dc.contributor.advisor | พัดชา อุทิศวรรณกุล | |
dc.contributor.author | ธีร์ โคตรถา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:36:02Z | |
dc.date.available | 2018-04-11T01:36:02Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58295 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันตลาดการขายสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์สำเร็จรูปในประเทศไทยมีวิกฤตการณ์อัตราความหนาแน่นสูงเมื่อเทียบจากจำนวนพื้นที่การขายสินค้ากับจำนวนผู้ประกอบการที่เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ประกอบการจากตราสินค้าแฟชั่นที่เกิดขึ้นใหม่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างช่องทางการเปิดพื้นที่การขายใหม่ในตลาดมินิบาร์ และแนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ของตลาดมินิบาร์ในประเทศไทย ด้วยการศึกษาระบบต้นแบบการขายสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์จากตราสินค้า PIMKIE ประเทศฝรั่งเศส และแนวคิดอัตลักษณ์ไทยของแต่ละภูมิภาคในด้าน สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และหัตถกรรม จากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการศึกษา วิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ การขายสินค้าในกลุ่มโรงแรมบูติค การตลาดสินค้าแฟชั่น แนวโน้มแฟชั่น และ ตัวอย่างผลงานออกแบบสินค้าแฟชั่นจากตราสินค้าคู่แข่งในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจพื้นที่การขายโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และการจดบันทึก การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการโรงแรมบูติค ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสินค้าในโรงแรม ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการตลาดสินค้าแฟชั่น และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสินค้าแฟชั่น ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภคเพื่อตามหากลุ่มเป้าหมายและลักษณะความพึงพอใจของกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในงานวิจัย จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่สนใจการซื้อสินค้าแฟชั่นในตลาดมินิบาร์ คือกลุ่มสตรีวัยทำงานเพศหญิงอายุระหว่าง 36-42 ปี มีรสนิยมแบบเรียบโก้ มีความสนใจกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในระบบมินิบาร์ที่มีราคาระหว่าง 1000 – 5000 บาท ด้านอัตลักษณ์ของระบบการขายสินค้า มีลักษณะสำคัญคือการแบ่งกลุ่มสินค้าพื้นฐาน (Basic’s wear) และกลุ่มสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น (Signature’s wear) ตามโอกาสการใช้งานของสินค้าชนิดลำลองตามกลุ่มประเภทโรงแรมบูติคที่อยู่ในสถานที่ตั้งที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มโรงแรมบูติคที่จัดตั้งในเขตพื้นที่เมืองหลวงหรือกรุงเทพมหานครจะมีลักษณะของกลุ่มสินค้าชนิดสังสรรค์แบบลำลอง (Casual Party’s wear) กลุ่มโรงแรมบูติคในจังหวัดของหัวเมืองภูมิภาคจะมีลักษณะกลุ่มสินค้าชนิดทำงานแบบลำลอง (Casual Business’s wear) และกลุ่มโรงแรมบูติคใกล้แหล่งท่องเที่ยวจะมีลักษณะกลุ่มสินค้าแบบรีสอร์ท (Resort’s wear) ด้านการออกแบบกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในระบบมินิบาร์ มีลักษณะที่สำคัญคือรูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสินค้าเพื่อการเดินทางและรูปแบบที่สามารถนำไปผสมผสานให้เกิดรูปแบบการสวมใส่เฉพาะบุคคล โดยลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในองค์ประกอบของ โครงร่างเงา (Silhouettes) รายละเอียดจำเพาะ (Technic details) สี (Colors) และ วัสดุภัณฑ์ (Materials) ที่แตกต่างกันตามอัตลักษณ์พื้นถิ่นของภูมิภาคประเทศไทย และเพื่อให้ได้รูปแบบของกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ผู้วิจัยอาศัยเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ด้วยการตัดสินด้านรูปแบบภาพลักษณ์ของกลุ่มสินค้าอีกครั้งจากคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาเป็นคอลเล็คชั่นของกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์ประเทศไทยเป็นขั้นตอนสุดท้าย | |
dc.description.abstractalternative | Nowadays (2017), the market for fashion and lifestyle products in Thailand has become highly concentrated, due to the fact that the size of the marketplace is limited while the number of merchants is increasing. The objective of this research is to introduce a new sales channel and establish directions for designing fashion and lifestyle products for the Thai mini bar market. Studies and research were conducted to obtained primary and secondary data on the original “mini fashion bar” business model of PIMKIE a French fashion brand and on the Thai regional architecture, painting, and handicraft. Moreover, other factors such as sales of products in boutique hotels, fashion marketing, fashion trends, and sample products from Thai competitor brands, were studied and analyzed. Qualitative research was conducted on marketplace through the process of observation, recording, and in-depth interviews with boutique hotel owners, product management professionals, fashion industry experts, and proficient fashion designers. In addition, quantitative research was conducted through consumer interviews in order to identify a target group and their preference on fashion and lifestyle products. Findings suggest that the target group for the “mini fashion bar” is smart and elegant women aged 36-49. They are interested in mini fashion bar products whose prices range from 1,000-5,000 baht. An important characteristic of the “mini fashion bar” system is the classifications of basic wear and signature wear which are unique in different hotel locations. The type of attire sold in boutique hotels in Bangkok are Casual Party wear, in downtown areas Casual Business wear, and in touristic areas Resort wear. In terms of design, “mini fashion bar” products are designed in a way that makes them easily packable for traveling and adaptable to any personal style. The factors that attribute to the design are silhouettes, technical details, colors, and materials, which are unique in different regions in Thailand. In order to achieve fashion and lifestyle product prototypes that are most suitable for the target group, EDFR or Ethnographic Delphi Futures Research was performed by a committee of professionals on the development of the “mini fashion bar” product collections as a final step. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1466 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | ธุรกิจแฟชั่น | |
dc.subject | ชื่อตราผลิตภัณฑ์ | |
dc.subject | Fashion merchandising | |
dc.subject | Brand name products | |
dc.title | การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในตลาดมินิบาร์ประเทศไทย | |
dc.title.alternative | The creation of fashion and lifestyle branding for mini bar in Thailand market | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | upatcha@chula.ac.th,patcha.paris@gmail.com | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1466 |