Abstract:
ประเทศไทยได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการนาบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) มาใช้บังคับในประเทศไทยพอสมควรซึ่งผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้นามาซึ่งการพัฒนาแนวคิดเรื่องดังกล่าวในกฎหมายเฉพาะหลายฉบับ โดยการกาหนดให้ศาลสามารถกาหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษแก่ผู้กระทาความผิดได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ศาลสามารถกาหนดค่าเสียหายที่มากกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อชดเชยให้กับผู้เสียหายและเป็นการลงโทษผู้กระทาผิดแล้ว ยังถือเป็นมาตรการเพื่อป้องปรามมิให้มีการกระทาความผิดหรือเกิดการกระทาความผิดซ้าด้วย แต่ในคดีละเมิดทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 นั้น เป็นกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีการกาหนดเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษไว้อย่างชัดเจน แต่ให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกาหนดได้ตามความร้ายแรงและพฤติการณ์ของการกระทาความผิดฐานละเมิดได้ จากการศึกษาพบว่า การตีความบทบัญญัติมาตรา 438 ของกฎหมายละเมิดทั่วไปให้กว้างขึ้นหรือการแก้ไขมาตราดังกล่าวให้รวมถึงการกาหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้ชัดเจน จะเป็นการไม่เหมาะสมที่จะนาการกาหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษมารวมไว้ในมาตรา 438 เพราะอาจทาให้เกิดปัญหาทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติอยู่หลายประการ กล่าวคือ มาตรา 438 ถูกร่างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการเยียวยาความเสียหายเท่านั้น ส่วนวัตถุประสงค์ในการป้องปรามและการลงโทษก็ควรจะเป็นบทบาทของระบบกฎหมายอาญา แม้ผู้วิจัยสรุปว่า ค่าเสียหายเชิงลงโทษไม่ควรรวมอยู่ในกฎหมายละเมิดหรือกฎหมายสัญญา แต่ผู้วิจัยเห็นว่า การรับเอาหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อพัฒนาการกฎหมายของประเทศในระบบลายลักษณ์อักษร ดังนั้น ถ้าจะมีการนาค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้จริง ก็ควรมีอยู่ในกฎหมายพิเศษและเป็นกฎหมายใหม่
Description:
แนวความคิดพื้นฐานการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิด : ประวัติกฎหมายลักษณะละเมิดของไทย ; การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ; ความรับผิดทางแพ่งในเรื่องละเมิดกับความรับผิดทางอาญา -- แนวคิดพื้นฐานค่าเสียหายเชิงลงโทษตามหลักกฎหมายต่างประเทศ : ประวัติและวิวัฒนาการของค่าเสียหายเชิงลงโทษ ; วัตถุประสงค์ของค่าเสียหายเชิงลงโทษ ; ประโยชน์ของค่าเสียหายเชิงลงโทษ ; ข้อเสียของค่าเสียหายเชิงลงโทษ -- การบังคับใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษที่ปรากฎในต่างประเทศ : ประเทศสหรัฐอเมริกา ; ประเทศเยอรมัน ; ประเทศฝรั่งเศส ; ประเทศญี่ปุ่น -- การนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ในกฎหมายไทย : สถานะปัจจุบันของค่าเสียหายเชิงลงโทษภายใต้กฎหมายไทย ; แนวทางที่เหมาะสมในการนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้กับคดีละเมิดทั่วไป ; ความเหมาะสมของระบบกฎหมายแพ่งปัจจุบัน