Abstract:
Zanthoxylum limonella Alston หรือมะแขว่น นิยมใช้ในการปรุงแต่งรสอาหารและยังเป็นสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในประเทศไทย สำหรับการวิจัยนี้พบว่าน้ำมันหอมระเหยในมะแขว่น ตลอดจนส่วนประกอบย่อย และ สามสารหลักที่พบในน้ำมันหอมระเหยจากมะแขว่น มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ทั้งนี้รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะด้วย ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบหลักได้เป็นส่วนประกอบย่อยที่ 1 และ 2 โดยสาร Sabinene เป็นสารหลักที่พบในส่วนประกอบย่อยที่ 1 โดยพบอยู่ถึงร้อยละ 54 และพบในส่วนประกอบย่อยที่ 2 อยู่ร้อยละ 41 ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากงานวิจัยนี้พบฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ทั้งในกลุ่มของแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ ยกเว้นเชื้อ Pseudomonas aeruginosa จากทั้งในน้ำมันหอมระเหยและส่วนประกอบย่อยเหล่านี้ และเมื่อได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการฆ่าจุลินทรีย์ พบว่าน้ำมันหอมระเหยสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิดได้ดีกว่าสาร Sabinene ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าเกิดจากการเสริมฤทธิ์กันของสารประกอบย่อยต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำมันหอมระเหย โดยน้ำมันหอมระเหยนี้สามารถฆ่าเชื้อ S. aureus และเชื้อ E. coli ได้อย่างสมบูรณ์ภายในเวลา 9 นาที โดยใช้ความเข้มข้นเป็น 2 เท่าของความเข้มข้นน้อยที่สุดที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ และยังมีความสามารถในการฆ่าเชื้อดื้อยา methicillin-resistant S. aureus และเชื้อดื้อยา extended-spectrum β-lactamase-producing E. coli ได้อย่างสมบูรณ์ภายในเวลา 90 นาทีที่ค่าความเข้มข้นเท่ากัน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรกที่ค้นพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากผลมะแขว่นมีฤทธิ์ต่อเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะด้วย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถนอมอาหาร รวมไปถึงพัฒนาเพื่อใช้ในด้านการแพทย์เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อดื้อยาในปัจจุบัน