dc.contributor.advisor |
บุษกร สำโรงทอง |
|
dc.contributor.author |
กฤษณพงศ์ ทัศนบรรจง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-06-09T10:19:59Z |
|
dc.date.available |
2018-06-09T10:19:59Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59084 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและบริบทของเพลงกราวในและวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางเดี่ยวระนาดเอกเพลงกราวใน สามชั้น : กรณีศึกษาพันโทเสนาะ หลวงสุนทร ผลจากการศึกษาพบว่า เพลงกราวใน จัดเป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้ประกอบกิริยาอาการเดินทางของตัวละครฝ่ายยักษ์ลักษณะท่วงทำนองสง่างามฮึกเหิม และในทางเดี่ยวนั้นถือว่าเป็นเหมือนอาวุธสำคัญ ดังนั้นผู้ที่จะศึกษาร่ำเรียนเพลงเดี่ยวกราวในนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบรรเลงและมีความประพฤติที่มีควาเหมาะสมจึงจะสามารถเรียนเพลงเดี่ยวกราวในได้ จากการวิเคราะห์การดำเนินทำนองในทางเดี่ยวระนาดเอกนั้น พบว่าลักษณะการดำเนินทำนองในทางเดี่ยวนั้น ได้อาศัยทำนองหลักเป็นเค้าโครงในการดำเนินทำนอง โดยการดำเนินทำนองแบ่งออกเป็น 2 เที่ยว โดยในเที่ยวที่ 1 การดำเนินทำนองเน้นการใช้กลวิธีการบรรเลง แบบสะบัด สะเดาะ ขยี้ แล้วบรรเลงเก็บด้วยการใช้สำนวนกลอนระนาดที่หลากหลายโดยเป็นการดำเนินกลอนที่ไม่ซ้ำกัน ส่วนการดำเนินทำนองของระนาดเอกในเที่ยวที่ 2 นั้น พบว่า การดำเนินทำนองมีการใช้กลวิธีพิเศษของทางนี้ คือ การรัวเป็นทำนองที่มีลักษณะการบรรเลงโดยการรัวจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำและเสียงต่ำไปหาเสียงสูง โดยพบได้มากในช่วงท้ายของการบรรเลงแต่ละโยน มีการบรรเลงแบบที่พันโทเสนาะ หลวงสุนทรเรียกว่า รัวหวาน มีกลวิธีแบ่งมือสลับซ้ายขวาดำเนินทำนองเลียนแบบเสียงจังหวะกลอง และมีการบรรเลงลูกรัวที่ยาวกว่าของทางของผู้อื่นเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลวิธีที่เป็นอัตลักษณ์ของเดี่ยวระนาดเอก เพลงกราวในทางนี้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research proposes were background and context of Krow Nai and unique analysis of Ranad Ek solo case study of Luangsoonthorn. The result present Krow Nai was played in journey scene of giant actor as Na-Pataya song because its melody was grace and sternness. Krow Nai solo was the highlight showng of musican so that Krow Nai solo performance was individual conduct and skill. The result presented the melody characteristic of Ranad Ek solo used main melody as the outline for melody playing. The melody playing was divided in two rounds The first round played melody with Sabud, Sadoh and Ka-Yi stressng and then played with non-repeatable of Ranad poem variety. The second round played melody with Rua-Wan: backward solo of high key to low key and low key to high key; in the end of each Yone Rua-Wan playing with left-right hand swinging and imitating drum melody were called by the Lieutenant Colonel Sanoh Luangsoonthorn. Luk-Rua period of Rua-Wan which was added in Rua-Wan was longer than other Luk-Rua. Those were unique style of this Krow Nai for Ranad Ek solo. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1383 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
เสนาะ หลวงสุนทร, 2477- |
en_US |
dc.subject |
เพลงกราวใน |
en_US |
dc.subject |
ระนาด |
en_US |
dc.subject |
Sanoh Luangsoonthorn |
en_US |
dc.subject |
Gamelan |
en_US |
dc.title |
วิเคราะห์เดี่ยวระนาดเอกเพลงกราวใน สามชั้น : กรณีศึกษาพันโทเสนาะ หลวงสุนทร |
en_US |
dc.title.alternative |
A musical analysis of krow nai in third variation for ranad EK solo : case study of lieutenant colonel Sanoh uangsoonthorn |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ดุริยางค์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
sbussako@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2009.1383 |
|