DSpace Repository

ยัง : การศึกษาเชิงประวัติ

Show simple item record

dc.contributor.author สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ
dc.contributor.author ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-06-19T07:03:51Z
dc.date.available 2018-06-19T07:03:51Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59113
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์และความหมายของคำว่า ยัง ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังศึกษากระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ยัง” ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่ (1) สมัยสุโขทัย (2) สมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (3) สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (4) สมัยรัชกาลที่ 6 ถึง 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ (5) สมัยรัชกาลปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า คำว่า ยัง ในแต่ละสมัย แสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ได้ 4 หน้าที่ ได้แก่ (1) คำว่า ยัง ที่เป็นคำกริยา ในสมัยสุโขทัยมี 3 ความหมาย ได้แก่ มีอยู่ อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง และ ครอบครอง ในสมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 3 มี 3 ความหมายเช่นกัน ได้แก่ มีอยู่ อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง และความหมายบ่งการีต ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง 5 และสมัยรัชกาลที่ 6 ถึง 8 พบเพียง 2 ความหมาย ได้แก่ มีอยู่ และความหมายบ่งการีต และสมัยปัจจุบันเหลือความหมายบ่งการีตเพียงความหมายเดียว ซึ่งปรากฏในปริบทที่จำกัด พัฒนาการในเชิงประวัติแสดงให้เห็นว่าคำกริยา ยัง จะมีความหมายน้อยลง เมื่อเข้าใกล้สมัยปัจจุบันมากขึ้น (2) คำว่า ยัง ที่เป็นคำช่วยหน้ากริยา พบว่าในทุกสมัยมีความหมายเดียว คือ การณ์ลักษณะ คงอยู่ (3) คำว่า ยัง ที่เป็นคำบุพบท ในสมัยสุโขทัยมี 1 ความหมาย คือ การก จุดหมาย ในสมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 4 ถึง 5 และสมัยรัชกาลที่ 6 ถึง 8 มี 2 ความหมาย ได้แก่ การก สถานที่ และการก จุดหมาย ในสมัยปัจจุบัน คำบุพบท ยัง ต้องปรากฏร่วมกับคำกริยาแสดงการเคลื่อนที่เสมอ โดยเฉพาะคำว่า ไป หรือ มา ดังนั้นคำบุพบท ยัง ในสมัยปัจจุบันจึงมีความหมายบ่งการก จุดหมาย เท่านั้น และ(4) คำว่า ยัง ที่เป็นคำเชื่อมอนุพากย์ ในสมัยสุโขทัย มี 1 ความหมาย คือ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอนุพากย์แบบ การเสริม ในสมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 3 คำเชื่อมอนุพากย์ ยัง แสดงความสัมพันธ์แบบ การขัดแย้งกับสิ่งที่ควรจะเป็น เพิ่มอีก 1 ความหมาย และสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง 5 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ก็แสดงความสัมพันธ์แบบ ‘การขัดแย้งแบบเปรียบเทียบ’ เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ความหมาย พัฒนาการในเชิงประวัติแสดงให้เห็นว่า ยิ่งเข้าใกล้สมัยปัจจุบันมากขึ้น คำเชื่อมอนุพากย์ ยัง มีการแสดงความหมายทางไวยากรณ์เพิ่มขึ้น เส้นทางการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า ยัง มี 4 เส้นทาง ได้แก่ (1) คำกริยา ยัง ที่หมายถึง มีอยู่ กลายไปเป็นคำช่วยหน้ากริยา (2) คำกริยา ยัง ที่หมายถึง มีอยู่ กลายไปเป็นคำเชื่อมอนุพากย์ (3) คำกริยา ยัง ที่หมายถึง มีอยู่ กลายไปเป็นคำกริยาการีต และ (4) คำกริยา ยัง ที่หมายถึง อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง กลายไปเป็นคำบุพบท จากทั้ง 4 เส้นทางนี้ จะเห็นว่า 3 เส้นทางแรก มีต้นกำเนิดเดียวกัน คือ คำกริยา ยัง ที่หมายถึง มีอยู่ ส่วนเส้นทางสุดท้าย คำต้นกำเนิด คือ คำกริยา ยัง ที่หมายถึง อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง กริยาต้นกำเนิดทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันทางความหมายในแง่ สภาพที่มีอยู่ นอกจากนี้กลไกการเปลี่ยนแปลงภาษา ที่เกี่ยวข้องกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า ยัง มี 5 กลไก ซึ่งประกอบด้วย การขยายความหมายเชิงอุปลักษณ์ การเกิดความหมายทั่วไป การดูดซับความหมายปริบท การสูญฐานะของโครงสร้างในหน่วยประกอบ/การวิเคราะห์ใหม่ และการสูญลักษณะของหมวดคำเดิม จากการศึกษาพบว่าพัฒนาการในเชิงประวัติและกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า ยัง แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปและเป็นแบบทิศทางเดียว ซึ่งสอดคล้องกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์ตามลักษณะที่เป็นสากล en_US
