DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0 : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-05-07T06:33:17Z
dc.date.available 2018-05-07T06:33:17Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58704
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์และขั้นตอนการวิจัยดังนี้ 1) วิเคราะห์สมรรถนะที่จำเป็นของครูในการศึกษายุค 4.0 โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน 2) วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการผลิตครูปัจจุบันในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์หลักสูตรการผลิตครูของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสังกัดของมหาวิทยาลัยรัฐ 2 แห่งและมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และสังเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ส่วน 3) วิเคราะห์การผลิตครูของประเทศที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ได้แก่ การผลิตครูในประเทศฟินแลนด์และสิงค์โปร์ 4) พัฒนา (ร่าง) รูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยการประมวลและบูรณาการข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนวิจัยที่1-3 และ 5) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) รูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูในการศึกษายุค 4.0 ประกอบด้วย 1) สมรรถนะแกนกลางของการศึกษายุค 4.0 10 ด้าน ได้แก่ การคิดแบบมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์การสร้างนวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการ การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต การใช้เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ การมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การมีภาวะผู้นำและการมีจิตสาธารณะและ 2) สมรรถนะวิชาชีพครู 6 ด้าน ได้แก่ ความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพครู การพัฒนาหลักสูตร ความรู้ลึกในเนื้อหาวิชาและวิธีวิทยาการสอน การประเมินผลและการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนและการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการผลิตครูปัจจุบันในประเทศไทยพบว่าการผลิตครูในประเทศไทยค่อนข้างมีจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็ง ในขณะที่ผลการวิเคราะห์การผลิตครูในประเทศฟินแลนด์และสิงค์โปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการผลิตครูพบว่ามีลักษณะเด่นคือมีความเป็นวิชาชีพนิยมสูง มีกลไกการดึงดูดผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีผลการเรียนดีและตั้งใจเป็นครู และมีวิธีการคัดเลือกที่เข้มข้นและมีหลายขั้นตอน หลักสูตรเน้นการวิจัย มีสาระครอบคลุมแก่นความรู้ของวิชาชีพครู การจัดประสบการณ์วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคปฏิบัติกับภาคทฤษฏี ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกครูที่เลี้ยงและการสอนงาน เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและผสมผสานการใช้เทคโนโลยี มีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0 ที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้และปรับแก้ไขตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ใช้ชื่อว่า รูปแบบการผลิตครูที่เสริมสร้างความเป็นมืออาชีพและศักยภาพด้านนวัตกรรม และมีชื่อย่อว่า PIE TE Model และชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Professional and Innovativeness Enhancement Teacher Education Model ที่มีองค์ประกอบหลัก 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. วิสัยทัศน์และหลักการผลิตครู 2. จุดมุ่งหมายการผลิตครูและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตครู 3. แนวทางการรับเข้าศึกษา 4. หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต 5. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 6. การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล 7. กิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษาครู และ 8. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ en_US
dc.description.abstractalternative This study is a descriptive research. The research objectives and procedures are as follows: 1) analyze essential competencies for teachers in education 4.0 era through documentary analysis and 7 expert interviews; 2) analyze strengths and weaknesses of current teacher preparation in Thailand. To answer these objectives, the researcher analyzes teacher education curriculum from 2 public universities and 2 Rajabhat universities; analyzing related documents and researches as well as interviewing 7 experts; 3) analyze successful teacher preparation at the international level. 4) develop a draft of teacher preparation model for education 4.0 era by integrating research findings from the research procedure 1-3; and 4) review of the appropriateness and possibility of the draft of the teacher preparation model for education 4.0 by 6 experts. Research findings showed that essential competencies for teachers in education 4.0 are composed of 1) ten core competencies for education 4.0 including critical thinking, creative problem solving, innovativeness, entrepreneurship, lifelong learning, digital competence, teamwork skill, cross-cultural competence, leadership, and public mind and 2) six professional teacher competencies including teacher characteristics and ethics, curriculum development, in-depth content and pedagogical knowledge, research and evaluation for learning development, learner development, and learning environment management. Strengths and weaknesses analysis of current teacher preparation in Thailand showed that there are more weaknesses than strengths. Meanwhile, findings from the analysis of teacher preparation in Finland and Singapore revealed the followings strengths: a high professionalism, mechanisms to attract students with high academic performance who determine to be teachers, selective admission processes, research-oriented curriculum, curriculum with strong core pedagogical knowledge, continual practicum, linking theory and practice, emphasis on teacher mentor selection and preparation, emphasis on active learning and technology integration, and learning environment appropriate for 21 century education. The model of teacher preparation for education 4.0 was titled, Professional and Innovativeness Enhancement Teacher Education Model or PIE TE Model. It was adjusted based on experts’ comments and approved as appropriate and possible for implementation. This model composed for 8 elements: 1. vision and principles for teacher preparation; 2. objectives for teacher preparation and desirable graduate teachers’ competencies; 3. admission approaches; 4. undergraduate curriculum; 5. practicum; 6. teaching and learning and evaluation; 7. student teacher activities, and 8. learning environment en_US
dc.description.sponsorship สนับสนุนการวิจัยโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2560 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การฝึกหัดครู en_US
dc.subject ครู -- อุปทานและอุปสงค์ en_US
dc.subject ครุศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน en_US
dc.subject สมรรถนะ en_US
dc.title การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0 : รายงานการวิจัย en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Apipa.Pr@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record