DSpace Repository

ผลกระทบของมาตรการการบังคับออมแบบไหม่ต่อสมาชิกและกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรเวศม์ สุวรรณระดา
dc.contributor.author อาภาพรรณ คำวชิรพิทักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-05-26T13:53:52Z
dc.date.available 2018-05-26T13:53:52Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58906
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบัญชีรุ่นของสมาชิกกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพและบัญชีรุ่นของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติซึ่งเป็นมาตรการการบังคับออมแบบใหม่ที่คาดว่ากระทรวงการคลังจะประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2551 โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงิน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนภายใน และอัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของประโยชน์ทดแทนและเงินสมทบตลอดชีพของสมาชิกกองทุนประกันสังคมแต่ละรุ่นอายุและชั้นรายได้ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาสถานะทางการเงินในระยะยาวของกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการจำลองข้อมูลค่าจ้างอนาคตของสมาชิกกองทุน โดยอาศัยข้อมูลค่าจ้างในอดีตและปัจจุบันของลูกจ้างเอกชนเป็นฐานในการประมาณการข้อมูลดังกล่าว ซึ่งนำมาจากผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรรายไตรมาส พ.ศ. 2542-2548 ในการวิเคราะห์ได้แบ่งกลุ่มสมาชิกกองทุน 4 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุ 22 ปี 32 ปี 42 ปี และ 52 ปี และแต่ละรุ่นแบ่งชั้นรายได้ออกเป็น 5 ชั้นรายได้ โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีฐาน จากผลการศึกษาพบว่าสมาชิกในกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพมีลักษณะความเหลื่อมล้ำในเรื่องประโยชน์ทดแทนและเงินสมทบระหว่างรุ่นที่เด่นชัด นอกจากนี้ยังมีกลไกการกระจายรายได้ใหม่ระหว่างสมาชิกในกองทุนที่มีรายได้มากไปยังสมาชิกในกองทุนที่มีรายได้น้อย และยิ่งอัตราส่วนลดเพิ่มสูงขึ้นความเหลื่อมล้ำระหว่างรุ่นก็จะยิ่งเด่นชัด ผลจากมาตรการการบังคับออมแบบใหม่ภายใต้กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบ Pay-as-you-go เหมือนกัน ก็จะประสบปัญหาคล้ายกันกับกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ แต่อย่างไรก็ตามระดับการออมหลังมีกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติก็เพียงพอที่จะบริโภคขั้นพื้นฐานและเพียงพอต่อการบริโภคตามอัตภาพได้ โดยสมาชิกกองทุนที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท ขึ้นไป จะมีระดับเงินออมรวมประมาณร้อยละ 30 ของรายได้ก่อนเกษียณ ในส่วนการศึกษาสถานะทางการเงินของกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพพบว่าหากเพิ่มอัตราเงินสมทบหรือเพิ่มอายุเกษียณของสมาชิกกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพแล้ว กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพจะยืดเวลาของการเกิดขึ้นของภาระหนี้ผูกพันของกองทุนออกไปอย่างน้อยจาก 42 ปี เป็น 48 ปี en_US
dc.description.abstractalternative The main objective of this study is to investigate quantitatively the economic effects of the introduction of National Pension Fund (NPF) scheme on the members of Social Security Fund (SSF)'s old ages benefits by using the Generational Accounting Approach. Internal rate of return and life time benefits-cost ratio of members are estimated by age cohorts and income classes. Another objective of this study is to analyzes the sustainability of SSF by considering the so-called closed group unfunded obligation as its index. The wage profiles of SSF's members are hypothetically simulated basing on present wage functions which are extimated by using private employees' wages data in 1999-2005 Labor Force Survey. Our results demonstrate that, social security fund (SSF) has intergenerational inequality feature. Furthermore. SSF has redistributive effect from members who have income more than 15000 baht per month to members who have income less than or equal 15,000 baht per month. The higher discount rate is, the more obvious intergenerational inequity featur. The similar results are attained after the introduction of NPF, which has been designed as partially-PAYG pension system. However, retired members of NPF will attain pension in total from NPF and SSF approximetely 30% of income level before retirement that is constant mean-test income or base income. Moreover, we found that, to increase contribution or retirement age will postpone the unfunded obligation more than 48 years. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.493
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กองทุนประกันสังคม en_US
dc.subject ประกันสังคม -- ไทย en_US
dc.subject การประหยัดและการออม -- ไทย en_US
dc.subject แผนสมทบเงินที่กำหนด en_US
dc.subject แผนผลประโยชน์ที่กำหนด en_US
dc.subject Social security fund en_US
dc.subject Social Security -- Thailand en_US
dc.subject Saving and investment -- Thailand en_US
dc.subject Defined contribution pension plans
dc.subject Defined benefit pension plans
dc.title ผลกระทบของมาตรการการบังคับออมแบบไหม่ต่อสมาชิกและกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ en_US
dc.title.alternative Economic analysis of new compulsory saving scheme on social security fund and members en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Worawet.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.493


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record