DSpace Repository

การนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้กฎหมายไทย : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2018-08-09T08:59:12Z
dc.date.available 2018-08-09T08:59:12Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59336
dc.description แนวความคิดพื้นฐานการกำหนดค่าเสียหายในคดีละเมิด : ประวัติกฎหมายลักษณะละเมิดของไทย ; การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ; ความรับผิดทางแพ่งในเรื่องละเมิดกับความรับผิดทางอาญา -- แนวคิดพื้นฐานค่าเสียหายเชิงลงโทษตามหลักกฎหมายต่างประเทศ : ประวัติและวิวัฒนาการของค่าเสียหายเชิงลงโทษ ; วัตถุประสงค์ของค่าเสียหายเชิงลงโทษ ; ประโยชน์ของค่าเสียหายเชิงลงโทษ ; ข้อเสียของค่าเสียหายเชิงลงโทษ -- การบังคับใช้ค่าเสียหายเชิงลงโทษที่ปรากฎในต่างประเทศ : ประเทศสหรัฐอเมริกา ; ประเทศเยอรมัน ; ประเทศฝรั่งเศส ; ประเทศญี่ปุ่น -- การนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ในกฎหมายไทย : สถานะปัจจุบันของค่าเสียหายเชิงลงโทษภายใต้กฎหมายไทย ; แนวทางที่เหมาะสมในการนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้กับคดีละเมิดทั่วไป ; ความเหมาะสมของระบบกฎหมายแพ่งปัจจุบัน en_US
dc.description.abstract ประเทศไทยได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการนาบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) มาใช้บังคับในประเทศไทยพอสมควรซึ่งผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้นามาซึ่งการพัฒนาแนวคิดเรื่องดังกล่าวในกฎหมายเฉพาะหลายฉบับ โดยการกาหนดให้ศาลสามารถกาหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษแก่ผู้กระทาความผิดได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ศาลสามารถกาหนดค่าเสียหายที่มากกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อชดเชยให้กับผู้เสียหายและเป็นการลงโทษผู้กระทาผิดแล้ว ยังถือเป็นมาตรการเพื่อป้องปรามมิให้มีการกระทาความผิดหรือเกิดการกระทาความผิดซ้าด้วย แต่ในคดีละเมิดทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 นั้น เป็นกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีการกาหนดเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษไว้อย่างชัดเจน แต่ให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกาหนดได้ตามความร้ายแรงและพฤติการณ์ของการกระทาความผิดฐานละเมิดได้ จากการศึกษาพบว่า การตีความบทบัญญัติมาตรา 438 ของกฎหมายละเมิดทั่วไปให้กว้างขึ้นหรือการแก้ไขมาตราดังกล่าวให้รวมถึงการกาหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษให้ชัดเจน จะเป็นการไม่เหมาะสมที่จะนาการกาหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษมารวมไว้ในมาตรา 438 เพราะอาจทาให้เกิดปัญหาทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติอยู่หลายประการ กล่าวคือ มาตรา 438 ถูกร่างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์แห่งการเยียวยาความเสียหายเท่านั้น ส่วนวัตถุประสงค์ในการป้องปรามและการลงโทษก็ควรจะเป็นบทบาทของระบบกฎหมายอาญา แม้ผู้วิจัยสรุปว่า ค่าเสียหายเชิงลงโทษไม่ควรรวมอยู่ในกฎหมายละเมิดหรือกฎหมายสัญญา แต่ผู้วิจัยเห็นว่า การรับเอาหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อพัฒนาการกฎหมายของประเทศในระบบลายลักษณ์อักษร ดังนั้น ถ้าจะมีการนาค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้จริง ก็ควรมีอยู่ในกฎหมายพิเศษและเป็นกฎหมายใหม่ en_US
dc.description.abstractalternative Recently, there are a number of research papers which studied concepts and theories concerning an adoption of punitive damages into Thai legal system. As a result, punitive damages has been officially adopted in several sui generis legislations allowing courts to impose punitive damages on wrongdoers. Not only courts can impose an extra-compensatory damages which contains a penalizing aspect, but also a deterrence measure to prevent its future occurrence. According to damages calculation of general tort law under Book 2 of Thai Civil and Commercial Code, however, such provision does not explicitly state whether a court can impose punitive damages on a wrongdoer or not since the court could only determine extent of compensation according to the circumstances and the gravity of the wrongful act. This study concludes that neither broad interpretation of Section 438 or modification of such section in order to officially include punitive damages is desirable because a number of theoretical and practical problems are expected to arise. Normally, Section 438 was drafted only as to purpose of compensation for the harm done, while the objectives of punishment and deterrence are supposed to lie in an area of criminal laws, and not that of tort and contract laws. Nevertheless, the author could not deny that punitive damages is significantly contributing to the legal development in civil law countries. Therefore, if one believes that an adoption of punitive damages is really indispensable, it should then be introduced into new sui generis laws. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากเงินทุนกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ค่าเสียหาย -- ไทย en_US
dc.subject ค่าเสียหาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด en_US
dc.subject ค่าสินไหมทดแทน en_US
dc.title การนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้กฎหมายไทย : รายงานวิจัย en_US
dc.title.alternative Adoption of punitive damages into the Thai law en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Sakda.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record