dc.contributor.advisor |
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ |
|
dc.contributor.author |
เจิด บรรดาศักดิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-05-27T08:24:40Z |
|
dc.date.available |
2018-05-27T08:24:40Z |
|
dc.date.issued |
2551 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58917 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องความแอบเสิร์ดในฐานะข้อตัดสินเชิงปรัชญา หัวข้อที่ศึกษามีดังต่อไปนี้: ความแอบเสิร์ดเป็นข้อตัดสินที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางปรัชญาเรื่องความหมายของชีวิต ประเด็นทางปรัชญาเกี่ยวกับความหมายของชีวิตคือการพิจารณาว่า ชีวิตมีความหมายหรือไม่?, อะไรทำให้ชีวิตมีค่าที่จะดำรงอยู่? ธอมัส เนเกลให้เหตุผลว่าชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่แอบเสิร์ด เพราะว่าจิตสำนึกของมนุษย์ให้ภาพความเข้าใจต่อชีวิตที่ไม่ลงรอยกัน ความไม่ลงรอยกันของภาพความเข้าใจต่อชีวิตที่เนเกลเสนอก็คือ ชีวิตของมนุษย์ดำเนินไปด้วยการแสวงหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ชีวิต แต่เมื่อมนุษย์ถอยออกมามองชีวิตตนเองที่จริงจังกับการแสวงหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ชีวิต ก็จะเห็นว่า สิ่งที่จริงจังด้วยอันนั้นมีความน่าสงสัย แม้ว่ามนุษย์จะสงสัยต่อสิ่งที่จริงจังในชีวิต แต่ชีวิตของมนุษย์ก็ไม่สามารถดำเนินไปโดยไม่มีความจริงจังต่ออะไรบางอย่าง ชีวิตมนุษย์จึงแอบเสิร์ดเนื่องจากยังคงมีความจริงจังเกิดขึ้นในชีวิต ทั้งที่เห็นแล้วว่าความจริงจังอันนั้นเป็นสิ่งที่น่าสงสัย ข้อเสนอของเนเกลมีผลต่อประเด็นทางปรัชญาเรื่องความหมายของชีวิต ถ้าหากว่าสิ่งที่มนุษย์ให้ความสำคัญในชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล เพราะสิ่งนั้นน่าสงสัย เท่ากับว่าชีวิตไม่มีเหตุผลในการให้ความสำคัญต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ชีวิต ข้อเสนอว่าชีวิตแอบเสิร์ดจึงดูเหมือนว่าชีวิตไร้ความหมายไปด้วย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะวิเคราะห์เหตุผลของเนเกล และพิจารณาข้อเสนอของเนเกลว่าสามารถตอบข้อโต้แย้งนักปรัชญาท่านอื่นได้หรือไม่ และผู้วิจัยจะวิเคราะห์ให้เห็นว่า แม้ชีวิตจะแอบเสิร์ด แต่ชีวิตก็ไม่ได้ไร้ความหมาย เพราะมนุษย์ยังคงดำเนินชีวิตด้วยคุณค่าบางอย่างได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยก็จะเสนอเหตุผลของผู้วิจัยว่า ชีวิตมนุษย์มีความแอบเสิร์ดในแง่มุมที่ต่างจากเนเกล และผู้วิจัยให้เหตุผลว่าแม้ชีวิตจะแอบเสิร์ดแต่มนุษย์ก็สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความหมายได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Absurdity as a philosophical judgment is a reason to understand life. The philosophical issue concerning meaning of life is to consider whether life has any meaning, or what makes life worth living. Thomas Nagel argues that human life is absurd. Human's consciousness produces a discrepancy in life's understanding. Such discrepancy is, on one hand, that man lives with the pursuit of some goal, but on another hand the capacity of consciousness makes it possible for man to look back at that pursuit through an objective standpoint, and he sees that it is dubious. Though man can see that his pursuit is dubious, he cannot live without any such pursuit. Thus human life is absurd because man still has to pursue the goal which can be doubted. Nagel's argument has an impact on the issue of the meaning of life. If all pursuits are dubious, there is no reason to say that life is meaningful, because there would then be no reason to pursuit anything. This thesis analyzes Nagel's argument and considers whether Nagel can defend his thoughts against objections. I will show that according to Nagel, though life is absurd, it doesn't follow that life is meaningless at all. Lastly I will argue that life is absurd for other reasons than what Nagel said. And I will also show that though life is absurd man can live meaningfully. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1028 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
เนเกล, ธอมัส |
en_US |
dc.subject |
ปรัชญา |
en_US |
dc.subject |
ชีวิต |
en_US |
dc.subject |
Nagel, Thomas |
en_US |
dc.subject |
Philosophy |
en_US |
dc.subject |
Life |
en_US |
dc.title |
มโนทัศน์แอบเสิร์ด ในปรัชญาของ ธอมัส เนเกล |
en_US |
dc.title.alternative |
Concept of the absurd in Thomas Nagel |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ปรัชญา |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Soraj.H@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2008.1028 |
|