dc.description.abstractalternative The present study aims at investigating the functions and the meanings of /jaŋ/ from the Sukhothai period to the present, as well as, the grammaticalization of the word. The data collected is divided into 5 periods: (1) Sukhothai, (2) Ayutthaya, Thonburi, and Ratanakosin from the reigns of King Rama I to King Rama III, (3) Ratanakosin from the reigns of King Rama IV to King Rama V, (4) Ratanakosin from the reigns of King Rama VI to King Rama VIII, and (5) Ratanakosin during the reign of the present King It is found that /jaŋ/ in each period has 4 functions: (1) the verb -- /jaŋ/ in the first period had 3 meanings: ‘to exist’, ‘to stay or to be in/at’, and ‘to annex’. In the second period, /jaŋ/ also had 3 meanings: ‘to exist’, ‘to stay or to be in/at’, and ‘causative usage’. In the third and fourth periods, /jaŋ/ had 2 meanings: ‘to exist’ and ‘causative usage’. And in the last period, /jaŋ/ has only 1 meaning which is of the ‘causative usage’ used in some context. This diachronic study indicates that the verb /jaŋ/ tends to have fewer meanings towards the present. (2) the pre-verbal auxiliary -- /jaŋ/ has only 1 meaning of the ‘continuance aspect’ in every period. (3) the preposition -- in the first period, /jaŋ/ had 1 meaning indicating the case of ‘goal’. In the second, the third, and the fourth periods, the word had 2 meanings including the case of ‘locative’ and ‘goal’. In the last period, /jaŋ/ must occur with the motion verbs, especially /paj/ ‘go’ and /maa/ ‘come’. Hence, the word has only 1 meaning indicating the case of ‘goal’. (4) the conjunction -- in the first period, /jaŋ/ had only 1 meaning of the ‘additive relation’. The new meaning of ‘adversative relation’ found in the concessive construction was added in the second period. In the last periods, the word that has the meaning of ‘adversative relation’ is found in the context of the comparative construction. The study also reveals that the conjunction /jaŋ/ tends to develop more grammatical meanings towards the present. Another major finding in the present study is that the historical development of /jaŋ/ has 4 pathways: (1) the transition from the verb meaning ‘to exist’ to the pre-verbal auxiliary (2) the transition from the verb meaning ‘to exist’ to the conjunction (3) the transition from the verb meaning ‘to exist’ to the causative verb, and (4) the transition from the verb meaning ‘to stay or to be in/at’ to the preposition. Notice that the verb meaning ‘to exist’ is the source of the first 3 pathways. On the other hand, the verb meaning ‘to stay or to be in/at’ is the source of the last pathway. However, these 2 sources share the core meaning, i.e. ‘persistent state’. It is also found that the historical development of /jaŋ/ involves 5 mechanisms including metaphorical extension, generalization, absorption of contextual meaning, loss of constituent structure/reanalysis, and decategorialization. In conclusion, the grammaticalization of /jaŋ/ found in the data collected coincides with the universal characteristics of grammaticalization in term of gradualness and unidirectionality. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.963
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาไทย -- คำกริยา en_US
dc.subject ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ en_US
dc.subject ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ en_US
dc.subject Thai language -- Verb en_US
dc.subject Thai language -- Semantics en_US
dc.subject Thai language -- Grammar en_US
dc.title ยัง : การศึกษาเชิงประวัติ en_US
dc.title.alternative /jaŋ/ : A diachronic study en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author Natthaporn.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.963


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record