dc.contributor.advisor |
ประจิต หาวัตร |
|
dc.contributor.author |
นลินรัตน์ เด่นดอนทราย, 2523 |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2006-06-29T04:29:43Z |
|
dc.date.available |
2006-06-29T04:29:43Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9741762712 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/590 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บช.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en |
dc.description.abstract |
งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและรายงานการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงินได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ และปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือ คุณภาพงานสอบบัญชี งานวิจัยหลายงานที่ศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของงานสอบบัญชีแตกต่างกัน พบว่าสาเหตุที่สำคัญคือ พฤติกรรมของผู้สอบบัญชีที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง ซึ่งหมายถึง การที่ผู้สอบบัญชีไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจสอบอย่างเหมาะสม จึงเป็นเหตุให้งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยอันเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง โดยศึกษาในมุมมองของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีและผู้จัดการงานสอบบัญชี ของสำนักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมสำหรับการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถาม ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า ลักษณะของพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลงที่เกิดขึ้นมากที่สุด 3 ลักษณะแรกคือ การรายงานจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการสอบบัญชีน้อยกว่าระยะเวลาที่ได้ใช้ไปจริง การเพิ่มขนาดของระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ เพื่อให้รายการนั้นผ่านตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ และการไม่ศึกษาถึงรายการที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทางเทคนิคเพิ่มเติม และจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมดังกล่าวและปัจจัยต่างๆ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลงมากที่สุดคือ การฝึกอบรมอย่างเพียงพอและการรับรู้ถึงความมีประสิทธิผล ของการสอบทานงานสอบบัญชี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์รองลงมาคือ การรับรู้ถึงแรงกดดันทางเวลาและการเห็นว่า ในการปฏิบัติงานสอบบัญชีมีขั้นตอนมากเกินไปและบางขั้นตอนไม่จำเป็น และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุดคือ ความต้องการความสำเร็จของผู้สอบบัญชี ดังนั้นสำนักงานสอบบัญชีควรนำปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ไปพิจารณาและปรับปรุงการทำงานเพื่อให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวน้อยที่สุด |
en |
dc.description.abstractalternative |
The extent to which audited financial statements and audit reports are beneficial to their users depend on various factors. One of the most important factors is audit quality. A number of studies on the causes of variation in audit quality have shown that behaviors that reduce audit quality (RAQ), which refer to auditors' failures to properly execute audit steps, is one of such factors. Therefore, this study focused on factors associated with behaviors that reduce audit quality from the perspectives of assistant auditors and audit managers of audit firms with SEC-approved auditors. Questionnaires were used as data collection tool. This research shows that three most frequently metioned RAQ behavior is under-reporting of time spent on audit work, increasing tolerant level in order to bypass certain errors, and failing to investigate relevant and technical accounting issues. The correlation test at 0.05 significant level shows that the most significant factors associated with the RAQ behaviors are sufficient training and perceived effectiveness of audit review procedures. The second most significant factors are time pressure and the perceived unnecessary audit procedures. The least significant factor is need for achievement. Therefore, audit firms should concider these factors in order to minimize RAQ behaviors. |
en |
dc.format.extent |
737429 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1469 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การสอบบัญชี |
en |
dc.subject |
ผู้สอบบัญชี |
en |
dc.subject |
การสอบบัญชี--การควบคุมคุณภาพ |
en |
dc.title |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง : มุมมองของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีและผู้จัดการงานสอบบัญชี |
en |
dc.title.alternative |
Factors associated with behaviors that reduce audit quality : the assistant auditors' and audit managers' perspectives |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
บัญชีมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การบัญชี |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
fcompha@phoenix.acc.chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2004.1469 |
|