dc.contributor.advisor |
ใกล้รุ่ง อามระดิษ |
|
dc.contributor.advisor |
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ |
|
dc.contributor.author |
อารียา บุญลำ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-06-21T07:13:24Z |
|
dc.date.available |
2018-06-21T07:13:24Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59157 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุที่มาและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือ โดยศึกษาจากข้อมูลลายลักษณ์ ได้แก่ จารึกล้านนาที่จารเป็นภาษาไทยวน พจนานุกรมภาษาไทยถิ่นเหนือ และตัวบทวรรณคดีล้านนา ผลการศึกษาพบว่ามีคำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือทั้งหมด 594 คำ เป็นคำยืมจากภาษาเขมร 536 คำ คิดเป็นร้อยละ 90.24 เป็นคำยืมจากภาษามอญ 18 คำ คิดเป็นร้อยละ 3.03 เป็นคำยืมจากภาษาละว้า 3 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.50 และเป็นคำยืมจากคำศัพท์ร่วมเชื้อสายภาษาตระกูลมอญ-เขมรซึ่งไม่อาจระบุภาษาได้อีก 37 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.23 สัดส่วนคำยืมจากภาษาเขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือจำนวนมากเช่นนี้เกิดจากอาณาจักรล้านนารับอิทธิพลด้านอักษรศาสตร์แบบเขมรโบราณผ่านอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรอยุธยา คำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือแบ่งระดับความมั่นใจของข้อสันนิษฐานได้ 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ 4 (เป็นคำยืมอย่างชัดเจน) 546 คำ คิดเป็นร้อยละ 91.92 ระดับ 3 (เป็นไปได้ว่าเป็นคำยืม) 38 คำ คิดเป็นร้อยละ 6.40 ระดับ 2 (อาจเป็นคำยืม) 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.84 และระดับ 1 (พบหลักฐานการยืมน้อยมาก) 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.84 การเปลี่ยนแปลงคำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือ ศึกษาเฉพาะคำยืมที่มีข้อสันนิษฐานระดับ 4 และระดับ 3 และศึกษาคำศัพท์จากรูปเขียนและเสียงที่สะท้อนผ่านรูปเขียน ผลการวิจัยพบทั้งคำยืมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและคำยืมที่มีการเปลี่ยนแปลง กรณีคำยืมที่มีการเปลี่ยนแปลงพบรูปแปรจำนวนมากของคำที่มีพยัญชนะต้นควบกล้ำโครงสร้าง Cr- และในคำศัพท์ที่มีพยัญชนะต้นกักเพดานแข็งควบกล้ำกับพยัญชนะนาสิก พยัญชนะเหลว หรือพยัญชนะรัว สำหรับการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะท้ายพบในคำศัพท์ที่มีเสียง -c -ɲ -s -r -l นอกจากนี้ยังพบการเพิ่มรูปวรรณยุกต์ในคำศัพท์ที่ปรากฏในโคลง การศึกษาคำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือสนับสนุนข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ว่ากลุ่มชนที่พูดภาษาไทและกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรได้มีการติดต่อสัมพันธ์ส่งทอดทั้งภาษาและวัฒนธรรมในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอย่างซับซ้อนเป็นระยะเวลานาน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to identify Mon-Khmer loanwords in Northern Thai dialect and to study the changes in these loanwords. Research data are collected from Lanna’s written documents composed of inscriptions inscribed in Yuan language, Northern Thai dialect dictionaries, as well as literary texts. It is found that there are 594 Mon-Khmer loanwords in Northern Thai dialect. 536 words (90.24%) have been borrowed from Khmer, 18 words (3.03%) from Mon, 3 words (0.50%) from Lawa, and 37 words (6.23%) from Mon-Khmer cognates which the exact donor language cannot be identified. The large proportion of Khmer loanwords in Northern Thai dialect is a result of the influence of Old Khmer writing tradition which had been passed to Lanna through Sukhothai and Ayutthaya Kingdoms. The result also shows that there are 4 degrees of certainty when identifying Mon-Khmer loanwords in northern Thai dialect. 546 words (91.92%) are ‘clearly borrowed’ (degree 4), 38 words (6.40%) are ‘probably borrowed’ (degree 3), 5 words (0.84%) are ‘perhaps borrowed’ (degree 2) and 5 words (0.84%) are ‘very little evidence for borrowing’ (degree 1). The study of changes in Mon-Khmer loanwords in northern Thai dialect is done only in loanwords identified as degree 4 and 3, and from orthographic forms and sounds reflected by the orthographic forms. It is found that there are words with no change and words with changes. There are various orthographic forms of borrowed words with Cr- initial clusters as well as words borrowed from palatal stop with nasals or liquids initial clusters. Adaptations in borrowed words with -c -ɲ -s -r -l finals are also found. Addition of tone marks is found when borrowed words appear in Khlong verses. The findings of this study support historical and archeological evidences showing that in the area of northern Thailand, Tai and Mon-Khmer speaking groups had been in contact, linguistically and culturally, for a long time. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.700 |
|
dc.rights |
Chulalongkorn University |
en_US |
dc.subject |
ภาษาไทยเหนือ -- คำและวลีภาษาต่างประเทศ |
en_US |
dc.subject |
ภาษาไทยเหนือ -- ภาษาถิ่น |
en_US |
dc.subject |
ภาษามอญ-เขมร -- อิทธิพลต่อภาษาต่างประเทศ |
en_US |
dc.subject |
Northern Thai language -- Foreign words and phrases |
en_US |
dc.subject |
Northern Thai language -- Dialects |
en_US |
dc.subject |
Mon-Khmer languages -- Influence on foreign languages |
en_US |
dc.title |
คำยืมภาษาตระกูลมอญ-เขมรในภาษาไทยถิ่นเหนือ |
en_US |
dc.title.alternative |
Mon-Khmer loanwords in Northern Thai dialect |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ภาษาไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Klairung.A@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Theraphan.L@Chula.ac.th,theraphan.l@gmail.com,theraphan.l@gmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.700 |
|