dc.contributor.advisor |
วิชชุตา วุธาทิตย์ |
|
dc.contributor.author |
มนูศักดิ์ เรืองเดช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-06-23T10:21:27Z |
|
dc.date.available |
2018-06-23T10:21:27Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59188 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
en_US |
dc.description.abstract |
ศึกษาความเป็นมาของชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาส ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี วิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนท่าฟ้อนของหมอลำกลอนทำนองขอนแก่น ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะเอกลักษณ์ในการแสดงหมอลำกลอนและหมอลำซิ่ง ตลอดจนวิเคราะห์การแสดงหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาสกับบริบททางสังคม จังหวัดอุดรธานี วิธีวิจัยใช้การศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ แสดง การสาธิตจากศิลปินหมอลำ และการฝึกหัดของผู้วิจัย ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาส ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้มีกลุ่มศิลปินหมอลำเข้ามาก่อตั้งสำนักงานคณะหมอลำ และเปิดธุรกิจการแสดงหมอลำประเภทต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502-2553 ระยะเวลา 50 ปี มีสำนักงานคณะหมอลำที่มีการเข้ามาตั้งขึ้นมากกว่า 80 คณะ ในบริเวณเดียวกันจนประชาชนในจังหวัดอุดรธานีเรียกแถวนี้ว่า ชุมชนหมอลำ คุ้มหมอลำ และตลาดหมอลำ ศิลปะการแสดงหมอลำในชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี มีวิวัฒนาการตามยุคสมัย ภายใต้ภาวะกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันในปัจจุบัน ลีลาวาดฟ้อนมีทั้งแบบท่าฟ้อนเกี้ยวหรือท่าฟ้อนแม่บท ลีลาวาดฟ้อนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ชมชื่นชอบผลงานด้านศิลปะการแสดงหมอลำ ซึ่งศิลปินหมอลำแต่ละคนจะมีลีลาวาดฟ้อนแตกต่างกันไป ท่าฟ้อนมีลักษณะการเลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์ เลียนแบบกิริยาของสัตว์ และตัวละครในวรรณกรรม การแสดงหมอลำในชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี มีบทบาทในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมอีสาน พบว่าหมอลำซิ่งมีบทบาทในด้านความบันเทิงในฐานะมหรสพในงานประเพณีต่างๆ เป็นส่วนมาก ส่วนหมอลำกลอนมีบทบาทการให้ความรู้ การนำวัฒนธรรมอีสานในเรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น ประเพณีวิถีชีวิตประวัติศาสตร์มาประพันธ์เป็นกลอนลำที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นแนวทางชีวิตสำหรับผู้ชมสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นชนบท การแสดงหมอลำในชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาสมีบทบาทในการแก้ปัญหาของบริบททางสังคม คือ บทบาทเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย การแสดงหมอลำเพื่อรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน การควบคุมโรคติดต่อและการแสดงหมอลำรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศิลปะการแสดงหมอลำจะยืนหยัดอยู่ได้ในสังคม จำเป็นจะต้องพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เข้ากับยุคสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม แต่จะต้องให้อยู่ในศิลปะกลยุทธ์ขอบเขตในการแสดงของตน อีกทั้งจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ในการส่งเสริมศิลปะการแสดงหมอลำในชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาส ให้อยู่เป็นสมบัติและเกียรติภูมิของชาวอีสานสืบไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
To study the history of Molam community near Matchimawat temple, Makkhang, Muang District, Udon Thani and to analyze components and dancing patterns of Molamklon. The study showed the comparison of unique features between Molamklon performance (singing based) and Molamsing performance (dancing based) in the community. Moreover, this showed an analysis of Molam performance in the area and social contexts of the province. This research is conducted by studying documents involved, interviewing, observing the performance, demonstrating by the Molam artists, and practicing by the researcher. The finding showed that, in the Molam community settled down near Matchimawat temple, Muang district, Udon Thani, there are groups of Molam artists having Molam offices and running business in many types of Molam performance since B.E. 2502 to 2553, for 50 years. The amount of Molam offices is more than 80 offices in the community area. It was named by Udon Thani people the Molam community, the Molam area or the Molam market. Under the globalization with high competition in the present, from the past the art of Molam performance has been developing until now. Dancing postures consist of standardized postures and created postures that are unique in a group. The uniqueness of dancing postures attracts the audiences to watch and admire Molam arstists' performance. Individually, they have different dancing postures which are imitated and created from human nature, animal actions, and characters in Esan novels. A Molam dancing posture in the performance called Fonkeaw - a dancing posture that male dance close to female in order to touch female affectionately. The Molam performance in the community of Matchimawat temple played significant roles in social contexts and traditional Esan cultures. The Molamsing performance has roles as entertainment activities played in many festivals mostly. On the other hand, The Molamklon performance has roles in entertaining, developing in singing arts, and having Esan cultures in local novels, traditional ways of living and history of the society which created composition of many poetries with morality in order to reflect the country people's ways of life. The performance also helps people solve social problems, support democracy, campaign for political election, concern environmental situation to preserve natural resources, realize global warming, know decease control and protect themselves from drugs. To be survival in a society, the art of Molam performance needs to be developed to suite the present situation and socio-economical changes, however it should be developed in range of Esan performance. In addition, There should be participations from government sector, private sector, and education sector to support the art of Molam performance in the community near Matchimawat temple to be a pride and property of Esan people forever. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1010 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
หมอลำ |
en_US |
dc.subject |
การรำ -- ไทย -- อุดรธานี |
en_US |
dc.subject |
อุดรธานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
en_US |
dc.subject |
Dance -- Thailand -- Udon thani |
en_US |
dc.subject |
Udon thani -- Social life and customs |
en_US |
dc.title |
การแสดงหมอลำ กรณีศึกษาชุมชนหมอลำข้างวัดมัชฌิมาวาสกับบริบททางสังคม จังหวัดอุดรธานี |
en_US |
dc.title.alternative |
Classical North-Eastern performance (Molam) : a case study of Molam community near Matchimawat temple and social contexts in Udonthani |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Vijjuta.V@Chula.ac.th,vijjuta@yahoo.com |
|
dc.description.publication |
แฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัย |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2009.1010 |
|