
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาชาติในเวทีเศรษฐกิจโลก การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีส่วนสำคัญในการยกระดับทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษายังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของไทยทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว โดยพิจารณาว่าการศึกษามีลักษณะเป็นการบริโภค และมีลักษณะเป็นการลงทุนตามกรอบแนวคิดทฤษฎีทุนมนุษย์ โดยใช้แบบจำลอง Error Correction Model และข้อมูลอนุกรมเวลาในช่วงปี พ.ศ. 2520-2550 ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ตามประเภทของมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยจำกัดรับ มหาวิทยาลัยรัฐไม่จำกัดรับ และมหาวิทยาลัยเอกชน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อความต้องการศึกษาต่อทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว โดยพบว่า ค่าเล่าเรียนมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยจำกัดรับและมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฏีทุนมนุษย์ เนื่องมาจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสะ (Multicollinearity) บางตัว รายได้เฉลี่ยต่อประชากรมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐจำกัดรับและมหาวิทยาลัยเอกชน รายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความต้องการศึกษาต่อ ในมหาวิทยาลัยรัฐจำกัดรับ อัตราผลอบแทนจากการศึกษามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐจำกัดรับและมหาวิทยาลัยเอกชน ส่วนค่าเสียโอกาสมีความสัมพันธ์ในทางลบกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐจำกัดรับและมหาวิทยาลัยเอกชน แต่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ ไม่จำกัดรับอัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐไม่จำกัดรับและมหาวิทยาลัยเอกชน แต่มีความสัมพันธ์ในทางลบกับความต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐจำกัดรับ สำหรับกรณีของการมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีส่วนช่วยให้ผู้เรียนตัดสินใจศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทั้ง 3 ประเภทเพิ่มมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative Human resource is a crucial factor for economic growth and country competitiveness in the world market. Higher education increases the quality of human resource. Thus, Thai government has continuously expanded higher education. However, the higher educated labor force is still relatively small. The objectives of this study are to investigate the economic factors affecting demand for higher education in the short run and in the long run, based on the assumption that education is consumption, and also investment good according to human capital theory. The error correction model (ECM) and time-series data during 1977-2007 are used for estimating demand for higher education in public universities, open universities, and private universities. The findings indicate that economic factors affect demand for higher education in both short run and long run. Tuition and fees have a positive effect on demand for higher education in public universities and private universities. This is contradicted to human capital theory because of the multicollinearity problem. Income per capita is positively related to demand for higher education in public universities and private universities. Expected earnings have a positive effect on demand for higher education in public universities. Rate of return on education positively relates to demand for higher education in public universities and private universities. Opportunity cost negatively relates to demand for higher education in public universities and private universities, but positively relates to demand for higher education in open universities. Unemployment rate has a positive effect on demand for higher education in open universities and private universities, but has a negative effect on demand for higher education in public universities. Finally, the availability of student loan increases demand for higher education in public universities, open universities, and private universities. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1162
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อุปสงค์ en_US
dc.subject การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- อุปทานและอุปสงค์ en_US
dc.subject Demand (Economic theory) en_US
dc.subject Education, Higher -- Supply and demand en_US
dc.title อุปสงค์ต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2520-2550 en_US
dc.title.alternative Demand for higher education in Thailand : 1977-2007 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Phitsanes.J@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1162


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record