DSpace Repository

ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุง คณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ขำคม พรประสิทธิ์
dc.contributor.author กวีทัศน์ อะโสต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-04-11T01:44:58Z
dc.date.available 2018-04-11T01:44:58Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58476
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงของคณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดระยอง ศึกษาประวัติและผลงานของนายหนังตะลุง คณะครูบุญส่ง ไกรเดช และวิเคราะห์ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุง คณะหนังตะลุงของครูบุญส่ง ไกรเดช พบว่าได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงหนังตะลุงแถบภาคใต้ เริ่มก่อตั้งคณะตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2525 ได้รับการสืบทอดจากครูหริ่ง ศิริคำ ผลงานที่โดดเด่น คือได้รับรางวัลเกียรติคุณเป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดระยอง ประจำปีพุทธศักราช 2555 จากการวิเคราะห์ทำนองการขับประกาศหน้าบท พบการสร้างสรรค์เครื่องดนตรีด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกาภิวัตน์ จึงทำให้เครื่องดนตรีบางชิ้นไม่ได้ถูกนำมาประสมวงด้วยคือ ปี่ หากแต่ว่าเพิ่มเครื่องดนตรีกำกับจังหวะคือ กลองบองโก้ เพื่อทำให้เกิดความชื่นชอบของผู้ชมในการว่าจ้าง มิได้ประสมขึ้นเพื่อทำลายแบบแผนโบราณแต่อย่างใด เครื่องดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงของคณะครูบุญส่ง ไกรเดช มีการประสมวงคล้ายกับวงปี่พาทย์ชาตรีที่ใช้แสดงประกอบการแสดงโนราห์และหนังตะลงุทางภาคใต้ ซึ่งมีวิวัฒนาการแพร่กระจายวัฒนธรรมเข้ามาสู่จังหวัดระยอง ได้แก่ หนังสด (โขนสด) และละครเท่งกรุ๊ก ที่ใช้วงดนตรีดังกล่าวประสมอยู่ด้วย เครื่องดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงประกอบไปด้วย กลองตุ๊ก 1 คู่ โทน 2 ใบ โหน่งเหน่ง 1 ราง ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ กรับ 1 คู่ และกลองบองโก้ 1 ชุด บทเพลงในขั้นตอนการโหมโรงปรากฏกระสวนจังหวะหน้าทับ 8 จังหวะ และพบกระสวนจังหวะ การบรรเลงหน้าทับประกอบอากัปกริยาของตัวหนังมีทั้งหมด 6 จังหวะได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวตลก รัว และเชิด นายหนังยังใช้การขับบทเพลงประเภทเพลงลูกทุ่ง เพลงแหล่และเพลงฉ่อย ทำนองการขับประกาศหน้าบทมีการผันเสียงร้องในกลุ่มคำที่ใช้สำเนียงภาษาถิ่นระยองสอดแทรกอยู่ โดยพบว่ากำหนดทำนองร้องให้ตรงกับเสียงซอล ลา ที โด เร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระดับเสียงทางใน การใช้ระดับเสียงนอกกลุ่มเสียงพบเป็นส่วนน้อย ลักษณะเด่นของคณะคือนายหนังประพันธ์บทประกาศหน้าบทขึ้นเอง และเป็นผู้ที่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษ ความชำนาญและความแข็งแรงของของเสียง รวมทั้งมีความสามารถพิเศษในการร้องและพากย์เสียงโดยไม่มีเครื่องดนตรีดำเนินทำนองแม้แต่ชิ้นเดียว ตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งจบการแสดง
dc.description.abstractalternative The study of the music for shadow puppet shows by master Boonsong Kraidech in Rayong province of Thailand. The purpose of the study was to find out the unique characteristics of the music for the shadow puppet show in Rayong province. In addition, the study aimed to study about the history of The shadow puppet show by master Boonsong Kraidech including the musical for the “Shadow Puppet Show of Master Boonsong Kraidech”. The study revealed that the music for the show was influenced by the music of shadow puppet show in the southern region of Thailand. The shadow puppet show by master Boonsong Kraidech was established in 1978 which was inherited by Master Ring Sirikum. The masterpiece performance of Master Ring Sirikum was awarded the honorable artist of Rayang in 2012. According to the study of the announcement songs of the show the researcher found that there were some modern musical instruments used in the song and made the music change in the time of globalization and changing of the world. Therefore, some music instruments were not played for instance Thai flute while bongo drum was added in order to control the dynamic of the song. The audience and the employers were appreciated to the more modern music. Applying modern music instrument was not aim to eradicate the traditional music. The music instrument for The shadow puppet shows by master Boonsong Kraidech were mixed with many instrument and similar to the music for the show called “No Rah” and southern shadow puppet show (Tha Lung). The heritage of this music was developed and influenced the music in Rayong Province in the show called “Khon Sod” and “La Khon Cha Tri”. The music instrument for the shadow puppet show in the south of Thailand consist of a pair of “Klong Thook” drum, a pair of “Tone” drum, a set of “Nong Neng”, a pair of “Ching”, “Charb”, “Krub” including a set of bongo drum. The music of the overture found that there were 8 differenkinds of the dynamics. Further, there was 6different actors. The six characters included (1) main character of the actor; (2) the main character of the actress; (3) Giant; (4) Comedian; (5) Excitement and (6) the movement of the actors. In addition, the director of the show used folk music, “Lhae”or“Choi” for the show. And Rayong’s dialect heard in the music. The melody of the announcement songs found that it was assigned to follow the sound of Sol, La, Ti, Do, and Re. Most parts of the song used scale of music “Tang Nai”. The unique characteristic of the show was the director of the show composed the music by himself which required the special skills, techniques, professionals and good quality of voice. Sometimes the director of the show was able to conduct the show by using only his voice without any music form the beginning to the end of the show.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.843
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject บุญส่ง ไกรเดช
dc.subject หนังตะลุง
dc.subject ดนตรีประกอบการแสดง
dc.subject Boongsong Kraidech
dc.subject Dramatic music
dc.title ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุง คณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง
dc.title.alternative Music performance for shadow puppet theater of master Boongsong Kraidech ensemble in Rayong province
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Kumkom.P@Chula.ac.th,pkumkom@yahoo.com,pkumkom@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.843


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record